หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย


บทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย




ยุกติ มุกดาวิจิตร


เมื่อเช้า ไปบรรยายที่สมาคมธรรมศาสตร์ฯ (ซึ่งแค่ให้สถานที่จัด ไม่ได้เป็นผู้จัด) มีวิทยากรร่วมอีก 2 ท่าน (ดูในรูปจากมติชนออนไลน์ครับ) ตอนแรก ผมจั่วหัวว่าจะบรรยายเรื่อง ม. 112 (ส่วนหนึ่งเพราะหลังๆ มานี่ผมมักถูกถามว่าเป็นพวกนิติราษฎร์ด้วยหรือเปล่า ซึ่งผมมักตอบว่า ผมไม่บังอาจเป็นสมาชิกนิติราษฎร์หรอก เพราะไม่ใช่นักนิติศาสตร์ ผมแค่ไปรับใช้เขา ไปร่วมณรงค์ด้วยกันเท่านั้น) แต่พูดไปพูดมา ต้องแบ่งการบรรยายเป็น 2 รอบ

รอบแรก พูดเรื่องการกระจายอำนาจและ
การกระจายทุน ผมพูดจากงานวิจัยที่กำลังเขียนอยู่ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคมไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นดอกผลของประเด็นทางการเมืองในทศวรรษ 2530 คือ ประเด็นการกระจายอำนาจและการกระจายรายได้

ผลคือได้เกิดการกระจายทรัพย
ากร เงินทุน ลงไปในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ผู้คนในชนบทเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดตั้งแต่ก่อนการเข้ามาบริหารประเทศของไทยรักไทยด้วยซ้ำ ผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เราได้กลุ่มคนที่ผมเรียกว่า homegrown entrepreneur เป็นผู้ประกอบการที่โตขึ้นมาจากท้องถิ่น พูดง่ายๆคือ "เจ๊กเริ่มหายไป มีนายทุนน้อยที่เป็นคนท้องถิ่นมากขึ้น"

ผลอีกทางคือ เกิดการกระจายอำนาจ เกิดการฝังรากลึกของประชาธิ
ปไตยแบบตัวแทนลงในสังคมไทยรากหญ้า ทำให้การเลือกตั้งมีความหมายสำหรับประชาชน ไม่ใช่เฉพาะการเลือกตั้งระดับชาติ แต่รวมถึงการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น

การรัฐประหารปี 2549 พยายามกลับกระบวนการนี้ แต่ไม่สำเร็จ แถมยังต้องตามน้ำรักษาการกร
ะจายทรัพยากรไว้ ทำได้แค่เปลี่ยนชื่อกองทุนต่างๆ และพยายามดึงอำนาจการปกครองท้องถิ่นกลับมา ด้วยการให้ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในอำนาจนานขึ้น ให้ ผญบ เลือกกำนัน ตั้งองค์กรสภาชุมชน

แล้วก็พักช่วงแรก ระหว่างพัก เริ่มมีเสียงวิจารณ์ว่าผมจะ
พูดเรื่องสถาบันกษัตริย์จะดีหรือ จะปลอดภัยหรือไม่ ทั้งๆ ที่ผมยังไม่ได้พูดอะไรเลย ลำพังพูดเรื่องข้างต้นให้เข้าใจ นำเอาข้อมูลต่างๆ จากการวิจัยมาเสนอ ก็แทบจะหมดเวลาแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้จัดยืนยันว่าผมสามารถพูดเรื่อง 112 ได้ เพียงแต่ให้ปรับโทนให้เกิดความเข้าใจระหว่างกลุ่มที่เห็นต่างกันหน่อย

หลังเบรค ผมพูด 2 ประเด็น หนึ่ง ทำไมบทบาทของสถาบันพระมหากษั
ตริย์ในการเมืองระบอบประชาธิปไตยจึงขึ้นมาเป็นประเด็นใน การเมืองไทยปัจจุบัน สอง สังคมต้องแยกเรื่อง ม. 112 ให้ออกจากเรื่องสีเสื้อ แล้วตอบให้ได้ว่า ทำไม ม. 112 จึงกลายเป็นประเด็นทางสังคมในปัจจุบัน

ประเด็นแรก ผมตอบว่า ประเด็นทางการเมืองในสังคมไ
ทยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่การเปลี่ยนประเด็นแต่ละสมัยเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ไม่ใช่อยู่ๆ ใครจะจุดประเด็นขึ้นมาก็เกิดได้ง่ายๆ การที่สังคมไทยปัจจุบันตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันฯ แสดงว่าบทบาทเท่าที่เคยถูกคาดหวังให้เป็นมา ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมปัจจุบันแล้ว (ยาวเหมือนกัน ขอละไว้)

ประเด็นที่สอง การที่ ม.112 เป็นประเด็น ไม่ใช่เพราะนักวิชาการจุดขึ้
นมา เพราะนักวิชาการหลายกลุ่มพูดเรื่องนี้มานานแล้ว พูดหนักขึ้นหลังรัฐประหารก็จริง แต่ยังไม่เป็นประเด็นอยู่ระยะหนึ่ง แต่เมื่อเกิดการคุกคามสิทธิเสรีภาพด้วยกฎหมายนี้อย่างรุนแรง ในระยะหลังรัฐประหาร และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2553 การคุกคามนี้กระจายไปทั่ว ประชาชนเขาตระหนักรู้ได้ ชนชั้นนำในสังคมไทยจำนวนมากตระหนักรู้ เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นโดยไม่มีการแบ่งแยกสี

แล้วเมื่อเกิดการเคลื่อนไหว
ของ ครก.112 และนิติราษฎร์ ไปดูคนที่คัดค้านการรณรงค์ คัดค้านการแก้ไขเป็นใคร เป็นนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เป็นทักษิณ เป็นพรรคเพื่อไทย นี่ยังไม่ต้องพูดถึงพวกแม่ทัพนายกอง แสดงว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสี แต่ผมสรุปว่า เป็นการที่ผลประโยชน์ของประชาชนไม่สอดล้องกับการดำรงอยู่ของ ม.112 ในลักษณะที่เป็นอยู่นี้อีกต่อไป

ตอนท้าย มีคำถามระดมเข้าใส่ผมมากมาย
ล้วนเป็นคำถามสำคัญที่ผมต้องตอบให้ได้

คำถามหนึ่งที่ผมอยากแชร์คือ
ถาม: "ทำไมนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอด ม.112 ออกจากหมวดความมั่นคง จะบอกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สำคัญต่อความมั่นคงหรืออย่างไร"

ผมตอบ: "แน่นอนว่าการคุ้มครององค์พ
ระประมุขของรัฐย่อมสำคัญ แต่กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยก็จะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย โจทย์คือ จะถ่วงดุลการคุ้มครองนี้อย่างไร และการถ่วงดุลนี้ นานาชาติเขาทำกันอย่างไร เราจะทำให้ทัดเทียมเขาได้อย่างไร"

ขอบคุณผู้จัดที่มีความกล้าห
าญให้ผมพูดจนจบ และขอบคุณผู้ร่วมอภิปรายที่ช่วยให้รูปธรรมของปัญหาของ ม.112 ทำให้ประเด็นที่ผมเสอนชัดเจนขึ้น

 

เนื้อหาข้างต้นยังไม่ถูกราย งานในข่าวข้างล่าง
(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น