หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

“แรงงานเสรี” ของอดัม สมิท

“แรงงานเสรี” ของอดัม สมิท 


สมิท เสนอว่า แรงงานรับจ้าง หรือที่เขาเรียกว่า “แรงงานเสรี” มีประสิทธิภาพมากกว่าแรงงานทาส เพราะระบบทาสกีดกันความสร้างสรรค์ของผู้ทำงาน ทาสต้องการแต่จะกิน นอน และอยู่รอดอย่างเดียว ไม่สนใจการพัฒนาระบบการทำงานเลย เพราะขาดแรงจูงใจ

โดย C. H.

 
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ประมาณ ค.ศ. 1780) มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ และพลังงานไอน้ำในระบบอุตสาหกรรมอังกฤษ ในช่วงนี้ อดัม สมิท ตีพิมพ์หนังสือ “The Wealth of Nations” ซึ่งท้าทายระบบคิดแบบเก่าของพวกฟิวเดิลและ อภิสิทธิ์ชนอย่างมาก เพราะเขาอธิบายว่ามูลค่ามาจากการทำงาน และจะมีการแย่งชิงมูลค่าจากผู้ผลิต โดยเจ้าของที่ดินและนายทุน

ก่อน หน้านั้นคนเชื่อกันว่ามูลค่ามาจากเงินหรือทอง แต่ สมิท เสนอว่าการทำงานจะสร้างผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ถ้าทำไปเพื่อผลิตสินค้าที่จะแลกเปลี่ยนหรือผลิตเครื่องมือที่จะใช้ผลิตต่อไป อย่างไรก็ตามสมิทเสนอว่า ถ้าการทำงานถูกนำมาใช้เพื่อการบริโภคของคนชั้นสูงเท่านั้น มันจะไม่เสริมสร้างมูลค่าต่อไป สมิท กำลังโจมตีพวกขุนนางคนรวยและข้าราชการชั้นสูงที่ทำตัวเป็นกาฝากและกีดกันการ พัฒนาของเศรษฐกิจ
    
สมิทโจมตีรัฐที่กีดกันการแข่งขันอย่างเสรี แต่ในการโจมตี “รัฐ” ของคนชั้นสูงเหล่านี้ สมิท มองข้ามบทบาทสำคัญของรัฐอังกฤษในการช่วยเหลือธุรกิจอังกฤษจากการแข่งขันของ ธุรกิจต่างชาติ หรือการที่รัฐยึดอาณานิคมมาเพื่อสร้างตลาด เพราะสมิทไม่ได้คัดค้านบทบาทจักรวรรดินิยมอันนี้ของรัฐเลย
    
สมิท เสนอว่า แรงงานรับจ้าง หรือที่เขาเรียกว่า “แรงงานเสรี” มีประสิทธิภาพมากกว่าแรงงานทาส เพราะระบบทาสกีดกันความสร้างสรรค์ของผู้ทำงาน ทาสต้องการแต่จะกิน นอน และอยู่รอดอย่างเดียว ไม่สนใจการพัฒนาระบบการทำงานเลย เพราะขาดแรงจูงใจ
    
สมิทมองไม่เห็นปัญหาของกลไกตลาด เพราะเขาอยู่ในช่วงเริ่มต้นของทุนนิยม แต่คนที่ตามมา อย่างเช่น เดวิด ริคาร์โด ในหนังสือ “Principles of Political Economy” เริ่ม อธิบายว่าการแข่งขันในตลาดเสรีนำไปสู่การขยายตัวและการหดตัวของเศรษฐกิจใน วิกฤต และการเพิ่มเครื่องจักรทำลายมาตรฐานชีวิตของคนงานในที่สุด

อาวุธ ทางความคิดที่นักเศรษฐศาสตร์ยุคแสงสว่างอย่าง สมิท กับ ริคาร์โด สร้างขึ้นมาเพื่อทำลายระบบเก่า ก็กลายเป็นอาวุธใหม่เพื่อโจมตีระบบทุนนิยม ผ่านการพัฒนาเศรษฐศาสตร์โดย คาร์ล มาร์คซ์ โดยที่มาร์คซ์อธิบายว่าในระบบทุนนิยมลูกจ้างไม่ได้เสรีแต่อย่างใดแต่กลับถูก ขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน โดยนายทุน และการแข่งขันในตลาดเสรีนำไปสู่วิกฤตทุนนิยมทุกๆ สิบปี เนื่องจากแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไรที่มาจากการเพิ่มทุนในเครื่องจักรอย่าง ต่อเนื่อง

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/08/blog-post_10.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น