เมื่อ"ความจริง"รั่วไหล ล่าแม่มด"วิกิลีกส์" |
มหกรรม
ชักเย่อระหว่างรัฐบาลเอกวาดอร์กับรัฐบาลอังกฤษและสวีเดนยังดำเนินต่อไป
โดยมีชะตากรรมของ นายจูเลียน แอสแซนจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์
ชาวออสเตรเลีย วัย 41 ปี เป็นเดิมพัน
นายแอสแซนจ์เข้าไปลี้ภัยใน สถานทูตเอกวาดอร์ประจำกรุงลอนดอนเมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อหนีหมายจับของตำรวจอังกฤษ ที่ต้องการส่งตัวไปให้ตำรวจสวีเดนสอบสวนใน ข้อกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศ
แต่นายแอสแซนจ์เกรงว่าจะถูกรัฐบาล อังกฤษส่งตัวไปให้สหรัฐแทน เพราะเว็บไซต์วิกิลีกส์ของนายแอสแซนจ์ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทาง การสหรัฐ จากการเผยแพร่รายงานลับจากสถานทูตสหรัฐทั่วโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาท ลับๆ ของสหรัฐในหลายภูมิภาค
อีกทั้งยังเปิดเผยเบื้องหลังสงครามในอิรักที่ทางการสหรัฐพยายามปกปิด เช่น กรณีเฮลิคอปเตอร์สหรัฐยิงถล่มฝูงชนจนมีพลเรือน เสียชีวิต
การที่รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมพร้อมทางกฎหมายเพื่อส่งตัวนายแอสแซนจ์ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนให้สหรัฐ ย่อมบอกเป็นนัยโดยชัดเจน
นายแอสแซนจ์เคยเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษและสวีเดนแสดงคำมั่นว่าจะไม่ส่งตัวไปยังสหรัฐตามที่กังวล แต่ทั้งสองประเทศกลับนิ่งเฉย
ขณะที่นักการเมืองหลายคนของสหรัฐเคยขู่ไว้ว่าหากจับตัวนายแอสแซนจ์ได้ จะดำเนินคดีอย่างถึงที่สุดในฐานะ"ผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ"
ถึง แม้นายแอสแซนจ์เป็นเจ้าของเว็บวิกิลีกส์ แต่ผู้ที่กล้านำข้อมูลทั้งหมดมาให้คือ พลทหาร แบรดลีย์ แมนนิ่ง อายุ 24 ปี ซึ่งหมดศรัทธากับสงครามอิรักและต้องการให้โลกรับรู้ความจริง
ต่อมาพล ทหารแมนนิ่งก็ถูกทางการสหรัฐจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาสอดแนม และปัจจุบันยังถูกคุมขังเดี่ยว จนเกรงว่าอาจถูกทรมานขณะสอบสวนด้วย
นายแอสแซนจ์เข้าไปลี้ภัยใน สถานทูตเอกวาดอร์ประจำกรุงลอนดอนเมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อหนีหมายจับของตำรวจอังกฤษ ที่ต้องการส่งตัวไปให้ตำรวจสวีเดนสอบสวนใน ข้อกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศ
แต่นายแอสแซนจ์เกรงว่าจะถูกรัฐบาล อังกฤษส่งตัวไปให้สหรัฐแทน เพราะเว็บไซต์วิกิลีกส์ของนายแอสแซนจ์ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทาง การสหรัฐ จากการเผยแพร่รายงานลับจากสถานทูตสหรัฐทั่วโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาท ลับๆ ของสหรัฐในหลายภูมิภาค
อีกทั้งยังเปิดเผยเบื้องหลังสงครามในอิรักที่ทางการสหรัฐพยายามปกปิด เช่น กรณีเฮลิคอปเตอร์สหรัฐยิงถล่มฝูงชนจนมีพลเรือน เสียชีวิต
การที่รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมพร้อมทางกฎหมายเพื่อส่งตัวนายแอสแซนจ์ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนให้สหรัฐ ย่อมบอกเป็นนัยโดยชัดเจน
นายแอสแซนจ์เคยเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษและสวีเดนแสดงคำมั่นว่าจะไม่ส่งตัวไปยังสหรัฐตามที่กังวล แต่ทั้งสองประเทศกลับนิ่งเฉย
ขณะที่นักการเมืองหลายคนของสหรัฐเคยขู่ไว้ว่าหากจับตัวนายแอสแซนจ์ได้ จะดำเนินคดีอย่างถึงที่สุดในฐานะ"ผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ"
ถึง แม้นายแอสแซนจ์เป็นเจ้าของเว็บวิกิลีกส์ แต่ผู้ที่กล้านำข้อมูลทั้งหมดมาให้คือ พลทหาร แบรดลีย์ แมนนิ่ง อายุ 24 ปี ซึ่งหมดศรัทธากับสงครามอิรักและต้องการให้โลกรับรู้ความจริง
ต่อมาพล ทหารแมนนิ่งก็ถูกทางการสหรัฐจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาสอดแนม และปัจจุบันยังถูกคุมขังเดี่ยว จนเกรงว่าอาจถูกทรมานขณะสอบสวนด้วย
การ
แถลงข่าวอันท้าทายล่าสุดของนาย
แอสแซนจ์จากระเบียงสถานทูตเอกวาดอร์ในกรุงลอนดอน
นอกจากจะขอให้สหรัฐเลิกพฤติกรรม "ล่าแม่มด" กับวิกิลีกส์แล้ว
จึงขอให้ปล่อยตัวพลทหารแมนนิ่งด้วย
กรณีวิกิลีกส์มิใช่เป็นการท้าทายอำนาจรัฐด้วยการนำเสนอ "ความจริง" ครั้งแรกในสหรัฐ
กรณีวิกิลีกส์มิใช่เป็นการท้าทายอำนาจรัฐด้วยการนำเสนอ "ความจริง" ครั้งแรกในสหรัฐ
ย้อน กลับไปเมื่อปี 2512 ขณะที่กองทัพสหรัฐกำลังต่อสู้ในสงครามเวียดนาม นายแดเนียล เอลส์เบิร์ก เจ้าหน้าที่หน่วยงานวิจัยของทางการสหรัฐ เริ่มเปลี่ยนใจจากที่เคยสนับสนุนสงครามมาเป็นต่อต้าน หลังฟังการไฮด์ปาร์กเปิดโปงภัยสงครามจากกลุ่มนักเคลื่อนไหว
จึง ลักลอบถ่ายเอกสารข้อมูลลับหลายพันหน้าของรายงานวิจัยศึกเวียดนามระหว่างปี 2488-2510 ที่เผยว่ารัฐบาลสหรัฐรู้นานแล้วว่าสงครามครั้งนี้จะคร่าชีวิตชาวอเมริกัน จำนวนมาก
นอกจากนี้ยังยกระดับการสู้รบโดยปกปิดจากสาธารณชน เอกสารเหล่านี้ต่อมาเรียกว่า"เดอะ เพนตากอน เปเปอร์"
ใน ปี 2514 หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เริ่มตีพิมพ์ข้อมูลเหล่านี้ที่นายเอลส์เบิร์กลอบ ส่งให้ แต่รัฐบาลของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน สั่งระงับการตีพิมพ์ทันที โดยอ้างว่าจะกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
ต่อมาศาลฎีกาสหรัฐตัดสินไว้ ในคดีความประวัติศาสตร์ที่มีนิวยอร์กไทมส์เป็นโจทก์ยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ใช้"ความมั่นคงของชาติ"เป็นข้ออ้างปิดกั้นการแสดงข้อมูล ข่าวสารของสื่อให้สาธารณชนได้รับทราบ ตราบใดที่พิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนว่าการนำเสนอข่าวนั้นๆ กระทบต่อความมั่นคงอย่างไร
รัฐบาลนิกสันกลับแข็งกร้าวต่อสื่อมวลชน มากขึ้น โดยจัดตั้งหน่วย"ช่างประปา"ขึ้นมาเพื่อ"อุดรอยรั่ว"ของข้อมูลลับโดยการสืบ สวนหรือข่มขู่ผู้ที่อาจเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ แต่หน่วย"ช่างประปา"นี้กลายเป็นจุดจบของประธานาธิบดีนิกสันเอง ในคดี "วอเตอร์เกต"
เมื่อถูกจับได้ว่าส่งคนแอบเข้าไปค้นสำนักงานของฝ่ายค้านที่อาคารวอเตอร์เกต ในปี 2515 ทำให้นายนิกสันต้อง ลาออกจากตำแหน่ง
กรณีนายเอลส์เบิร์ก ต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็น"ฮีโร่"รับรางวัลคานธี ในฐานะ ผู้สนับสนุนสันติภาพ เมื่อปี 2519
ฮีโร่ รายนี้ยังเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามอิรักในสมัยประ ธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และล่าสุด ประกาศสนับสนุนพลทหารแมนนิ่ง กับเว็บไซต์วิกิลีกส์
กรณี พิพาทนี้จึงไม่ใช่ตัวบุคคลหรือเว็บไซต์วิกิลีกส์เท่านั้น แต่เกี่ยวเนื่องกับหลักการในสังคมประชาธิปไตยที่พลเมืองมีสิทธิ์รับรู้และ แสดงความเห็นในสิ่งที่สำคัญต่อสาธารณชน
นายสโลโวจ์ ชิเช็ก นักปรัชญาชื่อดัง ชี้ว่าวิกิลีกส์มิได้ให้ข้อมูลใหม่ๆ มากนัก ทุกคนรู้ดีว่าสหรัฐน่าจะมีพฤติกรรมอย่างไร
แต่การเปิดเผยเรื่องเหล่านี้อย่าง"สาธารณะ"เป็นการแสดงพลังของพลเมืองที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น