ลองอ่าน "เซ็กและกามารมณ์" ในมุมมองนักวิชาการศิลปะ
ภาพกามาสูตรา
ของอินเดีย :
หนึ่งในวัฒนธรรมตะวันออกที่ฝรั่งในสมัยล่าอาณานิคมไม่เข้าใจ
และเห็นว่าเป็นเรื่องลามก
และเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นภาพอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา
(สมเกียรติ ตั้งนโม)
“Sex
ในเชิงสร้างสรรค์”
ถอดเทปการสนทนา
กระบวนวิชา กามารมณ์ ๑๐๑ ( Sex
ไม่ใช่แค่ไอ้นั่น) ตอน “Sex
ในเชิงสร้างสรรค์”
บรรยายที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
มช. วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๒ /
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (หมายเหตุ:
การถอดเทปนี้
ยังไม่ได้มีการแก้คำผิด
จึงขออภัยมา ณ ที่นี้)
“Sex
ในเชิงสร้างสรรค์”
ผู้นำการสนทนา สมเกียรติ ตั้งนโม
ก่อนอื่น
ผมขอสรุปการพูดถึงกระบวนวิชา
กามารมณ์ ๑๐๑ ที่ผ่านมา ๓
ครั้งก่อนหน้านี้. ครั้งแรก
เป็นการพูดถึง
กามารมณ์โดยทั่วๆไป
ซึ่งได้มีการเสนอว่า
ความเข้าใจของเราทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่อง
sex นั้น
เป็นการถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่
ไม่ใช่เป็นเรื่องของชีววิทยาล้วนๆ
ที่ได้เข้ามามีส่วนกำหนด
ตัดสินใจ ในเรื่องทางเพศ.
พอมาถึงครั้งที่สอง
ซึ่งนำเสนอโดยอาจารย์วารุณี
อาจารย์ได้นำเสนอความเข้าใจในเรื่องเพศระหว่างผู้ชายและผู้หญิงซึ่งมีทัศนะที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะทัศนะในทางที่ครอบงำของเพศชายซึ่งมีอิทธิพลต่อเรื่องของกามารมณ์
มาถึงครั้งที่สาม
เป็นการพูดถึงเรื่อง”เพศพาณิชย์”
เป็นเรื่องของการค้าประเวณี
เรื่องของการใช้เพศเป็นสื่อการโฆษณา
หรือสัญลักษณ์ทางเพศที่นำมาใช้ในทุกๆด้าน
สำหรับครั้งนี้จะเป็นเรื่อง
“sex ในเชิงสร้างสรรค์”
หรือเรื่องของ erotic art,
ซึ่งในช่วงแรกนี้จะมีการพูดถึงว่า
ในดึกดำบรรพ์นั้นภาพ erotic
เหล่านี้เกิดขึ้นมาอย่างไร ?
เท่าที่ผมพอสรุปได้
อยากจะชวนให้เรานึกถึงภาพ Venus of
Willendorf.
สำหรับรูปนี้และรูปศิวลึงค์(Hindu
phallic symbol of creative power)เป็นเรื่องเดียวกัน.
ที่กล่าวว่าเป็นเรื่องเดียวกันเพราะว่า
ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาเป็นภาพของศิวลึงค์หรือรูปวีนัส
ล้วนเป็นการเน้นถึงเรื่องของความอุดมสมบูรณ์.
ในสังคมเกษตรกรรม
ความคิดถึงเรื่องของควมอุดมสมบูรณ์ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เพราะมันหมายถึงการมีชีวิตอยู่รอด
ดังนั้น รูปของศิวลึงค์
หรือรูปของ Venus of Willendorf
โดยเฉพาะภาพหลังนี้
จะทำขึ้นมาเป็นงานประติมากรรมรูปผู้หญิง
ที่มีเต้านมขนาดใหญ่มาก
และตั้งครรภ์
อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
ซึ่งอันนี้ได้รับการแปลมาให้เข้าใจว่า
ภาวะในลักษณะนี้มันหมายถึงผลิตผลที่งอกงาม
หรือจะมีผลิตผลอันสมบูรณ์ในอนาคตนั่นเอง
อีกกลุ่มหนึ่งของสัญลักษณ์ทางเพศที่ปรากฎในงานศิลปะและศาสนาในสมัยโบราณ
ก็คือ
ภาพของการมีเพศสัมพันธ์กันโดยตรง.
การมีเพศสัมพันธ์กันโดยตรงในที่นี้หมายถึงการมี
sexual intercourse หรือภาพของการสังวาส.
ภาพนี้เป็นการอธิบายมาตั้งแต่ยุคโบราณถึงการกำเนิดชีวิต
ซึ่งเป็นคำอธิบายของศาสนาในยุคดึกดำบรรพ์.
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น