หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภัยพิบัติจากเมือง “Toulouse” ประเทศฝรั่งเศส: บทเรียนที่ถูกเบียดบัง

ภัยพิบัติจากเมือง “Toulouse” ประเทศฝรั่งเศส: บทเรียนที่ถูกเบียดบัง


ภัยพิบัติโรงงานเคมี ณ เมือง Toulouse
http://www.rootcauselive.com/RootOff/RootOffArchives/1stQtr2002/RootOff11-01.htm


ฝรั่ง : “เอาไหม เราจะไปตั้งโรงงานให้ ประเทศยูจะได้มีรายได้ และเป็นประเทศพัฒนาแล้วเหมือนเรา”

ไทย : “เอาซิ!”

(ฝรั่ง : “อ้อ...โรงงานเคมีที่จะขายให้ เคยมีประวัติระเบิดมาแล้วนะ มีคนบาดเจ็บเยอะแยะ และยังมีผลกระทบระยะยาวที่ยังประเมินไม่ได้อีก”-เงียบ)

บทสนทนาเรื่องการตั้งโรงงานเพื่อการพัฒนาที่ยกมาข้างต้น สังคมไทยจะได้รับรู้เพียง 2 ประโยคแรก แต่ประโยคสุดท้ายสังคมไทยไม่เคยได้รับรู้ ไม่อยากรับรู้ และไม่ต้องการรับรู้ ความไม่รู้เช่นนี้จะว่าไปก็มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะช่วงที่เราเริ่มมีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504


นิโคลัส เดซี 

นิโคลัส เดซี (Nicolas Dechy) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและนักสืบเหตุการณ์ภัยพิบัติ ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินการองค์กรและการเข้าถึงปัจจัยความปลอดภัยด้านพลังงาน โรงงานนิวเคลียร์ (Institut de Radioprotection et de Sûreté Nucléaire-IRSN) จากประเทศฝรั่งเศส มาบรรยายเกี่ยวกับภัยพิบัติโรงงานเคมี ณ เมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งระเบิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2001 หลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาถูกวินาศกรรมจากเหตุการณ์ 9/11 ได้เพียง 10 วัน และนี่เป็นเหตุให้สังคมโลก ไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่า มีเหตุการณ์ภัยพิบัติจากโรงงานเคมีในเมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศสเกิดขึ้น

รายละเอียดเหตุการณ์
ตอนแรกที่โรงงานแห่งนี้ระเบิด รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งข้อสงสัยว่า “นี้เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายหรือเปล่า?” เพราะอเมริกาเพิ่งโดนวินาศกรรมไปเมื่อ 10 วันก่อน และเหตุการณ์นี้อาจเกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อสืบสวนโดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ผลปรากฏว่า ไม่พบความเชื่อมโยงกันกับเหตุการณ์ก่อการร้าย

การระเบิดทำให้สารเคมีแอมโมเนียไนเตรทจำนวน 300 ตัน รวมทั้งสารเคมีอื่นๆ ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วบริเวณรอบๆ โรงงาน ขนาดของระเบิดเทียบเท่ากับแผ่นดินไหว 3.4 ริกเตอร์ และเทียบเท่ากับระเบิด TNT 20-40 ตัน ที่สำคัญโรงงานตั้งอยู่ใกล้กับเมือง โรงเรียนหลายแห่ง มหาวิทยาลัย 1 แห่ง โรงพยาบาลและโรงพยาบาลประสาท ทั้งหมดต้องรีบอพยพผู้ป่วยออกไปนอกบริเวณให้เร็วที่สุด ผลของการระเบิดทำให้คนจำนวน 30 คนเสียชีวิต และกว่า 2,500 คน บาดเจ็บสาหัส อีก 8,000 คนบาดเจ็บเล็กน้อย บ้านจำนวน 27,000 หลังเสียหาย คนกว่า 40,000 คน กลายเป็นคนไร้บ้านอยู่ระยะหนึ่ง สังคมฝรั่งเศสต้องจ่ายค่าความเสียหายให้กับเหตุการณ์ครั้งนี้อยู่ในระหว่าง 1.5 ถึง 2.5 พันล้านยูโร แต่ที่สำคัญยังมีผลในระยะยาวที่ไม่สามารถประเมินค่าได้จนถึงปัจจุบัน คือ ผลกระทบด้านพิษเคมี และอาการบาดเจ็บทางด้านจิตใจ ซึ่งต้องการเครื่องมือการติดตามอย่างต่อเนื่อง
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42034

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น