พุสซี่ ไรออท VS วลาดิมีร์ ปูติน ใครเสี่ยงกว่ากัน ?
คอกจำเลยที่ศาลแขวงคามอฟนิกี้ ริมฝั่งแม่น้ำมอสควา ในกรุง มอสโกเมืองหลวงของสหพันธรัฐรัสเซีย มีความพิเศษอย่างยิ่ง
นั่น ไม่เพียงเพราะมันเป็นเหมือนตู้ไม้กรุกระจกกันกระสุน 3 ด้าน ผิดแผกแตกต่างออกไปจากคอกจำเลยของศาลอื่นๆ ทั่วโลกเท่านั้น แต่เป็นเพราะที่คอกจำเลยเดียวกันนี้ นักโทษการเมืองรัสเซียหลายต่อหลายคนผ่านเลยเข้ามาและใช้มันเป็น "บานหน้าต่าง" สะท้อนความเป็นจริงในความคิดเห็นของตนออกไปสู่โลกภายนอก ผ่านทางสื่อมวลชนหลายแขนง จากทั่วทุกมุมโลก
คนหลังสุดที่ใช้มัน เชื่อมต่อกับโลก ก็คือ มิคาอิล โคดอร์คอฟสกี้ คนที่ผันตัวเองจากบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในรัสเซีย มาเป็นนักโทษที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศในชั่วข้ามคืนเมื่อปี 2003 เพียงเพราะต่อต้าน วลาดิมีร์ ปูติน
คอกจำเลยที่ศาลคามอฟนิกี้ กลายเป็นจุดโฟกัสของทั้งโลกอีกครั้งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา วันที่ผู้พิพากษามารีนา ไซโรวา มีกำหนดพิพากษาและกำหนดบทลงโทษในคดี "พุสซี่ ไรออท" อันเลื่องลือ
จำเลย 3 คน ผู้หญิงรูปร่างเล็ก เพรียวบาง ดูอ่อนแอจนสามัญธรรมดาอย่างยิ่ง 3 คน ประกอบด้วย นาเดซด้า โทโลคอนนิโคว่า นักศึกษาวัย 22 ปี มาเรีย อัลโยคีน่า เจ้าหน้าที่องค์กรการกุศลวัย 24 ปี และ เยกาเทรีน่า ซามูเซวิช วิศวกรคอมพิวเตอร์อิสระวัย 29 ปี แย้มยิ้ม รับคำพิพากษาและโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี ฐานกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา "มีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นอันธพาล" และ "จาบจ้วง ดูหมิ่นศาสนา ด้วยความจงเกลียดจงชัง"
"นาเดีย-มาช่า และ แคทย่า" อย่างที่จำเลยทั้ง 3 เป็นที่รู้จักกันไป
ทั่วประเทศ ไม่เพียงคาดหวังไว้แล้วว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น ชาวรัสเซียทั่วประเทศก็คาดหวังไว้ในทำนองเดียวกัน
นั่น ไม่เพียงเพราะมันเป็นเหมือนตู้ไม้กรุกระจกกันกระสุน 3 ด้าน ผิดแผกแตกต่างออกไปจากคอกจำเลยของศาลอื่นๆ ทั่วโลกเท่านั้น แต่เป็นเพราะที่คอกจำเลยเดียวกันนี้ นักโทษการเมืองรัสเซียหลายต่อหลายคนผ่านเลยเข้ามาและใช้มันเป็น "บานหน้าต่าง" สะท้อนความเป็นจริงในความคิดเห็นของตนออกไปสู่โลกภายนอก ผ่านทางสื่อมวลชนหลายแขนง จากทั่วทุกมุมโลก
คนหลังสุดที่ใช้มัน เชื่อมต่อกับโลก ก็คือ มิคาอิล โคดอร์คอฟสกี้ คนที่ผันตัวเองจากบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในรัสเซีย มาเป็นนักโทษที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศในชั่วข้ามคืนเมื่อปี 2003 เพียงเพราะต่อต้าน วลาดิมีร์ ปูติน
คอกจำเลยที่ศาลคามอฟนิกี้ กลายเป็นจุดโฟกัสของทั้งโลกอีกครั้งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา วันที่ผู้พิพากษามารีนา ไซโรวา มีกำหนดพิพากษาและกำหนดบทลงโทษในคดี "พุสซี่ ไรออท" อันเลื่องลือ
จำเลย 3 คน ผู้หญิงรูปร่างเล็ก เพรียวบาง ดูอ่อนแอจนสามัญธรรมดาอย่างยิ่ง 3 คน ประกอบด้วย นาเดซด้า โทโลคอนนิโคว่า นักศึกษาวัย 22 ปี มาเรีย อัลโยคีน่า เจ้าหน้าที่องค์กรการกุศลวัย 24 ปี และ เยกาเทรีน่า ซามูเซวิช วิศวกรคอมพิวเตอร์อิสระวัย 29 ปี แย้มยิ้ม รับคำพิพากษาและโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี ฐานกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา "มีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นอันธพาล" และ "จาบจ้วง ดูหมิ่นศาสนา ด้วยความจงเกลียดจงชัง"
"นาเดีย-มาช่า และ แคทย่า" อย่างที่จำเลยทั้ง 3 เป็นที่รู้จักกันไป
ทั่วประเทศ ไม่เพียงคาดหวังไว้แล้วว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น ชาวรัสเซียทั่วประเทศก็คาดหวังไว้ในทำนองเดียวกัน
กระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็ก่อให้เกิดคำถามตามมา การกระทำของพวกเธอควรค่าแก่การลงโทษหนักหนาขนาดนี้หรือ? "พุสซี่ ไรออท" ต่อต้านอะไรกันแน่ ศาสนา หรือบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่โตกว่าซึ่งครอบงำรัสเซียทั้งสังคมอยู่ในเวลานี้? ผู้หญิงสามัญ จากพื้นเพสามัญ 3 คนกับเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น เป็นอันตรายยิ่งต่อรัสเซียจริงหรือ?
หรือนี่เป็นเพียงการทำให้ผู้ที่ สำแดงออกถึง "ศิลปะร่วมสมัย" กลายเป็นผู้กระทำความผิดอาญาด้วยเจตนาบิดเบือนเพื่อบดบังความต้องการกำราบ การต่อต้านวลาดิมีร์ ปูติน?
12 กุมภาพันธ์ 2012 ที่มหาวิหารคริสตจักรพระมหาไถ่ สัญลักษณ์แห่งคริสตจักร รัสเซียน ออโธดอกซ์ ใจกลางกรุงมอสโก "พุสซี่ ไรออท" วงดนตรีพังก์ รวมตัวกันเล่นดนตรีตามแนวที่พวกตนถนัด ในสภาพที่เห็นกันเจนตา พังก์ เลดี้ กับหมวกสกีปิดหน้าหลากสี เหลือง ชมพู แดง ม่วง เขียว ตะโกนหลากหลายวลีที่ วลาดิมีร์ วลาดิมีโรวิช ปูติน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ระคายโสตประสาทอย่างยิ่ง
"Holy shit, shit, Lord?s shit, และ
"The patriarch believes in Putin / Bastard, better believe in God."
ใน ทางหนึ่ง บางวลีเหล่านั้นกระตุกให้แม้แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ ปูติน สลัดทิ้งความคิดต่อต้าน หันมาพูดถึงความเหมาะสมในแง่มุมของการต่อต้านศาสนา ในอีกทางหนึ่ง พวกเธอกำลังอ้อนวอนให้ "พระแม่มารี"
ทรงมีพระเมตตา โยนปูตินออกไปจากรัสเซีย เหมือนอย่างที่ชาวรัสเซียหลายต่อหลายคนเพิ่มเติมไว้ในคำสวดอ้อนวอนทุกเมื่อเชื่อวัน
15 สิงหาคม ในคำให้การปิดคดี 3 จำเลยยืนกรานสิทธิในการแสดงออก และการปกป้องความเชื่อที่พวกตนมี มาเรีย "มาช่า" อัลโยคีน่า เบิกความว่า
"รัสเซีย ในฐานะของความเป็นรัฐนั้น ได้กลายเป็นองคาพยพที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคร้ายเกาะกินอยู่ถ้วนทั่วมาเป็นเวลานานแล้ว"
ข้อเท็จจริงในประโยคดังกล่าว
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในรัสเซีย จากทั้งคนทั่วไป
และเจ้าหน้าที่ระดับไหนก็ตามที่ไม่ยอมปิดหูปิดตาตัวเอง และมองเห็นภาวะ
"การใช้อำนาจอย่างบิดเบือน" ที่ก่อให้เกิด "ทุจริตคอร์รัปชั่น"
และการเบี่ยงเบน ทำลายสังคมรัสเซียให้หันเหไปสู่ความเป็นรัฐอำนาจนิยม
ห่างไกลจากเสรีภาพและประชาธิปไตยที่เป็นความใฝ่ฝันสูงสุดหลังการล่มสลายของ
สหภาพโซเวียตเข้าไปเต็มที
นาเดซด้า "นาเดีย" โทโลคอนนิโคว่า อ้างอิงถึงหลายต่อหลายนักต่อสู้ที่มุ่งมั่นพิทักษ์ความเชื่อของตนเองในรัส เซียเอาไว้มากมาย ตั้งแต่ เซนต์ สตีเฟน ผู้พลีชีพเพื่อปกป้องคริสตจักร ไปจนถึง ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ นักเขียนเรืองนามที่ต้องตายเพราะการต่อต้านผู้ปกครองทั้งทางศาสนาและทางโลก ก่อนจบลงด้วยประโยคสำคัญของ อเล็กซานเดอร์ โซลเซนนิตซิน ปัญญาชนผู้ถูกกักขังในค่ายใช้แรงงานก่อนได้รับรางวัลโนเบลวรรณกรรมในเวลาต่อ มา ที่ทำนายเอาไว้ว่า
"ถ้อยคำทั้งหลายเหล่านั้น จักทลายแม้กำแพงคอนกรีต"
นาเดซด้า "นาเดีย" โทโลคอนนิโคว่า อ้างอิงถึงหลายต่อหลายนักต่อสู้ที่มุ่งมั่นพิทักษ์ความเชื่อของตนเองในรัส เซียเอาไว้มากมาย ตั้งแต่ เซนต์ สตีเฟน ผู้พลีชีพเพื่อปกป้องคริสตจักร ไปจนถึง ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ นักเขียนเรืองนามที่ต้องตายเพราะการต่อต้านผู้ปกครองทั้งทางศาสนาและทางโลก ก่อนจบลงด้วยประโยคสำคัญของ อเล็กซานเดอร์ โซลเซนนิตซิน ปัญญาชนผู้ถูกกักขังในค่ายใช้แรงงานก่อนได้รับรางวัลโนเบลวรรณกรรมในเวลาต่อ มา ที่ทำนายเอาไว้ว่า
"ถ้อยคำทั้งหลายเหล่านั้น จักทลายแม้กำแพงคอนกรีต"
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น