หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

เสวนานิติราษฏร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ

เสวนานิติราษฏร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ







30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ธีระ สุธีวรางกูร กล่าวในช่วงเกริ่นนำว่า ประเทศไทยมีการรัฐประหารเฉลี่ย 3-4 ปีต่อครั้ง และการรัฐประหารทุกครั้งจะนำมาซึ่งเรื่องใหม่ๆ ทางกฎหมาย ทั้งการมีองค์กรและกฎเกณฑ์ใหม่ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ

การรัฐประหาร 2549 เป็นสาเหตุของการกำเนิดขึ้นของนิติราษฎร์ซึ่งมีข้อเสนอออกมานับตั้งแต่มีการ รวมกลุ่ม และมีหลายข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ในทางสาธารณะค่อน ข้างมาก นั่นคือการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร

นอกจากนี้ คือเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยที่นำมา ซึ่งการจำกัดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ แต่ระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมาความสัมพันธ์นี้แกว่งไกวมาตลอดแล้วแต่สถานการณ์ แต่ระหว่างการจัดความสัมพันธ์นี้ สิ่งที่เห็นคือ จะมีบรรดานักนิติศาสตร์ที่ทำหน้าที่อธิบายความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นการ เทิดพระเกียรติและอำนาจของสถาบันฯ แต่ข้อเท็จจริงนั้น ก่อนการรัฐประหาร 2549 ในช่วงที่ประเทศอยู่ในภาวะวุ่นวาย กลไกที่ทำหน้าที่หลักในบ้านเมืองตอนนั้นคือสถาบันตุลาการ ซึ่งมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากในช่วงที่กำลังจะมีการรัฐประหาร

บทบาทสำคัญอีกประการคือ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2549 เรื่องปัญหาการเลือกตั้ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้เลือกตั้งใหม่ และต้องเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่คณะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติไม่เลือกโดยอ้างพระราชอำนาจ ตามหนังสือที่ประธานศาลฎีกาเวียนไประบุเหตุที่มีกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรง ใช้พระราชอำนาจโดยตรงทางตุลาการผ่านพระราชดำรัสวันที่ 25 เม.ย.2549 เมื่อมีพระราชดำรัสเช่นนั้นการที่ศาลฎีกาไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

ธีระกล่าวต่อว่า ที่อ้างมานี้ เพื่อให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ถูกนำมาอ้างอิงเสมอไม่ว่าจากศาลหรือใครก็ตาม และ 30 ปีที่ผ่านมา ก็มีคำอธิบายทางนิติศาสตร์มากในเรื่องพระราชอำนาจและอำนาจอธิปไตย เป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามและหาคำตอบ

สุดท้าย สิ่งที่ต้องรำลึกเสมอคือ แม้ว่าปัจจุบันมีการรัฐประหารค่อนข้างยาก แต่การรัฐประหารแบบคลาสสิกคือการใช้รถถังก็ยังมีอยู่ ก่อนหน้านั้นเราไม่มีองค์ความรู้ในการป้องกันหรือแก้ไขการรัฐประหารเลย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/42914

สรุปปาฐกถาเกษียร เตชะพีระ: นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

สรุปปาฐกถาเกษียร เตชะพีระ: นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

 

 
อ.เกษียร "นักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร"
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=A9YgdfC4e4g 

วิดีโอและสรุปปาฐกถา เกษียร เตชะพีระ ในงานเสวนานิติราษฎร์ 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร มุมมองจากนักรัฐศาสตร์ที่มองพัฒนาการบทบาทของนักกฎหมายในการสร้างความชอบ ธรรมให้รัฐประหาร หน้าที่ในเชื่อมรอยต่อเผด็จการกับประชาธิปไตยให้เรียบเนียน โดยยึดถือการดำรงอยู่และอำนาจของสถาบันกษัตริย์ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42903

ความจริงเรื่อง 6 ตุลา !!!

ความจริงเรื่อง 6 ตุลา !!!




อยากรู้ความจริงเรื่อง 6 ตุลา 
คลิก www.2519.net

กำหนดการ สัปดาห์รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน
ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
5-14 ตุลา นิทรรศการคนรุ่นตุลา เมษา พฤษภา กับ การเมือง
ด้านหน้าหอใหญ่ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เราเคยมีทหารเป็นอธิการบดีมาแล้ว 
คลิกดู http://www.rc.ku.ac.th/old

เหตุใดจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสถาบันกษัตริย์

เหตุใดจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสถาบันกษัตริย์



"2 ปีนิติราษฎร์" วรเจตน์ ภาคีรัตน์
http://www.youtube.com/watch?v=E503arHhXWg&list=UUho9X86WGsBR2xYhuZcw2Yg&feature=player_embedded

สรุปการอภิปรายของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่า ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรัฐประหาร 2490 คือ การฝังสำนึกห้ามแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ ดำรงอยู่ต่อหน้าได้ ถ้าเราต้องการการปรองดองที่สถานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง ศาล และกองทัพ 

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์


30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่ากิจกรรมต่อไปของนิติราษฎร์คือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวทีเสวนา วรเจตน์กล่าวว่า รัฐประหาร 2490 โดยผิน ชุณหวัณ เป็นต้นแบบของการทำรัฐประหารปัจจุบันคือ ล้มลางการปกครองแล้วเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ รัฐประหารครั้งที่เปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิงคือจอมพลสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500 ตามด้วย รัฐประหารอีกครั้ง 2501 ใช้เวลายาวนานก่อนจะก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 รัฐประหารอีกครั้งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ตามกฎหมายในส่วนสถาบันพระ มหากษัตริย์ คือ รัฐประหารปี 2534 โดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ. 2534 ขึ้นมา

รัฐประหารที่สำคัญๆ นั้นส่งผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แม้บางช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจะปกครองไปในเชิงอำนาจนิยมบ้าง แต่ก็มีกฎหมายเหนี่ยวรั้งอยู่จนถึง พ.ศ. 2489 แต่หลังรัฐประหาร โดยผิน ชุณหวัณ  เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490ได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มีผลเป็นการสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ก่อน รัฐประหารปี 2490 กฎเกณฑ์การถ่วงดุลของสถาบันทางการเมืองได้มาตรฐานสากลพอสมควร แต่หลังรัฐประหารครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญหลายเรื่อง

ประการ แรก คือ การจตัดตั้งให้มีคณะอภิรัฐมนตรี ถ้าครม. จะเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่ทำไว้ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อน

รัฐธรรมนูญปี 2492 ก็ได้เป็นต้นแบบให้รัฐธรรมนูญต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน คือ การกำหนดให้มีองคมนตรี และในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการฯ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฯ กำหนดห้ามยกเลิก-แก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วนการสืบสันตติวงศ์ และอำนาจในการวีโต้กฎหมายของสถาบัน ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้สืบต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

นี่จึงเป็นที่ มาที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้กลับไปใช้แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางก่อนปี 2490 เพราะเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับองค์กรทางการเมือง ที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากที่สุด

‘สาวตรี’ วิจารณ์ข้อเสนอ คอป. ชี้ประโยชน์และปัญหา

‘สาวตรี’ วิจารณ์ข้อเสนอ คอป. ชี้ประโยชน์และปัญหา




30 ก.ย.55 ในช่วงท้ายของเวทีเสวนา 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์  กล่าวถึงรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.)  ว่า หลังจากได้อ่านรายงานมีหลายจุดที่ค่อนข้างมีประโยชน์ เช่น มีข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ แต่ปัญหาคือ ข้อมูลดิบที่แสดงมีไม่เพียงพอ

สาวตรีกล่าวว่า แล้ว คอป. เกี่ยวอะไรกับนักกฎหมายและรัฐประหาร เราทราบกันดีว่าในคอป. มีนักกฎหมายค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเราดูทัศนคติก็ดี หรือตัวรายงานก็ดี จะพบว่า คอป. อาจไม่ใช่นักกฎหมายที่รับใช้รัฐประหารโดยตรง แต่ปัจจุบันก็มีการตั้งคำถามกันว่า คอป.รับใช้รัฐบาลที่เป็นผลพวงของรัฐประหารหรือไม่

“คอป.อาจถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการแอบอ้างความเป็นกลางเพื่อรับรองความชอบธรรมให้กับการปราบปรามประชาชน” สาวตรีกล่าว

สาว ตรีกล่าวต่อว่า หลังอ่านรายงานอย่างละเอียดจะพบประเด็นปัญหาคือ 1)  ที่มาของ คอป.ที่มีการแต่งตั้งและคัดเลือกในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ปราบปรามประชาชน ลักษณะของความเป็นกลางจึงถูกตั้งคำถามแต่แรก  2) ปัญหาการอ้างอิงแหล่งข้อมูล จะเห็นว่ามีการเทน้ำหนักพยานหลักฐานไปที่ฝ่ายรัฐ เต็มไปด้วยคำให้การของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ แต่ในส่วนของชาวบ้าน ผู้เห็นเหตุการณ์มีน้อยมาก 3) ในรายงานราว 300 หน้า กว่าครึ่งพยายามอธิบายปัญหาที่ คอป.มองว่าก่อให้เกิดความไม่ปรองดองหรือความขัดแย้งยืดเยื้อ ซึ่งเราจะพบปัญหาในการมองปัญหา เช่น คอป.สรุปปัญญาคดีหลายคดีในศาลรัฐธรรมนูญว่าศาลทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง แต่รายละเอียดมีแค่คดีซุกหุ้นเท่านั้น คดีอื่นๆ ไม่มีรายละเอียดเลย , ในการพูดถึงปัญหาเรื่องการชุมนุมปิดสถานที่ต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดงแดง สิ่งที่เกิดขึ้นคือผลพวงจากการปิดสนามบินไม่มีปรากฏ แต่เน้นเรื่องการปิดสถานที่ต่างๆ ของคนเสื้อแดง รวมถึงผลพวงของมัน นี่คือลักษณะที่แสดงทัศนะออกมา , คอป.พูดถึงปัญหาผังล้มเจ้า โดยบอกว่า ศอฉ. แสดงชัดเจนว่ามีผังล้มเจ้า แต่คอป.ไม่ระบุเลยว่าในที่สุด ศอฉ.ประกาศว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น , คอป.ยกเรื่องการอ้างสถาบันของฝายต่างๆ ทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อ พร้อมเสนอว่าควรหยุดอ้างได้แล้ว แต่ในรายงานไม่เคยมีการวิเคราะห์ให้เห็นบทบาทของสถาบันเองนับแต่การรัฐ ประหารเป็นต้นมา และไม่มีการยกว่าเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"  


Posted Image


Posted Image 

ฝากรูป 

เสวนา ๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร 30 9 2012 (ช่วง 1)
http://www.youtube.com/watch?v=0WItFs9_Z08  

เสวนา ๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร รำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ 30 9 2012 (ช่วง 2) 
http://www.youtube.com/watch?v=K_cMBB2bK5Y

สวนา ๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ 30 9 2012 (ช่วง 3) 
http://www.youtube.com/watch?v=x4u2P2xK5L4
 

ภาพ/คลิป กิจกรรมครบรอบ 2 ปีนิติราษฏร์ 6 ปี รัฐประหาร @ธรรมศาสตร์ 30/09/55

(คลิก)
http://www.internetofreedom.com/index.php?/topic/15884-

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"






นิติราษฎร์ จัดเสวนา "๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร"
ใน วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕  เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  โดยมีกำหนดการดังนี้

๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐  “นักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร” ปาฐกถานำ โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ 

๑๓.๓๐ - ๑๔.๐๐ กิจกรรมรำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ “๖ ปี แท็กซี่ชนรถถัง” 

๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ “รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ”
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล

 
ดำเนินรายการโดย ธีระ สุธีวรางกูร


๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ บทบาทของ คอป. กับการ "ปรองดอง"?  อภิปรายและตอบคำถามโดย คณะนิติราษฎร์
เปิดประตูหอประชุมตั้งแต่ ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป จึงขอเรียนเชิญประชาชนผู้สนใจทุกท่าน

นอกจากนี้ คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำ ดีวีดี “นิติราษฎร์เสวนา”  รวมการเสวนาของคณะนิติราษฎร์ตลอด ๒ ปี มีจำนวน ๑๐ แผ่น จำหน่ายก่อนเริ่มงาน จำนวน ๕๐๐ ชุด ในราคาชุดละ ๕๐๐ บาท เพื่อนำรายได้จ่ายค่าหอประชุม

และคณะนิติราษฎร์ขอเรียนทุกท่านทราบว่าพวกเราไม่ประสงค์รับบริจาคเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจากบุคคลใด หน่วยงานใด หรือโดยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น ! 

(ที่มา)

"ยุกติ มุกดาวิจิตร" : สังคมไทยปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตยที่ชราภาพมากแล้ว

"ยุกติ มุกดาวิจิตร" : สังคมไทยปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตยที่ชราภาพมากแล้ว

 

  


แม้การรำลึกครบรอบ 6 ปี รัฐประหารจะผ่านไปแล้ว

แต่กระแสข่าวการเกิดรัฐประหารมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

โดยเฉพาะการปลุกระดมเสื้อแดง-เสื้อเหลืองจนเกิดการปะทะกันหน้ากองปราบในช่วงเวลาที่ผ่านมา

อาจจะนำไปสู่ข้ออ้างสำคัญที่คณะรัฐประหารมักใช้อ้างเพื่อกระทำการก็คือ
 
การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและป้องกันปัญหา "คนไทยฆ่ากันเอง" 

"มติชนออนไลน์"  สัมภาษณ์ "ยุกติ มุกดาวิจิตร"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จะมาตอบคำถามว่าเหตุใดประเทศไทยยังสามารถเกิดรัฐประหารในอนาคตได้

แม้จะมีกระแสต่อต้านจะขยายไปในวงกว้างของสังคมแล้วก็ตาม

แล้วชนชั้นนำไทยเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรัฐประหาร

ถึงเวลาที่ต้องรับ "ชมคลิป" และอ่านอย่าง "เพ่งพินิจตรึกตรอง"

-ปัจจัยใดทางสังคมที่ทำให้มีการรัฐประหารถึง 4 ปี/ครั้ง นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475
 รัฐประหารทุกครั้งมันตอกย้ำสิ่งที่ยังมีอยู่ในสังคมไทยคือ ระบบอำนาจนิยมและชนชั้นนำยังไม่อยากปล่อยอำนาจของตัวเอง ดังนั้นข้ออ้างของการทำรัฐประหารจะซ้ำ ๆ กัน โดยเฉพาะเรื่องของการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์จะถูกเอามาใช้เป็นข้ออ้าง ชนชั้นนำก็เชื่อว่ากลุ่มของตนเองเท่านั้นที่จะปกป้อง จงรักภักดีต่อสถาบันฯ และคิดว่าคนกลุ่มอื่นในสังคมไทยไม่มีใครรักสถาบันฯ เลย มีแต่ทหารกับชนชั้นนำเท่านั้น


 อีกปัจจัยคือ อุดมคติของข้าราชการก็ไม่ได้คิดว่า ตัวเองทำงานให้กับนักการเมืองซึ่งเท่ากับคิดว่าข้าราชการก็ไม่ได้ทำงานให้กับประชาชน ข้าราชการคิดว่า ตัวเองทำงานให้สถาบันอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ประชาชน โครงสร้างพื้นฐานของระบบข้าราชการจึงคิดว่า ตัวเองไม่ได้ทำงานให้ประชาชน  แล้วผู้ที่ทำรัฐประหารก็คือ ทหารซึ่งก็เป็นข้าราชการอีกด้วย
-ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยชนชั้นกลางจะเป็นคนกลุ่มแรกที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร แต่ทำไมการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ชนชั้นกลางกับยอมรับแล้วยื่นดอกไม้ให้ทหารที่ทำการรัฐประหาร
เพราะมันเป็นการรัฐประหารเพื่อชนชั้นกลาง โดยการกระทำและความสนับสนุนจากชนชั้นนำ การรัฐประหารในครั้งก่อน ๆ มันคือเรื่องผลประโยชน์ของชนชั้นนำเอง แต่หลังจากที่การกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจมันแพร่หลายในเขตเมืองมากขึ้นชนชั้นกลางก็มีอำนาจทางการเมืองเพิ่มขึ้นจนสามารถกำหนดว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

พอรัฐบาลทักษิณกระจายอำนาจให้ชนชั้นกลางระดับล่างจึงทำให้กลุ่มชนชั้นกลางในเมืองไม่พอใจ และยินดีที่เกิดรัฐประหารปี 2549 เพราะอย่างน้อยอำนาจทางการเมืองก็ยังอยู่ในมือพวกเขา แล้วอุดมการณ์ของชนชั้นกลางในเมืองยังเชื่อว่า ควรจะมีพลังพิเศษมาป้องกันหรือขัดขวางการเติบโตของพลังสถาบันพรรคการเมือง

-หมายความว่าชนชั้นกลางในเมืองกำลังหวาดกลัวกับการมีอำนาจทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นล่างและชนชั้นกลางระดับล่างใช่หรือไม่

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้
 


ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์

โดย กองบรรณาธิการเลี้ยวซ้าย

คาร์ล มาร์คซ์ เสนอในปี 1850 (60 ปีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส)ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมเปลี่ยนไปจากความขัด แย้งระหว่างนายทุนกับขุนนาง ไปเป็นความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพกับชนชั้นปกครอง มาร์คซ์เขียนว่า...   
“ชน ชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่จะเป็นผู้ต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับทุนนิยมจนได้รับ ชัยชนะ... และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อชนชั้นกรรมาชีพเข้าใจผลประโยชน์ของชนชั้น ตัวเองอย่างชัดเจน โดยสร้างพรรคการเมืองอิสระของกรรมาชีพเอง และไม่หลงเชื่อคำแนะนำจากพวกนายทุนน้อยประชาธิปไตยตอแหลที่เสนอว่า กรรมาชีพไม่ต้องมีพรรคของตนเอง... คำขวัญของกรรมาชีพจะต้องเป็น ‘ปฏิวัติให้ถาวรไปเลย!’” [Marx, K & Engels, F (1981) “Collected Works Vol X” pp 280-287, London.]

ก่อนการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เลนิน แสดงจุดยืนในหนังสือ “สองยุทธวิธีของสังคมนิยมประชาธิปไตย” ว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดต้องนำโดยชนชั้นกรรมาชีพที่ทำแนวร่วมกับชาวนา แต่ในขั้นตอนแรก เนื่องจากความล้าหลังของประเทศรัสเซียที่มีชาวนา 130 ล้านคน เมื่อเทียบกับกรรมาชีพแค่ 3 ล้านคน การปฏิวัติจะสถาปนาระบบประชาธิปไตยทุนนิยมก่อน โดยมีนายทุนเป็นชนชั้นปกครอง หลังจากนั้นกรรมาชีพจะค่อยๆทำการปฏิวัติไปสู่สังคมนิยมในภายหลัง

แต่ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์

ในขณะที่ เลนิน เสนอให้กรรมาชีพปฏิวัติถาวรและสร้างสังคมนิยมในประเทศล้าหลังอย่างรัสเซีย ก่อนหน้านั้นในปี 1906 ลีออน ตรอทสกี ก็แสดงจุดยืนสนับสนุนการปฏิวัติถาวรของ มาร์คซ์ ในบทความชิ้นสำคัญที่เรียกว่า “การปฏิวัติถาวร”

ความสำคัญของทฤษฎีการปฏิวัติถาวรสำหรับสังคมไทย ในปัจจุบันคือ มันอธิบายว่าทำไมความขัดแย้งระหว่างทักษิณกับอำมาตย์ ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับศักดินา และกรรมาชีพกับคนจนไม่ควรต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทุนนิยมเท่านั้น แต่ควรสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสังคมนิยม

หลายคนที่เคยศึกษานโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย(พ.ค.ท.) จะทราบดีว่า พ.ค.ท. ในอดีตถือนโยบายตาม สตาลิน และ เหมาเจ๋อตุง ที่เสนอว่าการปฏิวัติในประเทศไทยในขั้นตอนแรก จะต้องเป็นการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่ใช่สังคมนิยม และชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสร้างแนวร่วมและประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน มันเป็นข้อเสนอที่พานักปฏิวัติสังคมนิยมในพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกให้ไปจงรัก ภักดีกับนายทุน เพื่อไม่ให้ชนชั้นนายทุนในประเทศต่างๆ ต่อต้านรัสเซีย มันนำไปสู่การประนีประนอมกับทุนนิยมตลาดเสรีอย่างที่เราเห็นในเนปาลหลังจาก ที่พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเป็นรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้เอง และสำหรับขบวนการเสื้อแดง มันเป็นข้อเสนอให้กรรมาชีพและเกษตรกรทำแนวร่วมกับทักษิณโดยไม่เสนอนโยบายที่ จะเป็นประโยชน์กับชนชั้นตนเองเลย

ลีออน  ตรอทสกี สรุปเรื่องการปฏิวัติถาวรในปี 1928 ว่า

1. ในประเทศที่การพัฒนาระบบทุนนิยมล้าหลัง  โดยเฉพาะประเทศเมืองขึ้นหรือกึ่งเมืองขึ้น ทฤษฎีการปฏิวัติถาวรมีความสำคัญตรงที่ทำให้เห็นว่าการสร้างประชาธิปไตยและ เอกราชที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ภายใต้สังคมนิยมเท่านั้น และชนชั้นนำจะต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพ 

2. ปัญหาของระบบเกษตรกรรม และปัญหาของเอกราชในประเทศล้าหลัง มีผลทำให้ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญ ถ้าไม่มีแนวร่วมระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนาภาระของการปฏิวัติจะไม่บรรลุ ความสำเร็จ แต่แนวร่วมนี้จะต้องสร้างขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการต่อสู้อย่างไม่มีวันประนี ประนอมกับอิทธิพลของนายทุนรักชาติเสรีนิยม

3. ไม่ว่าการปฏิวัติในประเทศหนึ่งจะมีขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไร การสร้างแนวร่วมระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนาต้องสร้างภายใต้การนำของ กรรมาชีพที่ก้าวหน้าที่สุด ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคคอมมิวนิสต์

4. อำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ จะต้องเผชิญหน้าอย่างรวดเร็วกับปัญหาต่างๆ ที่แก้ได้โดยวิธีเดียวเท่านั้นคือ การลดทอนสิทธิทรัพย์สินเอกชนของนายทุน ฉะนั้นกระบวนการประชาธิปไตยจะนำไปสู่การปฏิวัติถาวรเพื่อสร้างสังคมนิยม ทันที

5. การยึดอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการปฏิวัติ เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น การสร้างระบบสังคมนิยมทำได้ภายใต้เงื่อนไขการต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น ทั้งในระดับชาติและระดับสากลพร้อมกัน การต่อสู้แบบนี้ ภายใต้สภาพโลกที่ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์แบบทุนนิยม มักจะนำไปสู่การระเบิดภายใน ในรูปแบบสงครามกลางเมือง และการระเบิดภายนอกในรูปแบบสงครามปฏิวัติ สภาพเช่นนี้เองชี้ถึงความ “ถาวร” ของการปฏิวัติสังคมนิยม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนในประเทศล้าหลังที่พึ่งจะบรรลุการปฏิวัติประชาธิปไตย หรือในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่มีประชาธิปไตยและระบบรัฐสภามานาน

6. ความสำเร็จของการปฏิวัติสังคมนิยมในขอบเขตประเทศเดียวเป็นไปไม่ได้ สาเหตุหนึ่งของวิกฤตปัจจุบันของสังคมทุนนิยมคือการที่พลังการผลิตปัจจุบัน ถูกจำกัดภายในขอบเขตของประเทศชาติไม่ได้ การปฏิวัติสังคมนิยมจะเกิดขึ้นในเวทีรัฐชาติแต่จะแผ่ขยายไปสู่เวทีสากลและจะ สำเร็จในเวทีโลก ฉะนั้นความ “ถาวร” ของการปฏิวัติสังคมนิยมมีมิติที่กว้างยิ่งขึ้นคือ สำเร็จได้ต่อเมื่อสังคมใหม่ได้รับชัยชนะทั่วโลก

7. การสรุปการพัฒนาของกระบวนการปฏิวัติโลกดังที่เขียนไว้ข้างต้นนี้ ทำให้เราสามารถยกเลิก “ปัญหา” ของประเทศที่ “สุกงอม” หรือประเทศที่ “ยังไม่พร้อม” ที่จะปฏิวัติสังคมนิยม ตามแนวคิดกลไกของ สตาลิน ระบบทุนนิยมได้สร้างตลาดโลกและได้แบ่งงานและการผลิตในระดับโลก ฉะนั้นระบบทุนนิยมจึงช่วยเตรียมเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกเพื่อการเปลี่ยน แปลงสังคมนิยม

8. ในประเทศต่างๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีอัตราความรวดเร็วที่ต่างกัน ในบางกรณีประเทศที่ล้าหลังอาจเกิดสังคมนิยมก่อนประเทศก้าวหน้า แต่การสร้างสังคมนิยมที่สมบูรณ์จะใช้เวลายาวนานกว่าถ้าเทียบกับประเทศพัฒนา

9. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้าง “สังคมนิยมในประเทศเดียว” ของ สตาลิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปฏิกิริยาที่ต่อต้านประเพณีตุลาคม 1917 เป็นทฤษฎีเดียวที่ขัดแย้งอย่างถึงที่สุดกับทฤษฎีปฏิวัติถาวร การแบ่งงานกันทำในระบบเศรษฐกิจโลก การที่อุตสาหกรรมโซเวียดต้องพึ่งพาเทคโนโลจีต่างชาติ และการที่ระบบการผลิตของประเทศพัฒนาในยุโรปต้องพึ่งทรัพยากรและวัตถุดิบจาก เอเชีย ฯลฯ ทำให้การสร้างระบบสังคมนิยมที่มีเอกราชในประเทศเดียวเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ ได้


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/02/blog-post_5945.html?spref=f

รายการ Wake up Thailand 28 กันยายน 2555

รายการ Wake up Thailand  28 กันยายน 2555 



'อภิสิทธิ์' ทำอะไรก็ผิด?

(คลิกฟัง)

http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand

The Daily Dose ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555



 
(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/the-daily-dose

Divas Cafe ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 
อะไร ? คือ หน้าที่ ของกระทรวงวัฒนธรรม

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/divas-cafe 

ใครจะเป็นอากง 2 ?

ใครจะเป็นอากง 2 ?




อากง ตายไปเกิน 10 วัน ประธาน นปช.ค่อยออกมาแสดงความคิดเห็นแบบขอไปที และรัฐบาลหยุดเดินหน้าเรื่องการเยียวยา พี่น้องถูกจับ 1857 คน (เป็นอย่างน้อย) ยังไม่มีใครได้รับการเยียวยา ในขณะที่สหภาพเมียนม่าร์ เขาปล่อยนักโทษการเมืองเป็นล๊อต ! 

สรุปรายงาน คอป. ไร้หลักสิทธิมนุษยชน

สรุปรายงาน คอป. ไร้หลักสิทธิมนุษยชน


 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=6JW9LTFBbug&feature=youtube_gdata

กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล !ความจริงที่ คอป. ไม่(กล้า)เปิดเผย! ในงานอภิปราย "รัฐประหาร 19 กันยา กับอาชญากรรมโดยรัฐ กรณีสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53" วิทยากรประกอบด้วย
ดำเนินรายการโดย สุดา รังกุพันธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ตึกเอนกประสงค์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555 

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

จิตร ภูมิศักดิ์

จิตร ภูมิศักดิ์


โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข


ถ้า จิตร ภูมิศักดิ์ ยังอยู่ จะมีอายุครบ 82 ปี

มี การจัดงานรำลึกถึงไปเมื่อ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวในงานนี้ว่า จิตรทิ้งมรดกต่างๆ ไว้ให้สังคมไทยมากมาย แต่ด้วยอำนาจของรัฐบาลเผด็จการในยุคต่างๆ ทำให้ชื่อของเขาหายไปจากความรับรู้ของผู้คน 

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

จิตรมีเวลาอยู่บนโลกนี้แค่ 35 ปี (2473-2509) แต่ทำงานราวกับ 100 ปี

จิตรใช้เวลาส่วนหนึ่งเรียนหนังสือที่พระตะบอง, ร.ร.เบญจมบพิตร, ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 

ติดคุก 6 ปี ระหว่าง 2501-2507 โดยไม่มีความผิดใดๆ นอกจากคิดไม่เหมือนรัฐบาลทหารขณะนั้น

พ้นคุกออกมาอยู่ในเมืองไม่เต็มปี ปลายๆ ปี 2508 

เข้าป่าทางอีสาน 

ผลงานต่างๆ ของจิตร สร้างสรรค์ขึ้นระหว่าง เรียน ติดคุก และอยู่ในป่านั่นเอง

เดือน พ.ค.2509 โดนเจ้าหน้าที่ล้อมยิงเสียชีวิตที่ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ผู้เกี่ยวข้องได้บำเหน็จรางวัลมากมาย ได้ไปเที่ยวอเมริกา เลื่อนยศเลื่อนขั้นกันใหญ่ 

สะท้อนถึง "ความกลัว" ของรัฐบาลเผด็จการที่มีต่ออุดมคติ และความคิดความรู้ของจิตร

ความ กลัวนั้นตามหลอน ลากยาวมาถึงระหว่าง 2509 ถึง 2516 อันเป็นช่วงรัฐบาลเผด็จการของ จอมพลถนอม กิตติขจร ทำให้ชื่อของจิตร หนังสือและผลงานของจิตร เป็นสิ่งต้องห้าม 

จนเกิด 14 ตุลาฯ 2516 จึงมีการรื้อฟื้นผลงาน และประวัติของจิตร กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนนักศึกษาและปัญญาชน

จนกระทั่งรัฐประหารนองเลือด 6 ตุลาฯ 2519 หนังสือและเรื่องราวของจิตรโดนขึ้นบัญชีดำอีกครั้ง 

การเมืองค่อยๆ คลี่คลายไป ทำให้มีการกลับมาสนใจเรื่องราวของจิตรอีกครั้ง 

แต่กระนั้นก็ยังเบลอๆ ค่ายเพลงแห่งหนึ่งเคยทำมิวสิกวิดีโอ เพลงจิตร ภูมิศักดิ์ ของหงา คาราวาน ออกมา 

จิตรในมิวสิกวิดีโอกลายเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อาจจะเพราะได้ยินเนื้อเพลงตอนต้นๆ ว่า "...เขาตายในชายป่า"

ถ้า จิตรยังอยู่ และไม่แก่เกินไป ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารอย่างนี้ เขาน่าจะสนุกกับการค้นคว้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้อีกมาก 

แต่นั่นก็เป็นการสมมุติ ในโลกของความจริง "กลุ่มอำนาจ" ไม่ว่ายุคไหน พร้อมใจกันกลัวคนอย่างจิตร 

บีบคั้นจนต้องทิ้งชีวิตในเมืองเข้าป่า แม้ตายยังตามปกปิด ไม่อยากให้คนรู้จัก ไม่พูดถึง ไม่ยกย่อง ไม่เชิดชู 

แม้ว่าผลงานวิชาการ หนังสือ บทกวี เพลง ของจิตร ยังอ้างอิงและตีพิมพ์เผยแพร่อยู่เรื่อยๆ 

นักวิชาการที่มีจุดยืนประชาธิปไตย มักจะต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนั้น อย่างเบาะๆ ก็โดนข่มขู่คุกคาม โดนทำร้าย บุกชกหน้าบ้าง

ต่างจากนักวิชาการอีกแบบ ที่อัดฉีดบำเหน็จรางวัล ตำแหน่ง ลาภยศ เงิน กล่อง ฯลฯ อวยกันไม่ยั้ง 

เพื่อให้ทำตัวเป็น "เฟอร์นิเจอร์" ประดับ "ระบบ" ไปเรื่อยๆ

ดูจากการเมืองวันนี้ คงอีกนาน กว่าสภาพที่ว่านี้จะเปลี่ยนไป 
และหมายถึงตัวชี้วัด สภาพการเมืองของประเทศไทยอีกด้วย
 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348751238&grpid=&catid=02&subcatid=0200

พท.ฝุ่นตลบ ลุ้นเสียบมท.1-รองนายก หลังยงยุทธไขก๊อก ดันโผโยกย้ายผู้ว่าฯ2ต.ค. เสริมศักดิ์ปัดเลื่อยขา

พท.ฝุ่นตลบ ลุ้นเสียบมท.1-รองนายก หลังยงยุทธไขก๊อก ดันโผโยกย้ายผู้ว่าฯ2ต.ค. เสริมศักดิ์ปัดเลื่อยขา


 

ตัดก่อนตาย(หมู่) ? เหตุผลที่ "ยงยุทธ" ต้องทิ้งเก้าอี้รองนายกฯ และมท.1

 










 











"ยงยุทธ"ทำบุญวัดสระเกศฯ ก่อนประกาศลาออกเก้าอี้รองนายกฯ-มท.1 ไม่แจงเหตุผลบอกเรื่องส่วนตัว อ้างปรึกษาผู้ใหญ่แล้ว ย้ำทำหน้าที่ หัวหน้าและ ส.ส.ต่อไป "นพดล"ปัด"แม้ว-ปู"กดดัน พท.หวั่นถูกศาล รธน.สอย "เสริมศักดิ์"ปัดเอี่ยวเบื้องหลัง

"ยงยุทธ"ยัน"ปู"ไม่กดดัน

ภาย หลังมีกระแสข่าวจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ต้องการให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ภายหลังถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดร้ายแรงคดีเรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์ เพราะเกรงว่าอาจขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102

ล่า สุด เมื่อวันที่ 28 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยยังคงปฏิบัติภารกิจตามปกติ ในช่วงเช้าได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วม ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยนายยงยุทธกล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังไม่ได้สั่งการใดๆ ให้ลาออก และได้พูดคุยกับนายกฯเรื่องนี้มาตลอด พร้อมกันนี้ยืนยันว่า "จะยังเห็นหน้ากันอยู่และผมยังทำงาน ขอแถลงข่าวบ่าย 3 ครั้งเดียวที่วัดสระเกศฯ ผมไม่เครียดอะไร และได้คุยกับนายกฯตลอดทุกวัน และวันที่นายกฯกลับ ผมก็จะเดินทางไปรับด้วยตัวเอง ที่ผ่านมานายกฯไม่เคยโทร.มากดดันและไม่เคยโทร.มาสั่งให้ลาออก" นายยงยุทธกล่าว

"ยงยุทธ"ฟังสวดชยันโต

จากนั้นเวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายยงยุทธเดินทางมาที่วัดสระเกศราชวรวิหาร เพื่อเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และสมเด็จพระราชาคณะ ที่มีการประชุมมหาเถรสมาคมอยู่ โดยในระหว่างนั้นมีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมาให้กำลังใจ โดยนายยงยุทธได้ออกมาพบและรับมอบดอกกุหลาบสีแดงด้วยสีหน้าเรียบเฉย ในระหว่างนั้นนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง พร้อมทั้งนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมาให้กำลังใจ

ต่อมานายยงยุทธ และนางอุบล วิชัยดิษฐ ภริยา พร้อมทั้งคณะได้เข้าทำพิธีสวดชยันโต มีสมเด็จพระราชาคณะนับสิบรูป ร่วมสวดมนต์ในครั้งนี้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ประกาศลาออก2เก้าอี้

จากนั้นเวลา 16.00 น. นายยงยุทธได้ออกมาแถลงข่าวด้วยสีหน้าไม่สู้ดี พยายามฝืนยิ้มเล็กน้อย โดยมีสื่อมวลชนรอทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมาก นายยงยุทธกล่าวว่า วันนี้เป็นวันสิริมงคล ที่มีสมเด็จพระราชาคณะนับสิบรูป ร่วมสวดชยันโต ซึ่งตนได้แผ่เมตตาไปยังผู้มีพระคุณ และเจ้ากรรมนายเวร ที่ไม่รู้เป็นเวรเป็นกรรมมาแต่ชาติปางไหนไม่ทราบ และวันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง ที่ตนได้ยื่นหนังสือลาออก โดยเป็นการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ด้วยความเต็มใจและได้ส่งหนังสือลาออกไปยังทำเนียบรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อย แล้ว โดยการลาออกจะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

"สาเหตุที่ลาออก มีเหตุผลนิดเดียวคือว่าความเห็นข้อกฎหมายในส่วนหนึ่งก็บอกว่าผมทำถูก แต่อีกส่วนก็บอกว่าผมทำหน้าที่ไม่ได้ เพื่อป้องกันปัญหาทั้งหมดในฐานะที่ผมมีเหตุผลเป็นส่วนตัวของผมเอง เป็นความจำเป็นของผมเองที่มีความประสงค์ที่จะลาออกจากทั้ง 2 ตำแหน่ง แต่ยืนยันว่าผมยังคงทำหน้าที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออยู่ ทั้งนี้ ในระหว่างนี้จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ผมจะยังคงทำหน้าที่ตามปกติ" นายยงยุทธกล่าว

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348889595&grpid=00&catid=&subcatid=

"กรีซ"ปะทุเดือดครั้งใหม่ ตำรวจปะทะผู้ประท้วงต้าน"รัดเข็มขัด"

"กรีซ"ปะทุเดือดครั้งใหม่ ตำรวจปะทะผู้ประท้วงต้าน"รัดเข็มขัด"


 
ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ประท้วง ที่ปาระเบิดทำมือเข้าใส่ หลังเกิดเหตุชุมนุมครั้งใหม่ใกล้กับรัฐสภาในกรุงเอเธนส์ เพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล


ชาวกรีซผละงานทั่วประเทศในวันนี้ ตามการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่ที่จะบังคับใช้ในเดือนหน้า เพื่อลดการใช้จ่ายลงราว 1.15 ล้านยูโร ตามเงื่อนไขการรับความช่วยเหลืองวดใหม่

คาดว่าการผละงานจะกระทบเที่ยวบิน เรือโดยสารข้ามฟาก บริการเดินรถไฟ และบริการของภาครัฐ นอกจากนี้ สหภาพแรงงานยังเรียกร้องให้ผู้ประกอบการค้าปิดทำการด้วยในวันนี้ นับเป็นการผละงานทั่วประเทศครั้งที่ 3 แล้วในปีนี้ แต่จะเป็นบททดสอบแรกของรัฐบาลผสมชุดใหม่ที่เพิ่งรับงานเมื่อเดือนมิถุนายน และต้องประคองประเทศให้อยู่ในยูโรโซนต่อไป

รัฐบาลผสม 3 พรรค นำโดยนายกรัฐมนตรีอันโตนิส ซามาราส กำลังเร่งสรุปมาตรการลดค่าใช้จ่ายอีก 11,500 ล้านยูโร (ราว 460,000 ล้านบาท) และหารายได้เพิ่มจากภาษีอีก 2,000 ล้านยูโร (ราว 80,000 ล้านบาท) ภายใต้มาตรการรัดเข็มขัดที่จะเสนอต่อรัฐสภาในต้นเดือนตุลาคม ซึ่งจะกระทบข้าราชการหลายพันคนที่เดือดร้อนอยู่แล้วจากการถูกลดเงินเดือนสูง สุดถึงร้อยละ 40 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะถูกขยายอายุเกษียณอีก จาก 65 ปี เป็น 67 ปี

รัฐบาลกรีซต้องออกมาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่แลกกับความช่วยเหลืองวดใหม่ 31,500 ล้านยูโร (ราว 1.26 ล้านล้านบาท) จากสหภาพยุโรป (อียู) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เพื่อนำไปจ่ายเงินเดือน เงินบำนาญ เพิ่มทุนให้ธนาคารที่ถูกรัฐปรับโครงสร้างหนี้ และจ่ายหนี้ค้างชำระผู้รับเหมาเอกชน

นอกเหนือจากกรีซ การประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดยังปะทุขึ้นที่สเปนและโปรตุเกส โดยที่สเปน ตำรวจยิงกระสุนยางเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่พยายามบุกไปยังรัฐสภา ทำให้มีผู้ถูกจับกุมราว 38 คน และบาดเจ็บ 64 ราย เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนที่รัฐบาลสเปนจะประกาศมาตรการรัดเข็มขัดครั้งใหม่ใน วันพรุ่งนี้

ส่วนที่โปรตุเกส คณะรัฐมนตรีได้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ หลังจากเกิดการชุมนุมครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกแผนการขึ้นภาษี
  

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348663329&grpid&catid=06&subcatid=0600

บทเรียนทักษิณ ชินวัตรกับปรีดี พนมยงค์

บทเรียนทักษิณ ชินวัตรกับปรีดี พนมยงค์

 
โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓๗๙ ประจำวันเสาร์ ที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๕

กรณี ของปัญหาเริ่มจากการที่ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้กล่าวในวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ว่า เขาได้เขียนบันทึกส่วนตัวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ถ้าอยากเป็นรัฐบุรุษ ต้องรู้จักคำว่าเสียสละ แม้ว่าจะไม่กลับประเทศ ก็สามารถเป็นรัฐบุรุษได้เช่นกัน เหมือนนายปรีดี พนมยงค์ ที่ทำงานเพื่อประเทศโดยที่ไม่เคยกลับประเทศ เพียงเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบ

ข้อเสนอของนายคณิต ได้รับการวิจารณ์ทันทีว่า เป็นข้อเสนอที่มาจากความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด และยังไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของสังคมไทย ส่วนหนึ่ง ก็มาจากทัศนะของนายคณิตเอง ที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่นี่เป็นทัศนะแบบด้านเดียว เพราะปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย และกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกด้านหนึ่งเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น ในรายงานของ คอป.เอง ก็ระบุว่า สังคมไทยมีปัญหารากฐานในทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมาก เช่น ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ ปัญหาความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ฯลฯ กรณีเหล่านี้ คงแก้ไม่ได้ด้วยการเสียสละของ พ.ต.ท.ทักษิณ

แต่ที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์นั้น นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางออกจากประเทศ เพราะถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ในครั้งนั้น กำลังของฝ่ายรัฐประหารได้ใช้รถถังบุกทำเนียบท่าช้างอันเป็นที่พำนักของนาย ปรีดี ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยออกจากประเทศ หลังจากนั้น นายปรีดีก็ได้พยายามที่จะกลับประเทศหลายครั้ง ครั้งสำคัญ ก็คือ ได้เดินทางกลับมาเพื่อที่จะยึดอำนาจคืนในกรณี "ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒" แต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามอย่างหนัก ซึ่งกรณีนี้จะรู้จักกันนามว่า "กบฏวังหลวง" นายปรีดีต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านแถวฝั่งธนฯ ๖ เดือน แล้วจึงหลบหนีออกไปได้ แล้วจึงไม่ได้กลับมาเมืองไทยได้อีกเลย

ประเด็นสำคัญต่อมา ก็คือ นายปรีดีถูกฝ่ายอนุรักษ์นิยมสร้างคดีใส่ร้ายป้ายสีว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๘ และใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ในการตัดสินประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ๓ คน คือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายเฉลียว ปทุมรส เพื่อเป็นการข่มขู่ไม่ให้นายปรีดีกลับประเทศ

ความจริงแล้วเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์ ก็มีบทเรียนอันอุดม จากการที่นายปรีดีนั้นมีพื้นฐานเป็นลูกชาวนา แต่อาศัยความสามารถทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสจนได้ไปศึกษาต่าง ประเทศ และกลายเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สำเร็จถึงขั้นปริญญาเอกวิชากฎหมายจากประเทศ ฝรั่งเศส แต่นายปรีดีมิได้มุ่งที่จะนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจชน ชั้นนำสถาบันหลัก และทำร้ายประชาชนเหมือนนักกฎหมายจำนวนมากในยุคปัจจุบัน หากแต่ต้องการที่จะใช้กฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม และในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย นายปรีดีก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร ซึ่งกลายเป็นสมาคมที่มีบทบาทนำในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรคปฏิวัติสังคมนิยม ปลาเล็กๆ ในแม่น้ำใหญ่

พรรคปฏิวัติสังคมนิยม ปลาเล็กๆ ในแม่น้ำใหญ่


  
 
พรรคหรือองค์กรปฏิวัติ ที่เป็นปลาตัวเล็กๆ ที่พยายามว่ายไปกับมวลชนกระแสใหญ่ท่ามกลางการต่อสู้ในสมัยนี้ มีหลายตัวอย่าง และประสบการณ์ก็หลากหลาย บางครั้งได้ผล บางครั้งล้มเหลว แต่ในทุกกรณีมีการสร้างองค์กรของตนเองพร้อมๆ กับการทำงานแนวร่วม และสิ่งที่ชัดเจนคือ ในเรื่องแนวร่วมไม่มีอะไรคงที่ถาวร

โดย ลั่นทมขาว 

พรรคปฏิวัติสังคมนิยมเหมือนปลาตัวเล็กที่ว่ายน้ำในแม่น้ำใหญ่ และปัญหาหลักที่พรรคต้องจัดการเสมอคือ จะรักษาจุดยืนและขยายสมาชิกองค์กรอย่างไร พร้อมๆ กันนั้นต้องทำงานแนวร่วมและขยายสมาชิกแนวร่วมในลักษณะที่ประนีประนอมกับ เสียงส่วนใหญ่อีกด้วย ทั้งสองแนวที่ขัดแย้งกันนี้มีความสำคัญเท่ากัน ไม่ใช่ว่าอันหนึ่งเป็นเรื่องหลักอีกอันเป็นเรื่องรอง
   
คำว่า “พรรคปฏิวัติสังคมนิยม” เป็นศัพท์เฉพาะ และเลนินเป็นผู้เชี่ยวชาญสำคัญในการสร้างพรรคและการปรับการปฏิบัติการของ พรรคตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน บางครั้งปลาตัวเล็กของพรรคว่ายน้ำตามกระแสน้ำเชี่ยวขนาดใหญ่ บางครั้งต้องทวนกระแส บางครั้งกระแสน้ำเลิกไหล นิ่งและแห้งลง แต่ในทุกสถานการณ์พรรคต้องเป็นจุดรวมศูนย์ของคนก้าวหน้าที่เข้าใจทฤษฏีมาร์ คซิสต์จากบทเรียนทั่วโลกในอดีตและปัจจุบัน เพื่อนำมาปฏิบัติ ดังนั้นสมาชิกพรรคต้องเป็น “ศิลปินในการปฏิวัติ”

คำว่า “พรรคปฏิวัติสังคมนิยม” ไม่ได้แปลว่าต้องจดทะเบียนและลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม ทุกครั้ง บางครั้งอาจทำแบบนั้น แต่ส่วนใหญ่เน้นการสร้างองค์กรด้วยการศึกษาและการปฏิบัติ ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อประสานงานการทำงาน บางครั้งพรรคอาจไม่เรียกตัวเองว่าพรรคด้วยซ้ำ เพราะถ้าเล็กเกินไปการเรียกตัวเองว่าพรรคจะกลายเป็นเรื่องตลก ชาวบ้านจะมองว่าอวดเกินเหตุแต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อตัวเองว่าอะไรก็ต้องปฏิบัติ การเหมือนพรรคปฏิวัติสังคมนิยม

พรรคปฏิวัติสังคมนิยมตามแนว มาร์คซิสต์ ตามแนวเลนินและตรอดสกี้ ต้องเน้นหลักการว่า “สังคมนิยมมาจากการสร้างด้วยมือของมวลชนผู้ทำงานเท่านั้น” ซึ่งแปลว่าการจับอาวุธลุกขึ้นสู้ของคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่มวลชนย่อมกระทำไม่ ได้ นั้นคือข้อแตกต่างที่เรามีกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือพรรค สตาลิน-เหมาอื่นๆ และมันแปลว่าการไว้วางใจให้ “คนอื่น” มาปลดแอกเราจะไม่นำไปสู่สังคมนิยม ไม่ว่าพวกนั้นจะเป็น สส. หรือกองทัพแดง ด้วยเหตุนี้เรามองว่าสังคมนิยมต้องสร้างจากรากหญ้า ไม่ใช่บนลงล่าง หรือแบบ “ท่านให้” 

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/09/blog-post_27.html

Divas Cafe ประจำวันที่ 27 กันยายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 27 กันยายน 2555


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

ต้นตอวิกฤตการเมืองไทย ในทรรศนะ ไชยันต์ ไชยพร กับ ยุกติ มุกดาวิจิตร


(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/divas-cafe/51664.html

ความเป็นธรรมที่กรรมการซีไรต์ยังคงไม่ได้ยิน (เหมือนเดิม)

ประวัติศาสตร์ของความเงียบ, การเพรียกหาความเป็นธรรมที่กรรมการซีไรต์ยังคงไม่ได้ยิน (เหมือนเดิม)

 

โดย วาด รวี



ในบรรดานิยายที่ประกวดรางวัลซีไรต์ในปี 2555 เกือบทั้งหมด ประวัติศาสตร์ของความเงียบ น่าจะเป็นเพียงเล่มเดียวที่เป็นเสมือนกระทู้คำถามเรียกร้องความเป็นธรรมให้ กับคนเสื้อแดงในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 โดยที่ไม่มีคำว่าคนเสื้อแดงแม้แต่คำเดียวปรากฏอยู่ในเล่ม

ด้วยการสร้างสภาวะของ “ความเงียบ” ให้ส่งเสียงดังกังวานกึกก้อง สมดังชื่อเรื่อง และสะท้อนภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ทางการเมืองได้อย่างยอดเยี่ยม หมดจด เหนือชั้น ด้วยกลวิธีการประพันธ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในนิยายไทย วรรณกรรมเล่มนี้ทำให้สภาวะที่กล่าวกันว่า “เงียบจนแสบแก้วหู” ปรากฏขึ้นเป็นตัวตนจับต้องได้ในรูปของวรรณกรรมที่ตอบโต้กับผู้อ่านอย่างน่า ทึ่ง

ผู้เขียนได้ย่อจักรวาลของเหตุการณ์ปรอทแตกระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 มาอยู่ในวันเวลา 7 วันของ อภิต นักแต่งเพลงหนุ่มผู้เดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อตามหา โกเมศ อิศรา กวี – นักเขียน ซึ่งเคยมีผลงานระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 – 6 ตุลา 19 ผู้อบอวลไปด้วยปริศนาว่ามีตัวตนจริงหรือไม่

อติภพ ภัทรเดชไพศาลท้าทายคนอ่านด้วยกลวิธีการประพันธ์ที่ซุกซ่อนเนื้อสารอันแท้ จริงที่ต้องการจะสื่อไว้ใน “ความหมายชั้นที่สอง” ซึ่งดำเนินขนานไปกับเรื่องในชั้นแรกที่อยู่บนผิวเปลือก นี่คือการใช้ศิลปะการประพันธ์ในการสื่อสะท้อนภาพ “วรรณกรรมกระซิบ” จำนวนมากบนอินเตอร์เน็ตในท่ามกลางความโกลาหลของการเมืองบนท้องถนน อติภพไม่เพียงแต่ “เลียน” และ “ล้อ” วรรณกรรมกระซิบที่เกิดขึ้นบนสถานการณ์จริงได้อย่างแหลมคม เขายังหลอมมันเข้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นและแปรรูปออกมาเป็นท่วงทำนอง วรรณกรรมที่มีรสชาติหลอนประหลาดได้อย่างน่าสนใจ แสดงให้เห็นสภาวะของความกลัวและความเงียบที่อัดแน่นจนถึงจุดระเบิด... และต่อมาก็ถูกกลบเกลื่อนเสมือนไม่เคยดำรงอยู่

นี่คือวรรณกรรมที่สำแดงอนุภาพแห่งวรรณกรรม ซึ่งไม่เพียงสามารถบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หากยังดูดดึงผู้อ่านลงไปเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้น ผนึกกาลเวลาของผู้อ่านกับกาลเวลาของนิยายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

ประวัติศาสตร์ของความเงียบ ได้ก้าวข้ามความเป็น “เรื่องเล่า” ที่นักเขียนนิยายไทยยังคงวนเวียนกันอยู่อย่างหาทางไปไม่ได้ ทิ้งเรื่องเล่าให้เป็นนิยายยุคเก่า และสร้างปรากฏการณ์ของการอ่านใหม่ พาคนอ่านก้าวเดินมาสู่ไวยกรณ์ทางวรรณกรรมซึ่งพ้นไปจากความเป็นเรื่องเล่า แต่เป็นสื่อภาษาที่จะพาคนอ่านเข้าไปอยู่ในมิติของอารมณ์ เหตุการณ์ บรรยากาศ ได้อย่างที่นิยายอื่นไม่สามารถกระทำ

อติภพ ภัทรเดชไพศาล ได้สร้างนิยายเรื่องนี้ให้เป็นดังกระทู้ถามเหล่าผู้มาก่อนซึ่งเคยอวดวีรกรรม ตุลาคมของตนให้คนรุ่นหลังฟัง วันนี้โกเมศ อิศรายังมีตัวตนสำหรับพวกเขาหรือไม่?  หรือเขาไม่รู้จักโกเมศ ไม่ใช่เพราะโกเมศไม่มีตัวตนอยู่จริง แต่จิตวิญญาณของผู้รักความเป็นธรรมได้เหือดหายกลายไปจากพวกเขาเนิ่นนานแล้ว และเหลือเพียงแต่ภาพลวงตาอันจอมปลอม

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่คณะกรรมการรางวัลซีไรต์มองไม่เห็น และไม่ได้ยิน  ประวัติศาสตร์ของความเงียบจึงไม่ถูกนับ เช่นเดียวกับโกเมศ อิศราที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง

นี่เป็นนิยายที่เย้ยหยันเสียดแทงไปที่ใจดำของสังคมไทย และคงมีเพียงผู้ได้ยินเสียงของความเงียบเท่านั้นจึงจะอ่านวรรณกรรมเล่มนี้เข้าใจ

(กรุณาอ่านบทความฉบับเต็มที่ วารสารหนังสือใต้ดิน 16: อภินิหารวรรณกรรมไท

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42846