หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ไตรลักษณ์ของวาทกรรมปฏิกิริยา′ (1)

ไตรลักษณ์ของวาทกรรมปฏิกิริยา′ (1)


 
โดยเกษียร เตชะพีระ

 
เท่าที่ผมจำความได้ในฐานะคนเกิดกึ่งพุทธกาล ไม่เคยมีการจัดงานรำลึกวันเปลี่ยนแปลง การปกครอง 24 มิถุนายน (ซึ่งเคยเป็นวันชาติของทางราชการตั้งแต่ 18 ก.ค.2481จนมายก เลิกไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 21 พ.ค.2503 ) อย่างไม่เป็นทางการโดยภาคประชาชนกันเองปีไหนกว้างขวางใหญ่โตคึกคักครึกโครม เท่าวาระครบรอบ 80 ปีในปีนี้เลย!

บรรยากาศเข้มข้นทางการเมืองในหลาย ปีหลังนี้คงมีส่วนช่วยพอควร แต่ปัจจัยสำคัญที่สุด คือการที่เครือข่ายขบวนการคนเสื้อแดง/นปช.เลือก "นับญาติ" ทางอุดมการณ์และเป้าหมาย การเมืองกับการอภิวัฒน์ 2475

หลังจากก่อ หวอดสะสมฐานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและบ่มเพาะความสุกงอมทางวัฒนธรรมการ เมืองอยู่ในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทมานานปี กลุ่มชนผู้กลายมาเป็นคนเสื้อแดงก็ปรากฏตัว บนเวทีการเมืองมวลชนอย่างค่อนข้างกะทันหันโดยเฉพาะหลังรัฐประหาร คปค.พ.ศ.2549 และเติบใหญ่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายจนกลายเป็นเครือข่ายการ เคลื่อนไหวของประชาชนระดับชาติที่กว้างขวาง ยืดหยุ่น เหนียวแน่น ทนทายาด ชนิดที่แม้จะถูกกองกำลังความมั่นคงของรัฐปราบปรามอย่างหนักในปี 2552-2553- แต่ก็สามารถพลิกฟื้นกลับมาเป็นพลัง ฐานเสียงผลักดันให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เพียงแค่หนึ่งปีให้หลัง

ชั่ว แต่ว่าที่ผ่านมาเครือข่ายขบวนการคนเสื้อแดง/นปช.มีสถานะเสมือนหนึ่ง "ลูกกำพร้า" ทางอุดมการณ์และการเมืองในประวัติศาสตร์ไทย คือเชื่อมต่อไม่ค่อยติดกับขบวนการต่อสู้ใหญ่ๆ ในอดีต ไม่ว่าขบวนการ 14 ตุลาคม 2516, ขบวนการพฤษภาประชาธิปไตย 2535, หรือขบวนการปฏิวัติของ พคท. พูดให้ลงตัวชัดเจนยากว่าตกลงคนเสื้อแดงสืบทอดอุดมการณ์และภารกิจทางการเมือง ของขบวนการต่อสู้ใดในอดีตของไทย พวกเขามีที่มาที่ไป ที่อยู่ที่ยืนสืบทอดต่อเนื่องตรง ไหนอย่างไรในกระแสธารประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนไทย ในอันที่จะทำให้พวกเขาปักป้าย ยึดครองพื้นที่และประกาศฐานที่มั่นอันชอบธรรมของตนได้ในจินตนากรรม "ชาติไทย"/"ความเป็นไทย" ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และความทรงจำ 
 

ศาสตราจารย์ Albert O. Hirschman ผู้เขียน The Rhetoric of Reaction: Perversity, Futility, Jeopardy (1991)


จน กระทั่งความคลี่คลายขยายตัวของสถานการณ์ความขัดแย้ง การตีความประเด็นข้อเรียกร้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงระเบียบโครงสร้างการบริหาร บ้านเมือง และการจำแนกฝั่งแยกแยะฝ่ายทางการเมืองในสังคมไทยเริ่มตกผลึกชัดเจนขึ้นหลัง เหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต 2554 ผ่านการรณรงค์เคลื่อนไหวของปัญญาชนนักวิชาการกลุ่มฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 2549 เรียกร้องความยุติธรรมแก่ผู้ชุมนุมที่บาดเจ็บล้มตาย และข้อเสนอให้ปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 ฯลฯ คนเสื้อแดงจึงพบความหมายนัยแห่งอุดมการณ์ และภารกิจการต่อสู้ของตนและเลือกตีความแบบ "นับญาติ" กับการอภิวัฒน์ 2475

ดัง ที่พวกเขาจัดชุมนุมเดินขบวน "80 ปี ไม่มีประชาธิปไตย" ในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ อย่างครึกโครมใหญ่โตหลายหมื่นคนเมื่อ 24 มิถุนายน ศกนี้ที่ผ่านมา ("เสื้อแดงแห่ร่วม 80 ปี ไม่มีประชาธิปไตย", http://shows.voicetv.co.th/voice-news/42659.html และ"ใบตองแห้งออนแอร์: 24 มิ.ย. วันของเสื้อแดง" http://news.voicetv.co.th/thailand/42660.html ) 
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346394482&grpid=&catid=12&subcatid=1200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น