หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กลิ่นรัฐประหาร"ล้มรัฐบาล"วิกฤตการเมืองเดือนพฤศจิกา แผน 3 ขาตั้งรับ"ม็อบ เสธ.อ้าย"

 

 

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจต้องแบกภาระทางการเมืองหนักอึ้ง

นอก จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ลั่นกลองศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและ 3 รัฐมนตรี ในวันที่ 25-27 พ.ย. รัฐบาลยังคงต้องกางแผนรับมือเวทีชุมนุมของ "พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์" หรือ "เสธ.อ้าย" ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้

เป็นการชุมนุมต่อเนื่องจากวันที่ 28 ต.ค. ครั้งนี้เลือกใช้ "ลานพระบรมรูปทรงม้า" นัดหมายระดมประชาชน 1 ล้านคน ผ่านเครือข่ายภาคีขององค์การพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย เพื่อปราศรัย-อภิปรายนอกสภา ภายใต้หัวข้อ "วันพิพากษารัฐบาล"


แนว ร่วม-รบหลักของ "เสธ.อ้าย" อาจหนีไม่พ้นมวลชนขาประจำจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ได้รับสัญญาณจาก "พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" ที่ไฟเขียวให้เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้

ครั้งนี้ "เสธ.อ้าย" ตั้งเป้าเรียกร้องให้รัฐบาล "ยุติบทบาท" และ "แช่แข็งประเทศ 5 ปี" ก่อนปล่อยพื้นที่ให้การเมืองประชาชนเข้ามาแก้ปัญหาประเทศอย่างเป็นระบบ

หลัง จากหน่วยงานความมั่นคงประเมินปริมาณ "ม็อบ เสธ.อ้าย" ผิดพลาดในครั้งแรก ครั้งนี้จึงถูกกำชับเรื่องความแม่นยำเป็นพิเศษ และทั้งองคาพยพของ "ยิ่งลักษณ์" จึงกำกับเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบทั้งฝ่ายพรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และรัฐบาล

โดยฟากรัฐบาลเป็นหน้าที่ของ "ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รับหน้าที่เช็กกำลังพล-ตรวจสอบท่อน้ำเลี้ยง โดยเฉพาะข่าวลือเรื่องมีกลุ่มทุนใหญ่คอยสนับสนุนม็อบครั้งนี้

"ร.ต.อ .เฉลิม" เปิดเผยเพียงว่า มีทั้งกลุ่มทุนขนาดเล็กและใหญ่ มีรูปแบบเหมือนเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. 49 ซึ่งขณะนี้ตนและฝ่ายความมั่นคงกำลังตรวจสอบและเพื่อให้แผนรับมือ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ยังเตรียมทำหนังสือเชิญองค์กรอิสระให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ขณะที่รัฐบาลดูแล การชุมนุม เพื่อป้องกันข้อกล่าวหา "ใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ"


โดย องค์กรที่มีชื่อติดอยู่ในโผ ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด กรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ด้าน พรรคเพื่อไทยเร่งเครื่องภายใต้กลยุทธ์ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค เลือกใช้โฆษกพรรคจี้แถลงข่าวปลุกแนวต้าน-ฝังความคิด "เปิดไฟหน้ารถ" ต้านจุดดำมืดประชาธิปไตย เป็นกลยุทธ์เหมือนยุคระดมพลผลักดันร่างรัฐธรรมนูญปี 2540

ขณะที่ "คนเสื้อแดง" ฐานที่มั่นด้านมวลชนฝั่งรัฐบาล ถูกกำกับ-ตีกรอบให้เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง เพราะทุกฝ่ายประเมินตรงกันว่า หากปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ "ม็อบชนม็อบ" ผู้ที่จะตกเป็นจำเลยจะไม่พ้น "ยิ่งลักษณ์และคณะ"

แกนนำระดับขุนพลไพร่อย่าง "จตุพร พรหมพันธุ์" ประเมินเหตุล่วงหน้าว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผนล้มรัฐบาลที่คาดว่าทุกเหตุการณ์จะสาหัสกว่า สมัยที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" เคยเผชิญในช่วงปี 2549

"เขาต้องคิด เผื่อมาเยอะกว่าเก่า สมัยคุณทักษิณยังไม่มีมวลชนมันจัดการง่าย แต่ตอนนี้เขารู้ว่าต้องเจอคนกับเสื้อแดง ที่มวลชนมีพัฒนาการของตนเอง ไม่ได้ยึดติดแกนนำ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามประเมินกันมาแล้วว่าจะต้องดำเนินการให้เด็ดขาด"

"ครั้ง นี้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ปล่อยให้ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภา ริมถนนก็สร้างสถานการณ์ให้ป่วนที่สุด พยายามยั่วยุให้เผชิญหน้าคนเสื้อแดง เพื่อสร้างเงื่อนไขพิเศษในการรัฐประหาร"

"จตุ พร" บอกว่า กลิ่นรัฐประหาร-แผนล้มรัฐบาลอาจรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนก่อน เพราะไม่เป็นผลดีนักหากทหารและกองทัพจะออกมายืนแถวหน้าเป็นหัวขบวนอีกครั้ง ดังนั้นกลไกที่จะดำเนินการได้เด็ดขาดและแยบยลที่สุดคือ "องค์กรอิสระ"

"มี ความเป็นไปได้ที่จะให้องค์กรอิสระเป็นคนเปิดเกมครั้งนี้ เพราะเราเอาแน่นอนกับคดีความไม่ได้ ลองคิดดูขนาดคดีของคุณยงยุทธ (วิชัยดิษฐ) มันผ่านไปตั้ง 10 กว่าปีแล้ว ยังถูกดึงขึ้นมาใช้ในเวลานี้"

ขณะ ที่ "ม็อบ เสธ.อ้าย" ถูกระดมพลรอเวลาอย่างต่อเนื่อง ด้าน "คนเสื้อแดง" ที่เพิ่งกรำศึกมาตลอด 6 ปี ยังคงเหนื่อยอ่อน ซึ่ง "จตุพร" เตือนสติรัฐบาล-พรรคเพื่อไทยว่า อย่าประมาทและหลงระเริงกับเรื่องเล่าแห่งความสุข

"ผมมั่นใจว่าม็อบหนนี้มันไม่ธรรมดา ผมยังไม่รู้เลยว่าช่วงต้นเดือนธันวาคม พวกเราจะเอาตัวรอดกันอย่างไร"

"ครั้ง นี้ฝ่ายตรงข้ามน่ากลัวมาก และมันอาจถึงคราวล่มสลายอีกครั้ง แต่หากผ่านมันไปได้ ทีนี้พรรคเพื่อไทย รัฐบาล คนเสื้อแดง และคุณทักษิณ อาจจะได้รับรู้ประสบการณ์แบบเดียวกัน ไม่หลงกับเรื่องเล่าแห่งความสุขอีกต่อไป"



ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352952885&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น