หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผู้ประท้วงชาวอิหร่านหันซ้ายหันขวา เจอแต่ศัตรูกับปัญหา

ผู้ประท้วงชาวอิหร่านหันซ้ายหันขวา เจอแต่ศัตรูกับปัญหา

 

 

การออกมาประท้วงของชาวอิหร่าน เมื่อตอนต้นเดือนตุลานี้ เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน ถึงความไม่พอใจของชาวอิหร่าน แม้เวลาจะผ่านมา ๓ ปีแล้ว นับจากการลุกขึ้นประท้วงของประชาชนหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประชาธิปไตย

แปลโดย  ครรชิต พัฒนโภคะ 
ที่มา http://socialistworker.co.uk/art.php?id=29736


ปัญหาวิกฤตเงินเฟ้อในอิหร่าน เติมเชื้อไฟให้กับการประท้วง
 
นีมา สุลต่านซาเดซ (NimaSoltanzadeh) กล่าวโทษทั้งทางรัฐบาลอิหร่าน และการแทรกแซงจากชาติตะวันตก ประชาชนหลายพัน ถูกตำรวจปราบจลาจล เข้าสลายการชุมนุม เมื่อวันพุธต้นเดือนตุลาที่ผ่านมา หลังจากที่พวกเขาตะโกนคำขวัญในการประท้วง คัดค้านรัฐบาล รอบๆ ตลาดเก่าในกรุงเตหะราน

การประท้วงครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจาก การที่ร้านค้าต่างๆ ได้พากันปิดตัวลง จากผลกระทบมูลค่าสกุลเงินของอิหร่าน เพราะภายในเวลาเพียงสองวัน ค่าของเงินรีลได้ตกลงถึงหนึ่งในสี่ ขณะที่เมื่อปี 2009 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง เงินอิหร่านรีล กับหนึ่งดอลล่าร์ เท่ากับ 9,000 แต่เมื่อปลายเดือนกันยา ค่าเงินรีลอ่อนค่าลงอีกถึง 35,000 ต่อดอลล่าร์


จากเหตุนี้ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวสูงขึ้น ประชาชนคนธรรมดาในอิหร่านที่ตามปกติก็หางานทำไม่ค่อยมีหรือได้ค่าแรงต่ำอยู่ แล้ว ยังต้องมาพบกับปัญหาเศรษฐกิจซ้ำเติมอีก เช่น ราคาเนื้อไก่ขยับเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว ในช่วงครี่งปีแรกของปีนี้


ขณะที่นโยบายของรัฐบาลอิหร่านสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง การแทรกแซงโดยรัฐบาลชาติตะวันตก เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประชาชนธรรมดาๆ ต้องตกอยู่ในสภาพเหมือนถูกบีบ ระหว่างสองปัญหาใหญ่ นั่นคือชาติตะวันตกปิดกั้นการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีผลทำให้กองทุนดอลล่าร์สำรองของรัฐลดลง ส่งผลให้การนำเข้าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นลดลงตามไปด้วย


การออกมาประท้วงของชาวอิหร่าน เมื่อตอนต้นเดือนตุลานี้ เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน ถึงความไม่พอใจของชาวอิหร่าน แม้เวลาจะผ่านมา ๓ ปีแล้ว นับจากการลุกขึ้นประท้วงของประชาชนหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประชาธิปไตย ขณะที่การเคลื่อนไหวถูกปราบปราม ยับยั้ง แต่ความโกรธของประชาชนก็ยังคงดำรงอยู่ การประท้วงประปรายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำนวนครั้งในการประท้วงนัดหยุดงานก็ขยับเพิ่มสูงขึ้น


อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตก และความเสี่ยงต่อภัยสงคราม กำลังทำร้ายความเป็นอยู่ของชาวอิหร่าน และสร้างอุปสรรคให้กับการลุกขึ้นประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อเรียกร้อง ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม  เรื่องนี้ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ดูได้จากการที่นักการเมือง อเมริกา ยุโรปและอิสราเอล พยายามเบี่ยงเบนประเด็นข้อเท็จจริงในการประท้วงที่เตหะราน ให้กลายเป็นแผนอาณานิคมของพวกเขา


รัฐมนตรีฝ่ายขวาจัดของอิสราเอล อวิดอร์ ไลเบอมาน (Avigdor Lieberman) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เขาบอกว่า
“การลุกขึ้นมาของคนอิหร่าน” เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” นั่นเอง ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน ก็อ้างว่าการแทรกแซงของชาติตะวันตกนั้น ในที่สุดได้ปลุกกระแสการเรียกร้องเสรีภาพให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง

เมื่อหกปีที่แล้ว เมื่อมหาอำนาจตะวันตกประกาศว่าการแทรกแซงอิหร่านนั้น จะพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลเท่านั้น และจะไม่ให้มีผลกระทบกับประชาชน  แต่ตอนนี้พวกเขายอมรับว่า รัฐบาลตะวันตกกำลังหาประโยชน์จากความทุกข์ยากของประชาชนคนธรรมดา เพื่อผลประโยชน์ที่จะมีมาจากการเปลี่ยนแปลงระบอบ และในความเป็นจริงการแทรกแซงใดๆ ก็ตามของตะวันตก มันก็มักจะทำให้การควบคุมประชาชนจากพวกชนชั้นปกครองอิหร่านยิ่งมากขึ้นด้วย



ภายหลังการประท้วง อยาโตเลาะห์ โคไมนี่ (Ayatollah Khamenei) ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ประกาศว่า “อิหร่านจะไม่ยกเลิกโครงการ นิวเคลียร์”

 การเลือกตั้งประธานาธิบดีกำลังใกล้เข้ามา โดยมีกำหนดในเดือนกรกฎาคมปีหน้านี้ พวกชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ พยายามจะหาวิธีขโมย ประเด็นการประท้วงจากความไม่พอใจของประชาชนให้เกิดเป็นผลประโยชน์ต่อพวกเขา นักการเมืองอนุรักษ์นิยมเศรษฐีพันล้านอย่าง ฮะบีบนเลาะห์ อัคราวลาดี (Habibollah Asgarowladi) ออกมาพูดปกป้องความจำเป็นต้องปิดร้านค้าของพวกพ่อค้าในตลาดเมื่อต้นเดือน ตุลาเช่นกัน การเกาะเกี่ยวกันของพ่อค้าตลาดเหล่านั้นกับชนชั้นปกครอง และแนวการเมืองที่สนับสนุนกลไกตลาดของพวกเขา มันหมายความว่าพ่อค้าในตลาดไม่อาจจะมาเป็นพันธมิตรกับคนงานกรรมกรได้


นักกิจกรรมเคลื่อนไหวด้านแรงงานเอง ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรขึ้นอย่างเปิดเผยในอิหร่าน แต่เมื่อเดือนมิถุนายน พวกเขาได้ยื่นข้อเรียกร้องคัดค้านการขึ้นค่าครองชีพ ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำไม่พอใช้จ่าย ต่อรัฐมนตรีที่รับผิดชอบสวัสดิการแรงงานและกิจการสังคม ซึ่งมีคนร่วมลงชื่อถึงหนึ่งหมื่นคน และยังได้รายชื่อเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหมื่นในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
 

การประท้วงแบบนี้มีโอกาสที่เติบโตเป็นการเคลื่อนไหวของมวลชนขนาดใหญ่ที่มี ฐานมาจากคนระดับล่างได้ การออกมาประท้วงในละแวกตลาดเก่าครั้งนี้ อาจจะมีคนใส่ใจในข่าวเพียงไม่กี่พันคนจากประชากร ๑๒ ล้านของเตหะราน แต่พวกคนงานหลายล้านต่างก็รับรู้ และร่วมแบ่งปันความไม่พอใจในเรื่องนี้ด้วย
 

การเคลื่อนไหวประท้วงที่จะเข้าถึงจิตใจของชนชั้นผู้ใช้แรงงานในอิหร่าน ได้ดี จำเป็นต้องพุ่งเป้าไปที่ รัฐบาลชาติตะวันตก พร้อมๆ กับชนชั้นปกครองของอิหร่านเองด้วย

(ที่มา)  
http://turnleftthai.blogspot.dk/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น