‘สันติอโศก’ ณ ตำแหน่งศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ บนเส้นทางศาสนากับ ปชต.
"สันติอโศกควรยุติการอ้างสันติวิธีเพื่อสนับสนุนการใช้สถาบัน กษัตริย์มาต่อสู้ทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อยุติความเสียหายอันอาจเกิดแก่สถาบันมากไปกว่านี้ และเพื่อปลดล็อกความรุนแรงอันอาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เช่นนั้นสันติวิธีแบบสันติอโศกจะก่อ “บาปอย่างมหัน” ต่อประชาธิปไตย และสังคมไทยไม่น้อยไปกว่า หรืออาจยิ่งกว่าที่กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ และกลุ่มนวพลเคยทำมา"
โดย อ.สุรพศ ทวีศักดิ์
โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับการที่สันติอโศกประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของมหาเถรสมาคม เพราะ (1) ระบบสมณศักดิ์ของมหาเถรสมาคมเป็นระบบฐานันดรศักดิ์ที่ขัดต่อหลักการพื้นฐาน ของความเป็น “สังฆะ” ของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ยึดหลักความเสมอภาค ไม่มีชนชั้น ไม่มีฐานันดรศักดิ์ (2) โครงสร้างอำนาจมหาเถรสมาคมที่ขึ้นต่อระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์ดังกล่าว เป็นโครงสร้างเผด็จการ (3) สังฆะภายใต้อำนาจมหาเถรสมาคมมีบทบาทค้ำจุนสถานะอำนาจบารมีของระบบอำนาจจารีต โดยการอ้างศีลธรรมทางพุทธศาสนาไปสนับสนุนคุณวิเศษของชนชั้นปกครอง ขาดสำนึกที่จะปกป้องราษฎรที่ถูกกดขี่ วัฒนธรรมสังฆะภายใต้ระบบเช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรม ประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน
ฉะนั้น การที่สันติอโศกประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของมหาเถรสมาคม จึงมีความหมายสำคัญว่า เป็นไปได้ที่จะมีสังฆะที่เป็นอิสระจากรัฐ ปกครองกันเองตามหลักธรรมวินัย ไม่รับสมณศักดิ์หรือตำแหน่งการปกครองตั้งแต่เจ้าอาวาส อุปัชฌาย์ ฯลฯ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย แต่ชุมชนแห่งสังฆะนั้นจัดระบบการปกครองกันเองตามหลักการ/วิธีการที่ระบุไว้ ในธรรมวินัย ไม่รับงบประมาณจากรัฐ เป็นองค์กรสังฆะในรูปเอกชนที่จัดการเรื่องการปกครอง การศึกษา ปฏิบัติธรรม การตรวจสอบกันเองทางธรรมวินัย และอื่นๆ อย่างเป็นตัวของตัวเอง นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นข้อดีของชุมชนสันติอโศก นี่คือ”โมเดล” ของ “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” ซึ่งผมคิดว่าพุทธศาสนาในอนาคตน่าจะมีกลุ่มต่างๆ ที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองในแบบต่างๆ มากขึ้น
โดยความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง หรือแนวทางของชาวพุทธกลุ่มต่างๆ นั้น จะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านเขายอมรับหรือไม่ เพราะคนทั่วไปไม่ได้โง่ เราต้องเชื่อว่า ผู้คนมีเหตุผลที่จะตัดสินถูก ผิด ด้วยตนเอง ตราบใดที่ชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการละเมิดสิทธิพลเมือง พวกเขาย่อมมีอิสระที่จะเลือกแนวทางศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ศาสนาของตนได้เต็มที่ ใครสอนถูก สอนผิด เป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรวิพากษ์วิจารณ์กันไป ไม่ใช้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการ
ผมคิดว่าชุมชุนสันติอโศกคือชุมชนตัวอย่างของชุมชนพุทธที่เป็น อิสระจากรัฐ ที่ยืนอยู่ได้ด้วยขาของตนเอง และนี่จะเป็นแบบอย่างให้เกิดชุมชนพุทธอื่นๆ ต่อไป แม้ชุมชนนั้นๆ อาจมีแนวทางเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันออกไป
(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2012/11/43884
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น