ศาลรธน.ฝรั่งเศส คว่ำแผนเก็บภาษีมหาเศรษฐี 75%
การขึ้นภาษีผู้ที่มีรายได้ 1 ล้านยูโรต่อปี (ประมาณ 40 ล้านบาท) ถือเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงหลักของนายออลลองด์ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อภาคธุรกิจของประเทศ และทำให้ผู้ที่มีฐานะบางรายถึงขั้นประกาศที่จะอพยพไปอยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ดี รัฐบาลฝรั่งเศสเเผยว่า จะมีการปรับปรุงนโยบายด้านภาษีใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับคำร้องเรียนของคณะกรรมการ
ในคำประกาศเมื่อวานนี้ (29 ธ.ค.) คณะกรรมการศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส เปิดเผยว่า อัตราภาษีใหม่นี้ บกพร่องต่อการพิจารณาถึงความเสมอภาค ก่อนที่มันจะกลายเป็นภาระของประชาชน เนื่องจากมีความแตกต่างจากภาษีเงินได้ในรูปแบบอื่น และควรถูกนำไปบังคับใช้ในรายบุคคล ไม่ใช่ในระดับครัวเรือน
โดยยกตัวอย่างว่า หากมีเพียงบุคคลเดียวในครอบครัวที่มีรายได้เกิน 1 ล้านยูโร ทั้งครอบครัวก็ต้องถูกบังคับให้จ่ายภาษีในอัตรานี้ แต่หากว่าบ้านใดมีบุคคลที่มีรายได้ 9 แสนยูดร 2 คน กลับกลายเป็นว่าทั้งสองจะไม่ต้องเสียภาษีในอัตราดังกล่าว นอกจากนั้น คณะกรรมการยังไม่เห็นชอบวิธีการคำนวณภาษีแบบใหม่ด้วย
นายกรัฐมนตรีฌอง มาร์ก เอโรต์ แถลงภายหลังศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสคัดค้านแผนเก็บภาษีอัตราพิเศษสำหรับผู้มี รายได้เกินกว่าหนึ่งล้านยูโร ของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ ว่า ทางการจะแก้ไขรายละเอียดและยื่นให้ศาลพิจารณาอีกครั้ง โดยอ้างว่าศาลไม่ได้คัดค้านตัวเลขอัตราภาษี แต่ไม่เห็นชอบกับเกณฑ์จำแนกครัวเรือนซึ่งมีรายได้ต้องเสียภาษี
มอง กันว่าแผนเก็บภาษีอัตราพิเศษนี้เป็นมาตรการเชิงสัญลักษณ์ที่จะกระทบผู้เสีย ภาษีเพียงส่วนน้อย และจะช่วยให้ทางการฝรั่งเศสมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 100-300 ล้านยูโร (ราว 4,100-12,200 ล้านบาท) อย่างไรก็ดีผู้ไม่เห็นด้วยกับแผนเก็บภาษีคนรวยแย้งว่า รายได้จากภาษีไม่อาจช่วยบรรเทาปัญหาการเงินของประเทศได้มากนัก ขณะเดียวกันก็จะเป็นมาตรการที่ผลักคนรวยออกนอกประเทศ
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356850850&grpid=&catid=06&subcatid=0600
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น