หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปีเก่า-ปีใหม่ ไม่เคยมี ในสำนึกดั้งเดิม

ปีเก่า-ปีใหม่ ไม่เคยมี ในสำนึกดั้งเดิม


โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  


"ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่" เป็นวลีผูกขึ้นใหม่เมื่อหลังรับคติขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากลราว 70 กว่าปีมานี้ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ก่อนหน้านี้ไม่มีสำนึกปีเก่า-ปีใหม่แบบสากล

มี แต่รับรู้เรื่องเปลี่ยนปีนักษัตรจากรูปสัตว์หนึ่ง ไปอีกรูปสัตว์หนึ่ง ตอนขึ้นเดือนอ้าย (หมายถึงเดือนที่ 1) หลังลอยกระทงเดือน 12 (ตรงกับปฏิทินสากลราวเดือนพฤศจิกายน)

เช่น เปลี่ยนจาก มะโรง งูใหญ่ เป็น มะเส็ง งูเล็ก (ไม่ใช่เปลี่ยนตอนสงกรานต์ เมษายน ซึ่งเป็นประเพณีอินเดีย เพราะในอินเดียไม่มีปีนักษัตร มีแต่สิ่งที่โหราจารย์บอกว่า เรียกราศีตามสุริยคติ นับถือดวงอาทิตย์)

แล้วรับรู้ว่าฤดูกาลเปลี่ยนไปจากฝนเป็นหนาว ในช่วงเดือนอ้าย ปลายฝน ต้นหนาว

 
ฤดู กาลที่เปลี่ยนไปก็ไม่เหมือนกัน เพราะทางเหนือรับลมมรสุมก่อน มีฝนก่อน ทำนาปลูกข้าวก่อน ข้าวสุกก่อน เกี่ยวข้าวก่อน จึงนับเดือนเร็วกว่าภาคกลางซึ่งอยู่ใต้ลงมาราว 2 เดือน เช่น

รัฐ ล้านนา เข้าเดือนอ้าย หรือเดือน 1 ไปแล้ว แต่รัฐสุพรรณภูมิยังเป็นเดือน 11 ครั้นรัฐสุพรรณภูมิลอยกระทงเดือน 12 แต่รัฐล้านนาเป็นเดือนยี่ (คือ เดือน 2)

ส่วนรัฐนครศรีธรรมราชเป็นเดือนอะไร? ตรงกับที่ไหน? ไม่พบหลักฐาน

ดิน แดนที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้ สมัยโบราณมีหลายรัฐ แต่ละภาคก็มีรัฐเอกราชต่างๆ กันไป ไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน บางทีในภาคเดียวกันมีหลายรัฐก็ได้ เช่น

ภาคกลางตอนบนมีรัฐสุโขทัย แต่ตอนล่างมีรัฐสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี), และรัฐอโยธยา-ละโว้ (อยุธยา-ลพบุรี)

ภาคใต้ตอนบนมีรัฐนครศรีธรรมราช แต่ตอนล่างมีรัฐปัตตานี

อยุธยา เป็นราชอาณาจักรสยามแห่งแรก เพราะรวมรัฐนครศรีธรรมราช ทางใต้ กับรัฐสุโขทัย ทางเหนือ ไว้ในอำนาจได้ก่อนที่อื่นๆ ในไทย แต่ยังไม่มีอำนาจเหนือรัฐปัตตานีกับรัฐล้านนา

(ที่ว่าสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย จึงไม่จริง และที่ว่าสุโขทัยล่มแล้วจึงมีรัฐอยุธยาก็ไม่ใช่)

ขณะส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตามปฏิทินสากลนี้ถ้าย้อนยุคกลับไปจะพบว่า

ภาคเหนือ รัฐล้านนา เป็นเดือน 3 ปลายหนาว

ภาคกลาง รัฐอยุธยา เป็นเดือน 1 ปลายฝน ต้นหนาว

ภาคใต้ รัฐนครศรีธรรมราชและรัฐปัตตานี เป็นเดือนอะไรไม่รู้ แต่เพิ่งเข้าฤดูฝน ที่เลื่อนลงจากภาคกลาง

ในอนาคตอิทธิพลโลกร้อนมีรุนแรงขึ้น ฤดูกาลแปรปรวนมากขึ้นอีก จึงไม่มีใครรู้ว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงรุนแรงอย่างไร? ขนาดไหน?

 
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356920393&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น