จังหวะก้าว′เพื่อไทย′ ก่อนลง′ประชามติ′ ความคึกคักของประชาธิปัตย์
ภายหลังจากพรรครัฐบาล ประกาศว่า จะทำ "ประชามติ" ขอความเห็นประชาชน ก่อนเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่าง
จากพรรคเพื่อไทยเอง บางส่วนเกิดความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ
เมื่อ ทราบหลักเกณฑ์ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.การลงประชามติว่า 1.จะต้องมีผู้มีสิทธิ มาใช้สิทธิเกินครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด
กล่าวคือ จากผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 46 ล้านคน เบื้องแรก ต้องมาใช้สิทธิ 23 ล้านคน
และ 2.ความเห็นที่จะเป็นประชามติ จะต้องมีครึ่งหนึ่งของ 23 ล้านเสียง คือ 11 ล้านเสียงเศษ
แม้ว่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึง 35 ล้านคน หรือ 74 เปอร์เซ็นต์
แต่การลงประชามติ มีความต่างจากการลงคะแนนเลือกตั้ง
โดยเฉพาะหากเผชิญกับการรณรงค์ของฝ่ายค้าน ที่ชูธง "นอนหลับ" ต่อต้านการลงประชามติทันที
สังเกต จากอาการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ไม่เข้าร่วมประชุม ครม. ในวันที่ 18 ธันวาคม ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องการลงประชามติ
โดยอ้างว่า "เจ็บคอมา 2 อาทิตย์แล้ว"
ส่วนที่ไม่เข้าประชุม "... ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่ถ้ารัฐบาลเห็นอย่างไรก็เห็นตาม และพรรคเพื่อไทยมีมติอย่างไรก็เห็นด้วย"
"ผม พูดถึงความเป็นไปได้กับความเป็นไปไม่ได้ เพราะดูตัวเลขแล้วผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 48 ล้านคน มีเศษอีก 3 แสนกว่า ก็ต้องได้คะแนน 24 ล้านเศษ แต่มันเป็นเรื่องยาก"
"ผมเล่นการเมืองปี นี้ปีที่ 30 ตั้งแต่ พ.ศ.2526 วิเคราะห์การเมืองบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ผมก็เสียเหลี่ยมตัวเอง การเอาอกเอาใจกันนะได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง"
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงคิดว่า ยากที่จะได้คะแนนเสียงตามเงื่อนไขของกฎหมาย
ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า มันยาก เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็ฟันธงแล้วว่าไม่เอาด้วย
ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่าง
จากพรรคเพื่อไทยเอง บางส่วนเกิดความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ
เมื่อ ทราบหลักเกณฑ์ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.การลงประชามติว่า 1.จะต้องมีผู้มีสิทธิ มาใช้สิทธิเกินครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด
กล่าวคือ จากผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 46 ล้านคน เบื้องแรก ต้องมาใช้สิทธิ 23 ล้านคน
และ 2.ความเห็นที่จะเป็นประชามติ จะต้องมีครึ่งหนึ่งของ 23 ล้านเสียง คือ 11 ล้านเสียงเศษ
แม้ว่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึง 35 ล้านคน หรือ 74 เปอร์เซ็นต์
แต่การลงประชามติ มีความต่างจากการลงคะแนนเลือกตั้ง
โดยเฉพาะหากเผชิญกับการรณรงค์ของฝ่ายค้าน ที่ชูธง "นอนหลับ" ต่อต้านการลงประชามติทันที
สังเกต จากอาการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ไม่เข้าร่วมประชุม ครม. ในวันที่ 18 ธันวาคม ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องการลงประชามติ
โดยอ้างว่า "เจ็บคอมา 2 อาทิตย์แล้ว"
ส่วนที่ไม่เข้าประชุม "... ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่ถ้ารัฐบาลเห็นอย่างไรก็เห็นตาม และพรรคเพื่อไทยมีมติอย่างไรก็เห็นด้วย"
"ผม พูดถึงความเป็นไปได้กับความเป็นไปไม่ได้ เพราะดูตัวเลขแล้วผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 48 ล้านคน มีเศษอีก 3 แสนกว่า ก็ต้องได้คะแนน 24 ล้านเศษ แต่มันเป็นเรื่องยาก"
"ผมเล่นการเมืองปี นี้ปีที่ 30 ตั้งแต่ พ.ศ.2526 วิเคราะห์การเมืองบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ผมก็เสียเหลี่ยมตัวเอง การเอาอกเอาใจกันนะได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง"
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงคิดว่า ยากที่จะได้คะแนนเสียงตามเงื่อนไขของกฎหมาย
ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า มันยาก เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็ฟันธงแล้วว่าไม่เอาด้วย
เมื่อ ถามอีกว่า รัฐบาลมั่นใจว่าการทำประชามติเป็นการแก้ไขปัญหา ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า มันอยู่ที่การรณรงค์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้เลย
มันมีโอกาสเป็นไปได้แต่มันยาก แล้วสุดท้ายผมก็ต้องเหนื่อยด้วย เพราะผมก็ประกาศไว้ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ก็ ไม่น่าแปลกใจ ที่สุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาสรุปภายหลังการประชุม ครม. วันที่ 18 ธันวาคมว่า ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรมไปศึกษาเพิ่มเติม
จากนั้นให้กลับมาสู่ที่ประชุม ครม.อีกครั้งหนึ่ง
ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ที่ประกาศต่อต้านการลงประชามติทันที มีอาการเชื่อมั่นเป็นอย่างสูง
เพราะเชื่อว่า ฐานคะแนนของตนเอง หากไม่ออกไปใช้สิทธิจริง จะส่งผลต่อตัวเลขรวมของผู้ใช้สิทธิที่ต้องออกมาเกินครึ่ง คือ 23 ล้านทันที
อันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการลงประชามติ
ใน การสัมมนาพรรคที่ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค กล่าวเปิดการสัมมนาตอนหนึ่งว่า เป้าหมายสำคัญต่อไปคือ การชนะการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 2 จ.ชลบุรี ในวันที่ 6 มกราคมนี้
ผมมั่นใจว่า เราชนะแน่ ซึ่งจะทำให้ขวัญกำลังใจดีขึ้น
และขอให้รอดูการทำประชามติ ผมเชื่อว่า จะได้ไม่ถึง 15 ล้านเสียง อย่างที่รัฐบาลคุยแน่นอน
และส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยมี 11 ล้านเสียง จะเพิ่มมากขึ้นแน่ ระยะห่างของทั้ง 2 พรรค ไม่มากอย่างที่คิด
การ ที่พรรคเพื่อไทยคุยโวว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ 250 เสียง คงเหลือแค่ 220 เสียง ก็เก่งแล้ว เพราะคนไทยรู้แล้วว่าอะไรดีอะไรชั่ว
ผมยืนยันว่า จะทำให้งานให้ดีที่สุด เพื่อช่วยพรรคไปสู่เป้าหมายอย่างที่ตั้งใจ และจะนำหัวหน้าพรรค กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง
การลงประชามติ เป็นเรื่องใหญ่แน่นอน เพราะเกี่ยวข้องกับผู้มีสิทธิออกเสียง 46-47 ล้านคน
ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองที่ขัดแย้งรุนแรง และเต็มไปด้วยการแทรกแซง
มีโอกาสที่จะเกิดความพลิกผันที่คาดไม่ถึง
ปัญหาของพรรคเพื่อไทย คือการ "บริหาร" ชัยชนะ ให้ต่อเนื่องต่อไป
เคล็ดของ "ชัยชนะ" ทางการเมืองที่ขาดหายไม่ได้ คือ การยืนข้างเดียวกับประชาชน
ต้องรู้อะไรคือดีหรือชั่วในทางการเมือง
แพ้-ชนะของการเมือง ต่างจากแพ้ชนะในวงการพนัน หรือเกมกีฬาอื่นที่ตรงนี้เอง
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355887442&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น