แด่ ว.วชิรเมธี ‘ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชนดีเด่น’
โดย อ.สุรพศ ทวีศักดิ์
ภาพข้างบน คืออีกหนึ่งในปฏิกิริยาต่อข่าวที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีมติมอบรางวัล ‘ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น’ แก่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ภาพดังกล่าวสะท้อนความแจ่มชัดในการรับรู้ของสาธารณะว่า ผู้คนรับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า ว.วชิรเมธี คือเจ้าของวาทกรรม ‘ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน’ แต่แทบจะไม่ได้รับรู้กันเลยว่า ว.วชิเรเมธีได้ทำอะไรบ้างที่เป็นการ ‘ปกป้องสิทธิมนุษยชน’
หรือหาก ว.วชิรเมธี เคยทำอะไรบ้างเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่การที่ท่านทวิตเตอร์ข้อความ “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน” ในคืนวันที่ 9 เมษายน 2553 ก่อนเหตุการณ์นองเลือดที่สี่แยกคอกวัวเพียง 1 วัน ข้อความนี้ที่ออกสู่สาธารณะในสถานการณ์เช่นนั้น ย่อมเป็น ‘ตราประทับ’ ว่า ว.วชิรเมธีไม่คู่ควรกับรางวัล ‘ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น’ เพราะท่านไม่เคยออกมาขอโทษประชาชนในความผิดพลาดนี้เลยด้วยซ้ำ อีกทั้งในช่วงการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เพิ่งผ่านพ้น ท่านยังออกมาตอกย้ำว่า “กฎหมายบ้านเมืองต้องศักดิ์สิทธิ์” อันเป็นการสอดรับกับแนวทางของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ต้องสลายการชุมนุมด้วย ‘กระสุนจริง’ เพื่อรักษากฎหมาย
ที่สำคัญชื่อ ‘ว.วชิรเมธี’ ก็ได้ถูกจดจำในประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนไปแล้วว่า ท่านไม่ใช่ผู้ปกป้องสิทธิของประชาชนที่สละชีวิตเลือดเนื้อต่อสู้กับเผด็จการ อำมาตยาธิปไตย ท่านจึงไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับกิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19
คำแก้ตัวของกิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป หมายถึงฆ่าลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ฆ่าคนที่เป็นคอมมิวนิสต์” นั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะนี่เป็นคำแก้ตัวในภายหลังจากที่ก่อนหน้านั้นตนเคยพูดต่อสาธารณะไปแล้ว ว่า “ฆ่าคนที่ทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้บุญมากกว่าบาปเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรถวายพระ”
เช่นเดียวกันคำแก้ตัวของ ว.วชิรเมธี ทำนองว่าที่พูดประโยค “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนความรุนแรง แต่ต้องการกระตุกผู้คนให้รู้คุณค่าของเวลา” ก็ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะท่านพูดคำนี้ออกมาในสถานการณ์ความขัดแย้งที่สื่อเสื้อเหลืองและสื่อ หลักกำลังโหมประโคมภาพความรุนแรงของเสื้อแดง และรัฐบาลอภิสิทธิ์กำลังเตรียมสรรพกำลังเพื่อจัดการกับการชุมนุมใหญ่ของคน เสื้อแดง ปี 2553
แม้สมมติว่า ว.วชิเมธี ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนความรุนแรงดังที่กล่าวจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโดยเจตนาเช่นนั้นจะทำให้การกระทำนั้นไม่ใช่เป็นความ ผิดพลาดและไม่ควรขอโทษประชาชน เพราะ ‘เจตนา’ ของท่านไม่สามารถควบคุม ‘ความหมาย’ ของวาทกรรทประดิษฐ์ที่ตนเองเสนอออกไปในท่ามกลางสถานการณ์ที่พระควรจะเตือน สติมากกว่าจะไปพูดอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงกว่า เดิม
ปัญหาของ ว.วชิรเมธี (หรือพระสงฆ์และชาวพุทธส่วนมาก) คือการคิดว่าที่ตนเองออกมาแสดงทัศนะทางการเมือง วิจารณ์การเมือง หรือกระทั่งออกมาชุมนุมทางการเมืองล้วนแต่เป็นการกระทำจาก ‘เจตนาดี’ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือเพื่อชาติบ้านเมืองทั้งสิ้น ทว่าเจตนาดีดังกล่าวย่อมไม่อาจถือเป็นข้ออ้างที่ชอบธรรมในการปฏิเสธความรับ ผิดชอบต่อความผิดพลาดที่ได้กระทำลงไปได้
ความผิดพลาดของ ว.วชิรเมธี ที่เห็นได้ชัดในช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44278
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น