หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำท่วม ปัญหาของคนรวย ความซวยของคนจน

น้ำท่วม ปัญหาของคนรวย ความซวยของคนจน

 

 

พื้นที่น้ำท่วมกลายเป็นภาพสะท้อนความขัดแย้งทาง ชนชั้นอย่างชัดเจน ยังไม่นับจำนวนคนตกงาน การสูญเสียอาชีพอีกนับแสนๆราย ศักดิ์ศรีความเป็นคนผู้สร้างมูลค่าที่แท้ให้แก่สังคมไทย ในฐานะพลังผลิตที่ต้องสูญสลายหายไปกับสายน้ำ

น้ำท่วม ปัญหาของคนรวย ความซวยของคนจน
กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร?? 


โดย ยังดี โดมพระจันทร์ 

เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันในฤดูน้ำหลาก ร้องเล่นกลางลำน้ำโดยพ่อเพลงและแม่เพลงอยู่คนละลำ จังหวัดที่เล่นเพลงเรือ ได้แก่ จังหวัดริมแม่น้ำภาคกลาง อย่าง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และพิษณุโลก เพลงเรือส่วนใหญ่จะถนัดร้องบทเชิงชู้

.......นี่คือตัวอย่างการร้องเล่นจากวิกิลีกส์.....

(ชาย) ลงเรือลอยล่องร้องทำนองเพลงเกริ่น
แสนเสนาะเพลิน (ฮ้าไฮ้) จับใจ ชะ

มาพบเรือสาวรุ่นราวสคราญ                
แสนที่จะเบิกบาน (ฮ้าไฮ้) หทัย ชะ

จึงโผเรือเทียบเข้าไปเลียบข้างลำ      
แล้วก็เอ่ยถ้อยคำ (ฮ้าไฮ้) ปราศรัย ชะ

แม่เพื่อนเรือลอยแม่อย่าน้อยน้ำจิต      
พี่ขอถามเจ้าสักนิด (ฮ้าไฮ้) เป็นไร ชะ

แม่พายเรือลัดแม่จะตัดทุ่งไกล          
แม่จะไปทางไหน (เอย) น้อยเอย

(ลูกคู่) เชียะ เชียะ นอระนอย ระนอย ระนอย  
เชียะ เชียะ ฮ้าไฮ้

.....ยังดี เลยเขียนคำร้องใหม่ตอบไปว่า....

(หญิง) ลงเรือลอยล่องร้องทำนองเพลงเพลิน
ยังขาดๆเกินๆ (ฮ้าไฮ้) หรือไร ชะ

พ่อน้ำท่วมทุ่ง มุ่งท่วมลาน        
ท่วมกันทุกบ้าน (ฮ้าไฮ้) มาแต่ไหน ชะ

คนจนหรือจะเทียบไม่กล้าเลียบข้างลำ      
พ่อสวมสร้อยทองร้องรำ (ฮ้าไฮ้) ปราศรัย ชะ

กระเบื้องจะลอยน้ำเต้าน้อยค่อยถอยจม      
เมื่อไรจะสุขสม (ฮ้าไฮ้) เป็นไท ชะ

ชนชั้นคือช่องว่างถ่างเรือไปไกล      
พ่ออย่ามาปลอบใจ (เอย) หน่อยเลย

(ลูกคู่) เชียะ เชียะ นอระนอย ระนอย ระนอย  
เชียะ เชียะ ฮ้าไฮ้

ชุมชนในฝัน มันไม่มีจริง                  

หลายคนเคยสงสัยว่าบ้านทรงไทยทำไมใต้ถุนสูงนัก โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเรือผูกไว้  พอใกล้ฤดูน้ำหลาก ก็เริ่มกักตุนอาหาร เตรียมเครื่องมือตะข่ายไว้หาปลา นำเรือมาซ่อมแซม น้ำสูงท่วมหัวเด็กๆ เล่นน้ำไปตามลำคลอง ในอดีตธรรมชาติเกิดขึ้นเช่นนี้ทุกปีสำหรับผู้มีชีวิตริมน้ำ แต่ในท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ภาระหนักตกอยู่บนบ่าของทาสไพร่ที่ขวนขวาย จัดหา ข้าวของมาปรนเปรอเจ้านายในยามน้ำหลาก การร้องเพลงเรือจึงเป็นเพียงการปลอบประโลมใจ และความบันเทิงง่ายๆที่ไม่ต้องซื้อหา
                 
คนที่ไม่เจอเข้ากับตัวจะไม่รู้สึกว่า "น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติ"  เมืองใหญ่ๆ ที่มีการค้าขายตั้งอยู่ริมน้ำ หรือตามที่ราบลุ่ม มีเรือพายนำข้าวของจากเรือกสวนมาขายตามบ้านดูสงบร่มเย็นอย่างชีวิตชุมชน อัมพวาในอดีต แต่จะลงแรงกี่มากน้อยระหว่าง เจ้าของสวน เจ้าของโรงสี กับแม่ค้ารายย่อย และคนงานแบกหามตามท่าน้ำ กลับไม่มีใครพูดถึง...วนเวียนอยู่เช่นนี้ จนวันนี้มีโรงแรม รีสอร์ท ไปสร้างแทนที่ ความสนใจ คำถาม

จึงพรั่งพรูมาว่า ชุมชนในฝัน มันไม่มีจริง มีแต่กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ และแรงงานที่ผู้คนหลงลืม 


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/10/blog-post_16.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น