หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

Electrolux เลิกจ้าง รัฐบาลต้องคุ้มครองสิทธิการเจรจาเรียกร้องค่าแรง 300 บาท ของสหภาพแรงงาน

Electrolux เลิกจ้าง รัฐบาลต้องคุ้มครองสิทธิการเจรจาเรียกร้องค่าแรง 300 บาท ของสหภาพแรงงาน

 


บุญยืน สุขใหม่
ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก


ปัจจุบัน บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ระยอง มีพนักงานรวมทั้งหมดกว่า 650 คน และเป็นฐานการผลิตสำคัญของผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้าฝาหน้า เครื่องซักผ้าฝาบน เครื่องซักและอบผ้า และเครื่องอบผ้า จากการลงทุนในครั้งนี้ โรงงานมีกำลังการผลิตเครื่องซักผ้ารวมทั้งสิ้นมากกว่า 1 ล้านเครื่องต่อปีและเป็นหนึ่งของศูนย์กลาง การผลิตเครื่องซักผ้าอีเลคโทรลักซ์ในระดับโลก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม IRL (เหมราช) เลขที่ 169 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย ระยอง


เหตุเกิดเมื่อ 10 มกราคม 2556 เวลาประมาณ 13.00 น. หลังจากที่ประธานสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ได้เข้าเจรจากับผู้บริหารเรื่องนโยบายการปรับค่าจ้างตามที่รัฐบาลประกาศ ซึ่งส่งผลกระทบกับวิถีการดำรงชีวิตของผู้ใช้แรงงานทุกคน ซึ่งปัญหาที่ได้รับผลกระทบคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น จึงขอให้บริษัทฯ พิจารณาปรับค่าจ้างให้กับพนักงานทุกคนในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่ใช่ปรับให้เฉพาะคนที่ยังมีค่าจ้างไม่ถึง 300 บาทหรือเกินกว่านั้นเพียงบางส่วนเท่านั้นโดยไม่คำนึงอายุงานว่าใครจะทำงานมา นานเท่าไร คือ


ค่าจ้างเดือนละ 8000-8099
ปรับเพิ่ม 1000 บาท
ค่าจ้างเดือนละ 8100-10000
ปรับเพิ่ม 900 บาท
ค่าจ้างเดือนละ 10001-15000
ปรับเพิ่ม 800 บาท

ในเบื้องต้นการเจรจาผู้บริหารบอกว่าจะเข้าใจรับไปพิจารณาและรับปากว่า จะให้คำตอบในวันรุ่งขึ้นโดยรับปากว่าจะพิจารณาปรับเพิ่มให้ตามความเหมาะสม และจะมีข่าวดีแน่นอน


ต่อมาในวันที่ 11 มกราคม 2556 เวลาประมาณ 08.00 น. ผู้บริหารได้มาชี้แจ้งต่อที่ประชุมของพนักงานว่าไม่สามารถปรับเพิ่มโดยไม่ ชี้แจงเหตุผลให้กับพนักงานทุกคนทราบ หลังจากนั้นประธานสหภาพแรงงานจึงได้โต้แย้งว่าทำไมจึงไม่ปรับเพิ่มให้ตามที่ ได้คุยกันไว้ ทำให้ผู้บริหารเกิดความไม่พอใจ และได้จูงมือปรานสหภาพแรงานฯ ออกมานอกโรงงานและบอกว่าเลิกจ้างเพราะสร้างความแตกแยกและทำให้บริษัทฯได้รับ ความเสียหาย และให้รถตู้ไปส่งยังที่พัก


ส่วนพนักงานซึ่งรอฟังคำชี้แจงอยู่ต่างก็ไม่เข้าใจในการกระทำของบริษัทฯ ซึ่งมีการเลิกจ้างประธานสหภาพแรงงานฯ โดยไม่มีเหตุผลจึงได้รวมตัวกันอยู่ภายในบริษัทฯ และขอให้บริษัทฯ รับประธานสหภาพกลับเข้ามาและเจรจากันให้เข้าใจว่าบริษัทฯ มีเหตุผลอะไรที่ไม่สามารถปรับผลต่างของค่าจ้างขึ้นต่ำตามที่รัฐบาลประกาศได้ ทั้งที่มีการรับปากแล้วว่าจะพิจารณาปรับเพิ่มให้ แต่ผู้บริหารก็ไม่ฟังเหตุผลแต่อย่างใด และได้กักบริเวณพนักงานไม่ให้ไปให้รับประทานอาหารเที่ยงที่โรงอาหาร จนพนักงานต้องให้เพื่อนซึ่งอยู่นอกโรงงานหาวิธีซื้ออาหารเข้ามากินกันเอง


ต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. บริษัทได้ออกมาแจ้งกับพนักงานทุกคนว่า “บริษัทเลิกจ้างกรรมการและสมาชิกสหภาพแรงานทุกคนแล้ว” แต่พนักงานก็ขอให้บริษัทฯ แจ้งรายชื่อพนักงานที่ถูกเลิกจ้างให้กับพนักงานทุกคนทราบด้วยเนื่องจาก พนักงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนหนึ่งเป็นพนักงานกะกลางคืนที่มาร่วมรับฟังคำชี้ แจงเท่านั้นและไม่ได้มีความผิดอะไร รวมทั้งเพื่อนพนักงานในกะเช้าเองก็ไม่ได้มีความผิดแต่อย่างใดทุกคนต่างก็ ต้องการได้รับข่าวสารที่เป็นจริง และการปรับค่าจ้าง 300 บาท ก็เป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งผู้ใช้แรงงานทุกคนต่างก็ได้รับผลกระทบจากค่าครอง ชีพที่สูงขึ้นก็ควรที่จะได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้นตามที่รัฐบาลประกาศกำหนด


ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนถึงขั้นการเลิกจ้างในครั้งนี้เป็นความ ผิดของใครกันแน่ เพราะถ้ารัฐบาลไม่ประกาศปรับเพิ่มค่าจ้างสินค้าก็ไม่ขึ้นราคา แต่วันนี้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้างไปแล้วแต่ไม่ได้หันมาดูแลหรือสนใจผู้ใช้ แรงงานว่าแต่ละคนนั้นได้ปรับค่าจ้างจริงตามที่รัฐบาลประกาศหรือเปล่า “หรือเพียงแค่จะคิดแค่หาเสียงแบบประชานิยมไปวันๆเท่านั้นเอง”

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44626


Electrolux ระยองเลิกจ้างสหภาพแรงงานฯ ยกเข่ง หลังต่อรองปรับค่าจ้าง 300
http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44628   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น