ประเทศไทยประชาชนไม่ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ทหารและกองทัพเป็นกาฝากในงบประมาณภาษีประชาชน
และกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนรวม มาเป็นผลประโยชน์ของนายทหารระดับใหญ่ๆ
โดยบทบาทหน้าที่ของทหารที่ผ่านมา
ทหารไม่เคยต่อสู้เพื่อปากท้องหรือเสรีภาพของประชาชนเลย
แต่กลับเป็นผู้ปราบปรามและถ่วงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยมากกว่า
โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าระบบการเมืองในประเทศไทยนั้น
มักจะถูกทหารแทรกแซงอยู่ตลอด
กองทัพเป็นหนึ่งในกลไกรัฐที่สำคัญในการปราบประชาชน
บางประเทศรัฐสภามีอำนาจสั่งการเหนือกองทัพ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว
กองทัพอยู่เหนือการเมืองเสมอด้วยเหตุผลที่ว่า
ทหารใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย มาเป็นเงื่อนไขในการยึดอำนาจประชาชนได้เสมอ โดยทหารมักอ้างว่าถ้าหากไม่อยากให้มีการปฏิวัติ รัฐบาลก็อย่าสร้างเงื่อนไขในการปฏิวัติ
ยกตัวอย่างเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 การการยึดอำนาจรัฐประหาร โดย คณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็น ประมุข (คปค.) ที่นำโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้เป็นหัวหน้าในการทำรัฐประหาร และในการทำรัฐประหารในครั้งนี้สำเร็จได้โดย ไม่มีการเสียเลือดหรือเกิดเหตุการณ์จลาจล แม้ว่าทางฝ่ายทหารจะเอารถถังออกมาข่มขวัญกลางกรุงก็ตาม
แล้วการทำรัฐประหารครั้งนี้ สื่อมวลชนกระแสหลักพยายามทำให้ประชาชนหลงประเด็นคือ สื่อช่วยสร้างภาพให้กับการทำรัฐประหารว่ามีความชอบธรรม เป็นการทำรัฐประหารที่สุภาพ ทหารเองก็เป็นมิตรกับประชาชน ที่ทหารทำเพียงแต่ยื่นมือมาช่วยประเทศชาติ ในช่วงที่เกิดวิกฤติบ้านเมือง ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าการทำรัฐประหารนั้นจะเสียเลือดหรือไม่เสียเลือด ทหารก็ไม่สมควรจะยึดอำนาจ และที่สำคัญที่สุดทหารไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมใดๆ เพราะทหารจะต้องไม่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชนในรัฐ
ในทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร ทหารมักอ้างความชอบธรรมต่างๆนานา ในการทำรัฐประหาร การทำรัฐประหารทุกครั้ง มักจะอ้างว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดวิกฤติปัญหาที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นทหารจึงจำเป็นต้องมาบริหารประเทศแทน ซึ่งข้ออ้างที่ทหารจะนำมาใช้เป็นวาทกรรมนั้น ก็แล้วแต่สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ทหารชอบอ้างว่านักการเมืองคอร์รัปชั่นโกงกิน แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อทหารเข้ามาคุมอำนาจทางการเมืองแล้ว ทหารก็หาผลประโยชน์ไม่ต่างอะไรจากนักการเมืองด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน เบี้ยประชุม การนั่งในตำแหน่งสำคัญของรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การอุปโลกน์สร้างองค์กรมาเพื่อของบและเบี้ยประชุม ซึ่งคอร์รัปชั่นกันหนักกว่าเก่าอีก
และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทหารและกองทัพเป็นกาฝากในงบประมาณภาษีประชาชน และกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนรวม มาเป็นผลประโยชน์ของนายทหารระดับใหญ่ๆ โดยบทบาทหน้าที่ของทหารที่ผ่านมา ทหารไม่เคยต่อสู้เพื่อปากท้องหรือเสรีภาพของประชาชนเลย แต่กลับเป็นผู้ปราบปรามและถ่วงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยมากกว่า
ทหารใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย มาเป็นเงื่อนไขในการยึดอำนาจประชาชนได้เสมอ โดยทหารมักอ้างว่าถ้าหากไม่อยากให้มีการปฏิวัติ รัฐบาลก็อย่าสร้างเงื่อนไขในการปฏิวัติ
ยกตัวอย่างเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 การการยึดอำนาจรัฐประหาร โดย คณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็น ประมุข (คปค.) ที่นำโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้เป็นหัวหน้าในการทำรัฐประหาร และในการทำรัฐประหารในครั้งนี้สำเร็จได้โดย ไม่มีการเสียเลือดหรือเกิดเหตุการณ์จลาจล แม้ว่าทางฝ่ายทหารจะเอารถถังออกมาข่มขวัญกลางกรุงก็ตาม
แล้วการทำรัฐประหารครั้งนี้ สื่อมวลชนกระแสหลักพยายามทำให้ประชาชนหลงประเด็นคือ สื่อช่วยสร้างภาพให้กับการทำรัฐประหารว่ามีความชอบธรรม เป็นการทำรัฐประหารที่สุภาพ ทหารเองก็เป็นมิตรกับประชาชน ที่ทหารทำเพียงแต่ยื่นมือมาช่วยประเทศชาติ ในช่วงที่เกิดวิกฤติบ้านเมือง ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าการทำรัฐประหารนั้นจะเสียเลือดหรือไม่เสียเลือด ทหารก็ไม่สมควรจะยึดอำนาจ และที่สำคัญที่สุดทหารไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมใดๆ เพราะทหารจะต้องไม่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชนในรัฐ
ในทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร ทหารมักอ้างความชอบธรรมต่างๆนานา ในการทำรัฐประหาร การทำรัฐประหารทุกครั้ง มักจะอ้างว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดวิกฤติปัญหาที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นทหารจึงจำเป็นต้องมาบริหารประเทศแทน ซึ่งข้ออ้างที่ทหารจะนำมาใช้เป็นวาทกรรมนั้น ก็แล้วแต่สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ทหารชอบอ้างว่านักการเมืองคอร์รัปชั่นโกงกิน แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อทหารเข้ามาคุมอำนาจทางการเมืองแล้ว ทหารก็หาผลประโยชน์ไม่ต่างอะไรจากนักการเมืองด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน เบี้ยประชุม การนั่งในตำแหน่งสำคัญของรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การอุปโลกน์สร้างองค์กรมาเพื่อของบและเบี้ยประชุม ซึ่งคอร์รัปชั่นกันหนักกว่าเก่าอีก
และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทหารและกองทัพเป็นกาฝากในงบประมาณภาษีประชาชน และกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนรวม มาเป็นผลประโยชน์ของนายทหารระดับใหญ่ๆ โดยบทบาทหน้าที่ของทหารที่ผ่านมา ทหารไม่เคยต่อสู้เพื่อปากท้องหรือเสรีภาพของประชาชนเลย แต่กลับเป็นผู้ปราบปรามและถ่วงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยมากกว่า
งบประมาณทหารนั้นมากกว่ากระทรวงศึกษาและกระทรวง สาธารณะสุขอีก อย่างในงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2556 ของกระทรวงกลาโหม ได้ระบุกรอบวงเงิน 180,811,381,800 บาท และถ้าเปรียบเทียบกันกับงบประมาณปี พ.ศ.2555 ซึ่งได้รับงบประมาณ 168,667,373,500 บาท ก็เท่ากับว่ากระทรวงกลาโหมได้งบประมาณมากกว่าเดิมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
สำหรับกองทัพบก เป็นเหล่าทัพที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด โดยได้แบ่งงบประมาณตามแผนงานรายจ่าย คือ แผนงานสร้างความปรองดอง สมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย 30 ล้านบาท แผนงานป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติด 208,887,000 บาท แผนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 830,719,000 บาท แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 320 ล้านบาท และแผนงานเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ 87,453,778,000 บาท
ตัวอย่างเหตุจำเป็นในการของบประมาณของกองทัพ “งบประมาณทุกปีต้องพัฒนาไปข้างหน้า ส่วนหนึ่งต้องนำไปซ่อมของเก่า ส่วนหนึ่งต้องพัฒนาของใหม่ และโครงการที่เข้ามาใหม่ก็ต้องนำไปแก้ไขปัญหา เพราะฉะนั้นงบประมาณจึงต้องมากกว่าปีที่แล้ว” ผบ.ทบ. ประยุทธ์ จันทร์โอชายังพูดเสริมอีกว่า “ตนเข้าใจดีว่าประเทศชาติมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในหลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความยากจน เรื่องของประชาชน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน แต่เรื่องความมั่นคงก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ถ้าท่านจะทำอะไรก็ตามในอนาคต ท่านต้องมีประเทศชาติที่ปลอดภัยและแข็งแรง ไม่เช่นนั้นท่านทำอะไรไม่ได้”
นอกจากนั้นยังมีผลประโยชน์อื่นๆ ที่นายทหารระดับใหญ่ๆ มีอภิสิทธิ์ในการถือครองเช่น ที่ดินและคลื่นความถี่ ความถี่ในที่นี้หมายถึง ความถี่เพื่อความมั่นคง ทุกอย่างชอบอ้างว่าความมั่นคงนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นด้านสื่อสารมวลชนทั้งนั้น อย่างคลื่นความถี่สถานีวิทยุ ก็เป็นของกองทัพทั้งหมด ส่วนโทรทัศน์นั้นก็เป็นสถานีกองทัพบกช่อง 5
ส่วนเรื่องที่ดินนั้น ส่วนใหญ่ที่ดินที่ทหารระดับสูงครอบครองคือ ที่ดินที่เคยเป็นเขตหวงห้ามของราชอาณาจักร ตอนนี้บางส่วนก็เป็นของนายทหารระดับใหญ่ๆ แล้วเรายังเห็นได้ว่าแต่ก่อนอาจเป็นที่ห่างไกลความเจริญ แต่ตอนนี้กลายเป็นพวกรีสอร์ท หรือไม่ก็เป็นพื้นที่แบบเขตเมือง แน่นอนที่ดินย่อมเป็นแหล่งให้พวกทหารได้กอบโกยผลประโยชน์จากนักธุรกิจ เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองได้อย่างมหาศาลอยู่แล้ว
แม้ว่าทรัพยากรเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของนายพลคนใด แต่เป็นสมบัติของกองทัพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษกองทัพรุ่นก่อนๆ ดังนั้นกองทัพก็ต้องเก็บรักษาผลประโยชน์ตรงนี้ไว้อยู่ดี ตามคำที่พวกทหารชอบพูดคือ “ทหารทำทุกอย่างก็เพื่อความมั่นคง” ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าความมั่นคงของกองทัพ มันไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของประชาชนเลย หากเราต้องการลดทอนอำนาจของกองทัพ เราก็ต้องทำให้ทหารเป็นเพียงทหารอาชีพ ที่อยู่ภายการการปกครองของประชาชน หรือรัฐบาลที่มากจากประชาชนโดย
1 ทหารจะต้องไม่มีสิทธิมายุ่งเกี่ยวทางการเมือง ยกเว้นการลงสมัครเลือกตั้ง และจะต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือมีอำนาจในกิจการของรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทเอกชน
2 อำนาจในการโยกย้ายแต่งตั้งตำแหน่งต่างในกระทรวงกลาโหม ต้องเป็นการแต่ตั้งโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อป้องกันการแทรกอำนาจทางการเมืองจากมือที่มองไม่เห็น หรือกลุ่มอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน
3 การทำงานและบทบาทของกองทัพ จะต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาลเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการความไม่สงบหรือการก่อการชุมนุมประท้วง ทหารจะไม่มีสิทธิ์ออกมาจัดการเรื่องเหล่านี้ เพระเรื่องเหล่านี้จะต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจ
4 ทหารไม่มีสิทธิ์ใช้กำลังกับฝ่ายประชาชน
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/02/blog-post_9493.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น