หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เตือนภัยจาก"ดร.โกร่ง" เงินร้อน-ฟองสบู่แตก !! "ผมพูดกับประชาชน ในฐานะประธานบอร์ด ธปท."

เตือนภัยจาก"ดร.โกร่ง" เงินร้อน-ฟองสบู่แตก !! "ผมพูดกับประชาชน ในฐานะประธานบอร์ด ธปท."




Posted Image 
ที่มา - นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ถึงนโยบายการดำเนินงานของ ธปท. ภายหลังจากที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำหนังสือถึง ธปท.ให้ร่วมกันพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่อาจ ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจไทย

เงินร้อนคืออะไร และสร้างปัญหากับไทยแค่ไหน

เงิน ร้อน คือเงินทุนที่ไหลไปไหลมาระหว่างประเทศ ซึ่งการเคลื่อนย้ายเงินทุนมี 2 อย่าง 1.เงินต่างประเทศที่เข้ามาบ้านเราเพื่อลงทุนโรงงาน เครื่องจักร เป็นการลงทุนโดยตรง เป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่เราต้องการ 2.เงินต่างประเทศที่เข้าลงทุนในตลาดทุน ตลาดหุ้น ตลาดตราสารทางการเงิน หรือแม้แต่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างแล้ว แล้วปั่นราคาให้สูงขึ้น อย่างนี้เรียกว่า เงินร้อน หรือ hot money 



ถาม ว่า มันเกิดขึ้นได้ยังไง มันก็เหมือนกับน้ำ น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ เงินไหลจากที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปยังที่ผลตอบแทนสูง เมื่ออเมริกาปั๊มเงินดอลลาร์เข้ามาในตลาดโลกมากมาย ยุโรปก็พิมพ์เงินเข้ามา ล่าสุดนี่ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน มาสั่งแบงก์ชาติญี่ปุ่นให้เพิ่มปริมาณเงิน เพราะฉะนั้น ปริมาณเงินในโลกก็เอ่อท่วมขึ้นมา มันก็ไปหาที่ที่ผลตอบแทนสูงกว่า ผลตอบแทนในอเมริกา ในยุโรป ในญี่ปุ่นต่ำ สิงคโปร์ก็ต่ำ ฮ่องกงก็ต่ำ เหลือแต่ไทยที่พื้นฐานเศรษฐกิจดีเท่ากับสิงคโปร์ เท่ากันกับประเทศอื่น แต่ผลตอบแทนดีกว่า ความเสี่ยงต่ำกว่า มันก็หลั่งไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ อีกหน่อยก็จะไปตลาดอสังหาริมทรัพย์ เงินร้อนนี่ไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรนะ เรียกว่า unproductive มีแต่อันตราย เพราะมีอำนาจในการทำลายล้าง สร้างความเสียหายยับเยินได้เยอะ ถ้าเข้ามาแล้วอยู่ตลอดกัลปาวสานก็ไม่มีใครว่า แต่ถ้าเข้ามาแล้วปั่นหุ้น ปั่นตลาดตราสารหนี้ ปั่นราคาที่ดิน คอนโดฯต่างๆ พอถึงจุดหนึ่งเททิ้งขายเอาเงินออกไป ทุกอย่างก็หล่นฮวบลงมา นักลงทุนก็เสียหาย ดีไม่ดีลามไปถึงธนาคารพาณิชย์อีก ถ้าดูแลกันไม่ดี เพราะฉะนั้น นี่เป็นสิ่งที่น่าวิตก

เหมือนกับปี 2540 หากปล่อยเอาไว้

ขณะ นี้ผมว่าอาการมันคล้ายๆ กับปี 2538 ซึ่งมันจะเกิดเหตุการณ์หนึ่ง คือ เมื่อเราตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ มันก็ไปโผล่ที่ราคาสินทรัพย์ทางการเงิน หรือที่เรียกว่า Asset bubble เป็นฟองสบู่ เพราะเมื่อหุ้นขึ้น ตราสารหนี้ขึ้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ขึ้น เกิดตลาดฟองสบู่ เศรษฐกิจจริงๆ ไม่โต สาเหตุที่ไม่โตเพราะมันทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ทำให้การส่งออกไม่ขยายตัว ไม่ขยายตัวเลยเกือบจะ 0 หรือจะติดลบด้วยซ้ำไป

อย่างตอนนั้น ดัชนีหุ้นขึ้นสูงสุดเมื่อปี 2537 แล้วสูงต่อมาถึงปี 2538 พอปี 2539 ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว สายเสียแล้ว ทำให้ฟองสบู่แตกปี 2540 เพราะว่าเริ่มถูกโจมตีตั้งแต่วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2540 แล้วก็ไปพังตอน 2 กรกฎาคม 2540

ขณะนี้เริ่มก่ออาการแล้ว ดังนั้น เราต้องตระหนัก ที่ผมบอกว่าเงินมันเหมือนน้ำ น้ำไหลจากที่สูงมาที่ต่ำ เงินไหลจากที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปที่ให้ผลตอบแทนสูง สมมุติว่าบ้านเรานี่มันต่ำ แล้วน้ำอยู่ที่สูง เราไม่อยากให้มันไหลลงมา เราก็ต้องยกบ้านเราให้สูง ถึงจะทำเขื่อนทำอะไรกั้นไว้ มันก็หาทางแทรกซึมพังเขื่อนลงมาได้

ปัญหาตอนนี้คือวิธีการจัดการกับเงินร้อนยังไม่เป็นเอกภาพ มีความเห็นแตกต่างกันไป

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360383404&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น