มติชนวิเคราะห์... จาก"วิกฤต"สู่"วิกฤต" อนาคต"ปู5" ยื้อ"ปลดล็อก"การเมือง
การปรับ ครม.ปู 5 ลงตัวอย่างรวดเร็ว
ไฮไลต์คือ การควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม ของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็นการตัดสินใจของนายกฯที่ไม่มีใครรู้มากนัก
สื่อหลายฉบับพาดหัวว่า พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี จปร.16 จะมานั่งเก้าอี้ตัวนี้
บางส่วนให้ความสำคัญกับชื่อของ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต ที่จะโยกมาจาก รมช.คมนาคม
จุดสำคัญในการปรับ อยู่ที่ตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตัดสินใจดึงเอา นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มารับหน้าที่แทน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
เป็นการก้าวเข้าสู่ความรับผิดชอบที่หนักหนายิ่งขึ้นของนายนิวัฒน์ธำรง ที่ก่อนหน้านี้ไปบวช มุ่งมั่นกิจกรรมศาสนา
สุดท้ายรับคำขอให้กลับมาช่วยงาน และขยับตำแหน่งเข้าสู่เก้าอี้ที่ ร้อน ขึ้นเรื่อยๆ
โดย มีทีมงานเพิ่มขึ้นมา ได้แก่ นายยรรยง พวงราช อดีตปลัดฯตัวจี๊ดของกระทรวงพาณิชย์ ผู้ตั้งฉายาปลาบู่ชนเขื่อนให้นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค ปชป.
และ นายวราเทพ รัตนากร รมต.สำนักนายกฯ ที่จะควบตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ ดูแลปัญหาข้าวจากต้นทาง
ทำให้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ที่เพิ่งเข้าพิธีวิวาห์ในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ได้มีเวลากับการสร้างครอบครัวใหม่กับเจ้าสาวคนสวยมากขึ้น
ส่วน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลังและรองนายกฯ ที่เดิมมีชื่อจะคืนถ้ำกระทรวงพาณิชย์ ยังนั่งที่เดิมต่อไป
เท่ากับว่า ทีมผลักดันนโยบายจำนำข้าว มีผู้เล่นมืออาชีพเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง
แต่จะทำอะไรได้แค่ไหน ทันเวลาหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ต้นเหตุของการปรับรอบนี้ มาจากความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายจำนำข้าว
ไฮไลต์คือ การควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม ของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็นการตัดสินใจของนายกฯที่ไม่มีใครรู้มากนัก
สื่อหลายฉบับพาดหัวว่า พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี จปร.16 จะมานั่งเก้าอี้ตัวนี้
บางส่วนให้ความสำคัญกับชื่อของ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต ที่จะโยกมาจาก รมช.คมนาคม
จุดสำคัญในการปรับ อยู่ที่ตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตัดสินใจดึงเอา นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มารับหน้าที่แทน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
เป็นการก้าวเข้าสู่ความรับผิดชอบที่หนักหนายิ่งขึ้นของนายนิวัฒน์ธำรง ที่ก่อนหน้านี้ไปบวช มุ่งมั่นกิจกรรมศาสนา
สุดท้ายรับคำขอให้กลับมาช่วยงาน และขยับตำแหน่งเข้าสู่เก้าอี้ที่ ร้อน ขึ้นเรื่อยๆ
โดย มีทีมงานเพิ่มขึ้นมา ได้แก่ นายยรรยง พวงราช อดีตปลัดฯตัวจี๊ดของกระทรวงพาณิชย์ ผู้ตั้งฉายาปลาบู่ชนเขื่อนให้นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค ปชป.
และ นายวราเทพ รัตนากร รมต.สำนักนายกฯ ที่จะควบตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ ดูแลปัญหาข้าวจากต้นทาง
ทำให้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ที่เพิ่งเข้าพิธีวิวาห์ในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ได้มีเวลากับการสร้างครอบครัวใหม่กับเจ้าสาวคนสวยมากขึ้น
ส่วน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลังและรองนายกฯ ที่เดิมมีชื่อจะคืนถ้ำกระทรวงพาณิชย์ ยังนั่งที่เดิมต่อไป
เท่ากับว่า ทีมผลักดันนโยบายจำนำข้าว มีผู้เล่นมืออาชีพเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง
แต่จะทำอะไรได้แค่ไหน ทันเวลาหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ต้นเหตุของการปรับรอบนี้ มาจากความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายจำนำข้าว
กลายเป็นไฟลนทำเนียบจนร้อนผ่าว ทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจเร่งการปรับ ครม.เข้ามา จากเดิมที่กำหนดไว้ในช่วงเดือนสิงหาคม
ด้วย บุคลิกของ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ที่อ้ำๆอึ้งๆ หลบหลีกสื่อ ไม่ตอบโต้ ทำให้รัฐบาลตกเป็นเป้านิ่งให้ฝ่ายค้านและเครือข่ายรุมถล่มอย่างมันมือ
แม้ จะมี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ มาช่วยใช้ฝีปากแหลมคมตอบโต้ แต่ถ้าสังเกตจะพบว่า ไม่ได้มีการแบ่งงานเรื่องข้าวให้นายณัฐวุฒิดูแล
ทำให้เสี่ยเต้นกลายเป็นเพียง แขกรับเชิญ มาปรากฏตัวเป็นครั้งคราวในอีเวนต์จำนำข้าว
หลัง จากโดนถล่มอย่างต่อเนื่อง นโยบายจำนำข้าว ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลมั่นใจและผลักดันเต็มแรงมาตลอด พลิกกลับกลายเป็นโครงการที่ โกง ครบวงจร และ เจ๊ง ครบวงจร
ขั้นตอนต่อไปของการจำนำข้าว เป็นหน้าที่ของ นายนิวัฒน์ธำรง และคณะ จะต้องกอบกู้ความเชื่อมั่นกลับมา สร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น
ต้องชี้ให้เห็นถึง ประโยชน์ ของโครงการนี้ ผู้รับประโยชน์ตัวจริง และผู้ที่เข้ามาหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
ที่ สำคัญ ต้องมีการวางแผนการในการผลิตข้าวคุณภาพที่ใช้เวลาพอสมควร ไม่ใช่ปลูกกันแบบหายใจหายคอไม่ทัน เน้นเร่งผลผลิตออกขาย จนรัฐบาลเองก็หมุนเงินไม่ทัน
ขณะที่โรงสี พ่อค้า อาศัยจังหวะชุลมุน ใช้สารพัดเล่ห์ รวมถึงการเบี้ยวดื้อๆ อย่างการรับซื้อข้าวแต่ไม่ออกใบประทวนของโรงสีที่มีนักการเมืองชื่อดัง หนุนอยู่
ทำให้กระแสความเชื่อว่า รัฐบาลโกงจำนำข้าว สะพัดไปทั่ว
แวดวงโซเชียลมีเดีย หากเอ่ยถึงจำนำข้าว ก็คือการวิพากษ์รัฐบาลจนเละไม่มีชิ้นดี
ผสมกับอีกมรสุม จากคำตัดสินของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่
27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ระบุว่า รัฐบาลละเลยการทำ ประชาพิจารณ์ ในการประมูลจัดทำมาตรการป้องกันน้ำท่วมมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิชุมชน
และตาม สูตรก็ต้องมีการโหมกระหน่ำผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อย่างกรณี เค วอเตอร์ ที่ประมูลงานได้ กลายเป็นบริษัทที่มีหนี้สิน700 เปอร์เซ็นต์ และสารพัดความไม่ชอบมาพากล
ขณะที่มูดี้ส์องค์กรระดับโลก ให้เกรดบริษัทนี้ไว้ในระดับเอบวก
แต่ปัญหาก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยบินไปเยี่ยมชมบริษัทนี้ จนถูกนำไปเชื่อมโยงว่า เค วอเตอร์ ได้งานเพราะ ทักษิณ
ร้อนถึงเค วอเตอร์ ต้องส่งเจ้าหน้าที่บินตรงมาแถลงชี้แจงในประเทศไทย
ผลที่จะตามมาจากปัญหาจำนำข้าว และแผนจัดการน้ำ ก็คือปัญหาข้อกฎหมาย ที่อาจลงเอยด้วยการพ้นจากตำแหน่งของรัฐบาล
เพราะจะต้องมีการยื่นถอดถอนผ่านทางองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. ก่อนจะนำเสนอคำฟ้องต่อศาลที่เกี่ยวข้อง
อันเป็น โมเดล เดียวกับที่ทำให้พรรคเพื่อไทยในเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ โดนยุบมาแล้ว
การเมืองได้ย้อนกลับไปสู่ห้วงเวลาชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
การ ปรากฏขึ้นของหน้ากากขาว, ชุดเขียวที่สนามหลวง, ไทยสปริง, การยื่นฟ้องในคดีต่างๆ ทั้งมาตรการจัดการน้ำ, จำนำข้าว, แก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านบาท
ทั้งหมดมาในคอนเซ็ปต์ต้านรัฐบาลโกง, ขายชาติ ที่ได้ผลมาตลอด
เหตุ ที่ต้องลุยเผด็จศึกรัฐบาลในช่วงเวลาเดือนกรกฎาคม ก็เพราะว่าหากเปิดสภา กฎหมายสำคัญอย่าง ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท, การแก้ไขรัฐธรรมนูญ, ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แถมมีร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ฉบับยกเข่ง เข้าสู่การพิจารณา
หากสภาไฟเขียวกฎหมายเหล่านี้ ก็เท่ากับปลดล็อกการเมือง พ้นจากกรอบของรัฐประหารปี 2549 ผ่านทางรัฐธรรมนูญปี 2550
รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะกลายเป็นพยัคฆ์ติดปีก ขณะที่่เครือข่ายอำนาจเดิมจะหมดเวทีเล่นทันที
สถานการณ์จะเดินไปสิ้นสุดตรงไหน รัฐบาลจะล่มสลาย หรือจะเดินหน้าต่อไปได้ ขึ้นกับตัวแปร 4-5 ประการ
ทั้ง เรื่องความชอบธรรมของใครมากกว่า ซึ่งแยกไม่ออกจากความเชื่อว่ารัฐบาลโกงหรือไม่ / กองทัพ / มวลชนของแต่ละฝ่าย และประชาชนทั่วไปเชื่อใครและจะปกป้องใคร / ศาลและองค์กรอิสระ และ กระแสต่างประเทศ
ทั้งหมดนี้ หากใครเดินนอกเส้นทางประชาธิปไตยและความเป็นธรรม โอกาสที่สังคมไทยจะเดินหลุดจากเส้นทางไปสู่วงจรความรุนแรงอีกครั้ง ก็ยังมีอยู่
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น