หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กองกำลังทหารตำรวจสร้างความสงบหรือความรุนแรงในภาคใต้?

แดงสังคมนิยม

กองกำลังทหารตำรวจสร้างความสงบหรือความรุนแรงในภาคใต้? 

 
 

โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์
 
การ ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่มีประโยชน์สองด้านคือ จะลดการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความโกรธแค้นที่หลาย ฝ่ายมีต่อรัฐ และจะปิดช่องที่ทหารบางกลุ่มใช้ในการสร้างสถานกรณ์ความรุนแรงเพื่อชักงบ ประมาณลงในพื้นที่


สำหรับคนที่ข้องใจว่า “ถ้าถอนทหารตำรวจออกไป ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ แล้วจะมีใครปกป้องประชาชน?” สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ การมีทหารและตำรวจในสามจังหวัดในรอบห้าสิบปีเคยห้ามความรุนแรงและปกป้องประชาชนจริงหรือ? คำตอบคือ “ไม่” แถม ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวลงด้วยซ้ำเพราะทหารและตำรวจเป็นผู้สร้างความรุนแรงและ ความกลัวแต่แรก ไม่ว่าจะด้วยการครอบครองพื้นที่ การสร้างสถานการณ์ การฆ่าวิสามัญเพื่อปราบยาเสพติด หรือการอุ้มฆ่าหรือปราบวัยรุ่นที่คิดแบ่งแยกดินแดน ทหารและตำรวจยึดครองพื้นที่ภาคใต้เหมือนการยึดครองอาณานิคม วัตถุประสงค์คือการคุมพื้นที่สำหรับชนชั้นปกครองไทย ไม่ใช่การปกป้องประชาชนพุทธ์หรืออิสลาม ดังนั้นการถอนทหารและตำรวจออกไปเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความสงบอย่างชัดเจน 


ถ้าสังคมเราจะยอมรับความหลากหลายของพลเมือง เราต้องมีการเรียนการสอนประวัติศาสตร์จากหลายมุมมอง ควรมีการเรียนหลายๆ ภาษาในโรงเรียนทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ภาษาไทย อังกฤษ หรือบางครั้งภาษาจีน ควรสอนภาษามาลายู อักษรอาหรับ ภาษากะเหรี่ยง ควรแยกศาสนาออกจากระบบโรงเรียนเพื่อให้เป็นประเด็นส่วนตัว ไม่ควรมีการบังคับสวดมนต์แบบพุทธ ควรเปิดกว้างเรียนรู้หลากหลายความเชื่อ เช่นพุทธ อิสลาม คริสต์ ผีสางนางไม้ วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ หรือแนวคิดอื่นๆ ของมนุษย์ และควรมีการประกาศใช้วันเทศกาลสำคัญของจีนและอิสลามให้เป็นวันหยุดราชการและ วันหยุดภาคเอกชนด้วย และควรมีการทบทวนแนวคิดชาตินิยม แต่ในระยะสั้นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเราพร้อมจะเคารพคนในพื้นที่ว่ามีความสามารถ ในการปกครองตนเอง และในการดูแลสังคม คือการเลิกกลัวว่าถ้าไม่มีกองกำลังของรัฐไทยตรงนั้นทุกอย่างจะปั่นป่วน


อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ ต้องถอนทหารออกจากการเมืองไทย คนอย่างประยุทธ์มือเปื้อนเลือด ไม่ควรมีสิทธิ์หน้าด้านอ้างรัฐธรรมนูญที่พวกเขาฉีกทิ้งเป็นประจำ เพื่อปฏิเสธข้อเสนอของ บีอาร์เอน และเขาไม่ควรมีสิทธิ์แสดงความเห็นกับสื่อเรื่องนโยบายการเมือง โดยเฉพาะเรื่องภาคใต้ ทหารอย่าง พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาสำนักงานความมั่นคงฯ ไม่ควรนำการเจรจากับ บีอาร์เอน มันควรจะเป็นการเจรจาทางการเมืองที่นำโดยผู้แทนการเมืองที่มาจากการเลือก ตั้งแทน



ในขณะเดียวกันผมมีคำถามต่อองค์กร บีอาร์เอน คือ บีอาร์เอน จะปกป้องสิทธิ์ของคนกลุ่มน้อยในภาคใต้หรือไม่ ผมหมายถึงประชาชนที่ไม่ใช่มาเลย์มุสลิม และอีกคำถามหนึ่งคือ บีอาร์เอน จะสร้างพรรคการเมืองมวลชนอย่างเปิดเผย ที่สนใจประเด็นทางสังคมหรือไม่ เช่นความยากจน รัฐสวัสดิการ สิทธิแรงงาน หรือสิทธิสตรี เพราะถ้าไม่ครองใจประชาชนจำนวนมากจะไม่มีวันเปลี่ยนสภาพภาคใต้ได้

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น