หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นิรโทษ-แก้รธน.

นิรโทษ-แก้รธน.



โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข


ม้วน ไปม้วนมาหลายตลบ ล่าสุด มีคำยืนยันว่า การประชุมสภาวันพุธที่ 7 สิงหาคมนี้ จะเป็นวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย

เป็นกฎหมายร้อนอีกฉบับหนึ่ง ฝ่ายค้านประกาศจองกฐินค้านแล้ว และอาจมีพลังเสริมนอกสภามาสมทบ

ขณะ ที่ ส.ส.เสื้อแดงเอง ก็ยอมถอยไม่ได้อีกเหมือนกัน เพราะโดนด่าเปิงเหมือนกันว่าเข้าสภามาทำไมไม่ติดตามความยุติธรรมให้ประชาชน ที่ถูกจับกุมคุมขัง

คนคิดหนักคือแกนนำพรรครัฐบาล เพราะอยากจะออกสตาร์ตสวยๆ ด้วยร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2557 มากกว่าให้ผ่านๆ ไป ชิงความได้เปรียบไว้ก่อน แต่ปรากฏว่ายังพิจารณาไม่เสร็จ

กว่าจะเสร็จก็ประมาณ 14-15 ส.ค.

แต่ครั้นจะเอากฎหมายนิรโทษกรรมเข้าในช่วงว่าง คือวันที่ 7 ส.ค. ก็กลัวจะวุ่นวายติดพันไปกระทบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ

เลยถกเถียงกันมากหน่อยว่า จะเอากฎหมายอะไรมายัดใส่

ถ้า เป็นไปตามที่สรุปสุดท้าย คือให้เป็นคิวของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็น่าสนใจเหมือนกันว่าการพิจารณา การผลักดัน และการต่อต้าน จะเป็นแบบไหน

จะเกิดเหตุขว้างปา ฉกเก้าอี้ประธาน เหมือนที่เคยเกิดเหตุเมื่อต้นปี 2555 หรือไม่


หรือว่าจะยกระดับเป็นแบบนัดแบดมินตันไทย เอ-อาท ที่ไปฟาดกันที่แวนคูเวอร์

ก็หวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะใช้วุฒิภาวะ อดกลั้น พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ในกรอบของข้อบังคับ

ส่วน กฎหมายสำคัญอีกฉบับ ที่ก่อนหน้านี้ มีข่าวว่าจะนำมาเสียบในวันที่ 6-7 ส.ค.แทน กม.นิรโทษกรรม ได้แก่ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว พร้อมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ในวาระ 2-3

วันก่อน หน้าการเมืองมติชน ลงสัมภาษณ์ สามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไข มีสาระน่าติดตาม

สรุป ความว่า ตามมติของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ส.ว.จะมี 200 คน มาจากการเลือกตั้่งทั้งหมด โดยตั้งจำนวนเฉลี่ยประชากรต่อ ส.ส. ขึ้นมาเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ส.ว.อยู่ได้ 6 ปี ลงสมัครต่อเนื่องได้

รวมๆ แล้ว ลดข้อห้ามข้อจำกัดลงไปมากเหมือนกันและเนื่องจาก ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบัน จะสิ้นวาระในวันที่ 2 มี.ค.2557 แต่ยังมี ส.ว.สรรหา ที่ต้องอยู่ในวาระต่อไปจนสิ้นวาระ ก็จะต้องหาข้อสรุปว่า จะให้ ส.ว.สรรหาสิ้นวาระเมื่อไหร่ จะให้จบไปพร้อมกัน หรือให้เป็นจนสิ้นวาระ แต่ห้ามใช้อำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอน

นั่นคือหน้าตาของหนึ่งในร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กรรมาธิการไปตกแต่งมาเรียบร้อย แต่จะเป็นไปตามนี้หรือไม่ ต้องให้ที่ประชุมสองสภาลงมติอีกที

ทั้ง กม.นิรโทษกรรมและร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นประเด็นใหม่ในบ้านเมือง แต่ถึงที่สุดก็คือความพยายามกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติเหมือนบ้านเมืองอื่นเขา

ถ้าไม่สะดุดเสียก่อนด้วยเหตุในหรือนอกสภา



(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374753549

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น