หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิจารณ์มั่วเรื่องอียิปต์ บทความเรื่องอียิปต์ที่วิจารณ์ “นักวิชาการสังคมนิยมท่านหนึ่ง”

วิจารณ์มั่วเรื่องอียิปต์ บทความเรื่องอียิปต์ที่วิจารณ์ “นักวิชาการสังคมนิยมท่านหนึ่ง”


 
ความยากยิ่งในการพยากรณ์การเมืองอียิปต์
http://www.prachatai.com/journal/2013/08/48396 

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ เขียนบทความเรื่องอียิปต์ที่วิจารณ์ “นักวิชาการสังคมนิยมท่านหนึ่ง” เดาว่าเป็นผม แต่ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ ไม่มีมาตรฐานวิชาการพอ เพราะไม่กล้าเอ่ยชื่อและไม่กล้าอ้างอิงบทความของ ผมโดยตรง เพื่อให้คนไปอ่านและตัดสินใจเอง เพราะอรรถสิทธิ์ไปบิดเบือนสิ่งที่ผมเขียน เช่นการกล่าวหาผมว่าผมเขียนว่า “มวลชน” เป็นกรรมาชีพหมด เป็นต้น และสิ่งที่ตลกที่สุดคือมองว่าผมเป็นผู้วิเคราะห์สถานการณ์ในอียิปต์ แต่ในความเป็นจริงผมอาศัยการวิเคราะห์ของสหายอียิปต์จากองค์กรสังคมนิยม ปฏิวัติต่างหาก สหายพวกนี้อยู่ในพื้นที่ เคลื่อนไหวมานานก่อนการล้มมูบารักด้วยซ้ำ และถึงแม้ว่ามีบทบาทในการกระตุ้นการต่อสู้ในหลายช่วง เขายอมรับว่าองค์กรของเขาเล็กเกินไปที่จะนำ

สหายสังคมนิยม ปฏิวัติอียิปต์ได้วิเคราะห์ลักษณะของพรรคมุสลิมมานาน ว่ามีแกนนำที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ในขณะที่มวลชนของพรรค โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ก้าวหน้ากว่ามากและร่วมในการล้มมูบารักทั้งๆ ที่แกนนำไม่เห็นด้วย และที่สำคัญคือพรรคมุสลิมมิได้เป็นพรรคที่จะนำ “การเมืองอิสลามสุดขั้ว” มาครอบงำสังคมอย่างที่พวกชนชั้นกลางเสรีนิยมชอบอ้าง พรรคมุสลิมในตูรกีก็เช่นกัน

อรรถสิทธิ์ เขียนว่า “ความหวาดกลัวและความเกลียดชังต่ออิทธิพลของพวกเคร่งศาสนาอิสลามย่อมเป็นตัว เร่งขนานใหญ่” แต่นั้นอธิบายไม่ได้ว่าทำไมคนที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคมุสลิมมีส่วนในการไล่ มูรซี่ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของมวลชน 17 ล้านคนที่ออกมาในวันที่ 30 มิถุนายน

อรรถสิทธิ์ แสดงความโง่เขลาทางวิชาการเรื่อง “เสรีนิยมกลไกตลาด” เพราะมองว่าต้องเป็นแค่กรรมาชีพเท่านั้นถึงจะไม่พอใจ แต่ในความเป็นจริงนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมกลไกตลาดทำให้คนจนทั้งหมด รวมถึงเกษตรกร และคนชั้นกลางด้วย เดือดร้อนกันทั้งนั้น และไม่เฉพาะในอียิปต์ ในยุโรปก็เหมือนกัน และประเด็นเศรษฐกิจกลไกตลาดนี้เป็นประเด็นที่จุดประกาย “อาหรับสปริง” แต่แรก และเมื่อเราพิจารณานโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด เราไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้ถ้าไม่ใช้กรอบชนชั้น

การใช้กรอบชน ชั้นไม่ได้หมายถึงการพูดถึงกรรมาชีพอย่างเดียว มันเป็นวิธีมองสังคมทั้งหมด อย่างไรก็ตามหลายคนคนที่วิเคราะห์ทุกอย่างโดยเน้นเบื้องบน หรือคนที่ปิดหูปิดตาถึงกรรมาชีพ จะมองไม่เห็นบทบาทของการนัดหยุดงานที่เป็นเรื่องชี้ขาดในการไล่มูบารัก และนี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทหารอิยิปต์ดึงผู้นำสหภาพแรงงานที่ไร้จิตสำนึก มาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทหารปัจจุบัน

แน่นอนสิ่งที่ ผมและอรรถสิทธิ์มองตรงกัน คือความแย่ของพวกชนชั้นกลางเสรีนิยมที่ออกมาสนับสนุนการเข่นฆ่าของทหาร แต่สหายสังคมนิยมปฏิวัติอียิปต์ก็อธิบายว่า ในจำนวน 17 ล้านคนที่ออกมาไล่มูรซี่ คงต้องมีคนธรรมดาที่ใหม่กับเรื่องการเมืองมากมาย และความหวังคือ พวกนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นคนชั้นกลางเสรีนิยม จะตาสว่างเกี่ยวกับกองทัพในไม่ช้า แต่ในโลกจริงมันไม่เคยมีหลักประกันอะไร 

(ที่มา) 
Turnleft Socialist Thailand องค์กรเลี้ยวซ้าย-สังคมนิยม    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น