หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่องของยางพารา

เรื่องของยางพารา



โดย วัฒนะ วรรณ

ยางพารา ถือว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นเดียวกับ น้ำมัน น้ำตาล ข่าว ที่ผลิตจากที่แหล่งไหน ประเทศใด ก็คล้ายกัน ใช้ทดแทนกันได้

ดังนั้น ราคาตลาดของยางพารา จึงถูกกำหนด โดยตลาดโลก ซึ่งขึ้นตรงต่อภาวะเศรษฐกิจโลก

เหตุผลที่ราคาตกเรื่อยมา เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ รุกลามไปยุโรป กระทบชิ่งไปญี่ปุ่น เรื่อยมาจนถึงจีน ที่ใครๆ เคยบอกว่าจะเป็นหลุมเพาะจากวิกฤตสหรัฐ แต่จีนกับสหรัฐมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจมาก จึงไม่รอด

เหตุผลที่ราคายางปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้านี้ ก็เป็นผลของการเจริญเติบโต ของเศรษฐกิจจีน เพราะเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ขนาดใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะยางพาราเท่านั้นที่ราคาสูงขึ้น ถ่ายหิน น้ำมัน ฯลฯ ก็สูงขึ้นมากเช่นกัน

ราคายางจะถูกหรือว่าแพง ในภาพใหญ่ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยมาก กับฝีมือการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นทักษิณ หรืออภิสิทธิ์ มันขึ้นอยู่กับว่า ใครจะเข้ามารับตำแหน่งในช่วงนี้ไหนเท่านั้น

การบริหารของรัฐแต่ละยุคสมัย กระทำได้เพียงการพยุงราคาไม่ตกต่ำ จนกระทบกับความเดือดร้อนของเกษตรกร เท่านั้น วิธีการหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ก็เอาเงินมารับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จะเก็บไว้ หรือขายขาดทุน ก็สุดแท้แต่


แต่คำถามสำคัญคือจะพยุงให้สูง ถึงขนาดไหนถึงเป็นธรรม พี่น้องเกษตรกรจึงจะอยู่ได้ และต้องใช้เงินเท่าไร ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ ต้องคิดประกอบกันในแง่การบริหาร

แต่เกษตรกรปลูกยาง นั้น มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับยากจนมีไม่กี่สิบไร จนถึงระดับร่ำรวยมีเป็นพันเป็นหมื่นไร่ ขอบเขตการพยุงควรกินพื้นที่กว้างขนาดไหน นี่ก็เป็นอีกประเเด็นที่ต้องถกเถียง

การจะให้ราคายางกลับตัวไปในช่วงที่สูงมากๆ ในอดีต คงเป็นเรื่องยาก เพราะเศรษฐกิจเจอวิกฤตเรื้อรัง คงไม่หายได้ง่ายๆ ในเร็ววัน และยังมีการแพร่เชื่อไปที่อื่นๆ ด้วย ล่าสุดที่ก็อินเดีย คิวต่อไป ก็กลุ่ม TIP(ไทย อินโด ฟิลิปปินต์)

ประเทศไทยกลุ่ม TIP ที่ไม่กระทบเท่าไร เพราะมีเงินทุนไหลเข้ามามากเป็นผลมาจากนโยบาย GE คือรัฐบาลสหรัฐ พิมพ์ธนบัตรออก มาในระบบมาก ผ่านการพันธบัตร ทำให้สภาพคล่องในโลกล้น และล่าสุดธนาคารสหรัฐมีแนวโน้มจะลดและยกเลิกนโยบายนี้ ในปลายปี จนถึงกลางปีหน้า

ส่งผลมีเงินทุนไหลออกจากประเทศไทย เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ต้นปี สูงถึง แสนกว่าล้านบาท


การวิพากษ์วิจารณ์ ม็อบสวนยาง ในมิติเศรษฐกิจทุนนิยม โดยพยายามอธิบายกันว่า ราคาสินค้า ชนิดต่างๆ ในสังคมนี้ ล้วนมีขึ้น มีลง ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระเอง แนวคิดเช่นนี้ถูกเพียงครึ่งเดียว

ภายใต้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ใช้กลไกตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนนั้น ราคามีขึ้นมีลงจริง แต่มิได้ขึ้นลงโดยตัวของมันเอง แต่มีกระบวนการทำให้ขึ้นลง ในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับโลกเรือยมาจนถึงระดับท้องถิ่น ซับซ้อนบ้าง ไม่ซับซ้อนบ้าง

ดังนั้นหน้าที่ของรัฐทุกรัฐ ก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือโดยยึดหลักผลประโยชน์ของผู้เดือดร้อนเป็นตัวตั้ง ซึ่งมีทั้งกลไกการเมือง กลไกการคลัง และอีกหลายๆ วิธี แต่ทุกวิธีต้องใช้เงินคลังมาช่วย

รัฐบาลไทยทุกรัฐ ได้งบประมาณมหาศาลกับงานพิธีกรรมที่ไม่ก่อประโยชน์ กับงบประมาณทหาร กับการอุดหนุน อุ้มนายทุน ผู้ประกอบการ ในหลายมิติ ทั้งลดภาษี แทรกแซงค่าเงิน ฯลฯ แต่กลับไม่มีใครออกมาวิจารณ์ ทีกับเกษตรกรออกมาเรียกร้อง เพียงแค่นี้ กลับบอกว่าปล่อยให้เป็นเรื่องกลไกตลาด ซึ่งกลไกตลาดไม่เคยทำงานจริง ตามที่ อดัม สมิท เจ้าสำนักเคยว่าไว้


(ที่มา)
Turnleft Socialist Thailand องค์กรเลี้ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น