หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศาลโปรดอย่าก้าวล่วงพระราชอำนาจ

ศาลโปรดอย่าก้าวล่วงพระราชอำนาจ


 

โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์


 สังคมไทยเริ่มชินชากับการที่ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ขยายอำนาจเข้าไปตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่ง 'รัฐสภา' แก้ไขให้ 'ประชาชน' มีโอกาสเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สมาชิกวุฒิสภา ประหนึ่งว่าหากประชาชนชาวไทยจะมีโอกาสเลือกผู้แทนตนเองได้ ก็จะต้อง 'ขออนุญาต' จากศาลซึ่งประชาชนไม่ได้เลือกมาเสียก่อน

เรื่องนี้นอกจาก ละเมิดสามัญสำนึกทางประชาธิปไตยแล้ว ยังเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง โดยศาลกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  ทั้งด้านเนื้อหา กล่าวคือ ศาลนำเรื่องการใช้อำนาจของรัฐสภาไปปะปนกับเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพของ ประชาชนและพรรคการเมือง อีกทั้งละเมิดกระบวนการโดยเบียดบังอำนาจของอัยการสูงสุดเพื่อนำอำนาจนั้นมา ไว้กับตนให้รับพิจารณาคดีได้เองแต่ผู้เดียว

การขยายอำนาจเช่นนี้อาจ เป็นเพราะศาลมีความปรารถนาดีว่า 'ประชาธิปไตย' ไม่ใช่เรื่องของ 'เสียงข้างมาก' เท่านั้น แต่เสียงข้างมากต้องถูกตรวจสอบถ่วงดุลได้

การ ตรวจสอบถ่วงดุลนั้นสำคัญจริง แม้แต่กรณีที่รัฐสภาเสียงข้างมากจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็เช่นกัน กระบวนการทั้งหมดต้องมีขั้นตอนให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยได้แสดงความเห็นและเสนอ แนะคัดค้าน มิอาจรวบรัดตัดตอนให้แล้วเสร็จในทันทีได้ เช่น มีกรรมาธิการที่มีสัดส่วนและมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาที่อภิปรายหรือลง มติอย่างเปิดเผยให้สังคมร่วมตรวจสอบทั้ง 3 วาระ

คำถามสำคัญก็คือ เมื่อรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแล้ว  จะยังมีผู้ใดที่จะตรวจสอบถ่วงดุลรัฐสภาได้?

คำตอบนั้น หาใช่ ศาลรัฐธรรมนูญ หาใช่ รัฐสภา และ หาใช่ คณะรัฐมนตรี

แต่เป็น "พระราชอำนาจ" โดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ซึ่งยึดโยงกับจิตสำนึกและเจตจำนงของปวงชน

ทั้ง นี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ประกอบกับ มาตรา 151 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญและส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมให้นายกรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วันเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งเมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ผู้ที่จะยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ผู้เดียว ก็คือ พระมหากษัตริย์

โดย หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญคืนมายัง รัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษากันว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร หากรัฐสภาทบทวนแล้วเกิดความยับยั้งชั่งใจว่าไม่ควรดำเนินการต่อ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ยังประกาศใช้ไม่ได้

แต่หากรัฐสภามีมติยืนยันตาม เดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีก ครั้งหนึ่ง

ซึ่งเมื่อรัฐสภาได้มีมติยืนยันเช่นนี้ หากพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็ดำเนินการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ ที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป แต่หากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และไม่พระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจา นุเบกษาใช้บังคับได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว


(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2013/11/49862

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น