หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ละครนิรโทษกรรมเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่ายที่จะเบี่ยงเบนประเด็น

ละครนิรโทษกรรมเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่ายที่จะเบี่ยงเบนประเด็น

 
    
การ วิ่งเต้นโวยวายเรื่องร่างกฏหมายนิรโทษกรรมที่เราเห็นอยู่ในขณะนี้ จากทั้งสองฝ่าย คือฝ่าย “แช่แข็ง” กับฝ่าย “รัฐบาลเพื่อไทย” เป็นโอกาสทองสำหรับผู้มีอำนาจในพรรคเพื่อไทยและพวกอนุรักษ์นิยมรวมถึงทหาร เพราะมันทำให้ประเด็นสำคัญๆ หายไป นั้นคือการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในไทยด้วยการนำทหารและนักการเมืองที่ สั่งฆ่าประชาชนมาขึ้นศาล การลงโทษผู้ที่ก่อรัฐประหาร และการยกเลิกกฏหมายที่ทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยเฉพาะ112 

สำหรับ ฝ่ายแช่แข็งอนุรักษ์เผด็จการ การถกเถียงกลายเป็นการต่อรองกับเพื่อไทยและทักษิณ มีการพยายามยกเรื่องทักษิณมาพูดตามเคย และปกปิดอาชญากรรมของทหารและประชาธิปัตย์ ถือว่าเป็นการกดดันให้นักโทษการเมืองติดคุกนานๆ ต่อไป และเพื่อไม่ให้แตะกฏหมาย112 ที่ปกป้องทหารด้วยหน้ากากกษัตริย์

สำหรับ รัฐบาลเพื่อไทย และนปช. ความสับสนและข่าวลือต่างๆ รวมถึงการมีร่างกฏหมายนิรโทษกรรมร้อยแปดฉบับ เป็นโอกาสดีสำหรับพวกนี้ ที่จะสร้างความคลุมเครือ ให้เสื้อแดงนิ่งเฉยไม่ออกมาชุมนุม และยอมรับการประนีประนอมแย่ๆ กับทหาร กับการจบลงแย่ๆ ด้วยความรู้สึกว่า “อย่างน้อยเราได้บางอย่าง” แต่ได้อะไรนั้นอีกเรื่อง

คำ ถามที่เราควรถามคือ พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลมาหลายปีแล้ว ทำไมไม่มีการนำนายพลและนักการเมืองมือเปื้อนเลือดมาขึ้นศาล ทำไมนักโทษการเมืองเสื้อแดงไม่ถูกปล่อยในขณะที่พวกปิดสนามบินมีเสรีภาพ และทำไมไม่ทำอะไรกับกฏหมายแย่ๆ อย่าง 112?

คน อย่าง สมยศ สุรชัย ดาตอร์ปิโด ไม่เคยก่ออาชญากรรมและไม่ได้ใช้ความรุนแรง แต่เพื่อไทยกับ นปช. มองว่า “ต้อง” ติดคุกตลอดชีวิต ในขณะที่อาชญากรแท้ที่มีเสรีภาพลอยนวล เช่น ประยุทธ์ อนุพงษ์ อภิสิทธิ์ อนุพงษ์ และสนธิ นี่คือสูตรสำหรับการปกป้องสังคมไทยที่ไร้สิทธิมนุษยชน

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น