หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เวทีสัมมนาวิชาการสหพันธ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ครั้งที่ 1

เวทีสัมมนาวิชาการสหพันธ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ครั้งที่ 1



สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย-สปป.'s photo.

ปิยบุตร แสงกนกกุล 1 สปป.สัมมนาสัญจร ขอนแก่น 26-12-2013
https://www.youtube.com/watch?v=GbO2z_AiOlg#t=18 

สมชัย ภัทรธนานันท์ สัมมนาวิชาการ สปป.ครั้งที่ 1
https://www.youtube.com/watch?v=THSvEEtUHq8 

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ สัมมนาวิชาการ สปป.ครั้งที่ 1 (ขอนแก่น)
https://www.youtube.com/watch?v=Mivu5htNRSY

บัวพันธ์ พรหมพักพิง สัมมนาวิชาการ สปป.ครั้งที่ 1 (ขอนแก่น)
https://www.youtube.com/watch?v=HmMpk2VEGpY


ขอนแก่น: สปป.อภิปราย“รัฐบาลพระราชทาน สภาประชาชน อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตย"

สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) ผนึก สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) เดินสายเสวนาวิเคราะห์กำหนดแนวทางเคลื่อนไหวมวลชนผู้รักประชาธิปไตยภาคอีสาน แถลงข้อเสนอต่อรัฐบาล,ทหาร ประกาศท่าทีทางการเมือง ยืนยันต้องแก้ปัญหาโดยการเลือกตั้ง


วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม 2556 สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดเวทีสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 1  ในหัวข้อ “รัฐบาลพระราชทาน สภาประชาชน อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตย : ประชาชนไทยต้องการเลือกตั้ง” ณ อาคารขวัญมอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการร่วมจัดกิจกรรมระหว่าง 2 องค์กร คือ สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) และ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ซึ่งมีนักวิชาการร่วมอภิปรายทั้งหมด 4 คน ได้แก่ 1.อาจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3.รองศาสตราจารย์ ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็น จำนวนมาก

นักวิชาการทั้ง 4 ท่านมีความเห็นร่วมกันว่าหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามกำหนดการเดิม อาจจะนำไปสู่เงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงได้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ต้องการการเลือกตั้ง นอกจากนี้ได้นำเสนอผลวิจัยที่ชี้ว่าคนชนบทมีความตื่นตัวทางการเมืองและมี ความเข้าใจประชาธิปไตยมากกว่าคนชั้นกลาง และเกิดความหวังการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่โดยมีคนชั้นล่างเป็นตัว แสดงที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง
 
(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น