หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปากคำป้าเสื้อแดงคลิป ‘รับจ้าง 200’ เหตุหน้ารามฯ บาดแผลสำหรับผู้ชื่นชอบระบอบทักษิณ

ปากคำป้าเสื้อแดงคลิป ‘รับจ้าง 200’ เหตุหน้ารามฯ บาดแผลสำหรับผู้ชื่นชอบระบอบทักษิณ



 
รอยแผลที่แขนนางกองแก้ว โพธิจันทร์ อายุ 50 ปี (ถ่ายเมื่อ 3 ธ.ค.56)
 
 
รอยแผลที่ก้นของนางกองแก้ว โพธิจันทร์ อายุ 50 ปี (ถ่ายเมื่อ 3 ธ.ค.56)

 
[คลิปร้องเรียน] ผู้ชุมนุม นปช. ถูกบังคับให้สัมภาษณ์หลังเหตุรามคำแหง

ท่ามกลางฝุ่นควันความรุนแรงที่ย่านรามคำแหงเมื่อวันที่ 30 พ.ย. ต่อเนื่องถึงวันที่ 1 ธ.ค. มีคลิปมากมายที่ถูกเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม บ้างเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง บ้างเป็นคลิปที่ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หนึ่งในคลิปที่ได้รับการแชร์มากที่สุด คือ คลิปป้าเสื้อแดง 2 คนที่ออกมายอมรับว่ารับจ้างมาชุมนุมที่ราชมังคลากีฬาสถาน โดยมีการเผยแพร่กันตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่เหตุการณ์การปะทะเริ่มเบาบางลงและ นปช.ตัดสินใจยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมทยอยกันออกจากสนามกีฬา

ในคลิปดังกล่าว ปรากฏภาพกลุ่มผู้ชายยืนล้อมหญิงวัยกลางคนและหญิงสูงอายุ หญิงวัยกลางคนตอบคำถามยอมรับต่อหน้ากล้องว่าได้รับการจ้างให้มาชุมนุมวันละ 200 บาท

ดูเผินๆ เหตุการณ์นี้ไม่น่าจะมีอะไร เป็นการเปิดโปงความจริงจากปากคำของหญิงสองคนที่นั่งยองๆ ท่ามกลางวงล้อมของชายฉกรรจ์ เพียงแต่บังเอิญว่าผู้หญิงหนึ่งในนั้นเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ระดับนำของคนเสื้อแดงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

มีผู้คนรู้จักเธออยู่ไม่น้อย หลายคนเกิดความงุนงงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุใดเธอจึงพูดเช่นนั้น ความพยายามติดต่อเธอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทั้งนักกิจกรรม ผู้สื่อข่าว ฯลฯ แต่เธอไม่รับโทรศัพท์ของใครทั้งสิ้น จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านไปหลายวัน จึงสามารถติดต่อเธอได้

การพูดคุยกันทำให้ทราบถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่ายที่ กระทำต่อผู้ชุมนุม แม้ความรุนแรงจะเกิดขึ้นเพียง 2 วัน 1 คืน สื่อมวลชนรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ผู้มีสถานะทางสังคมที่ออกมาให้ความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ แต่สิ่งที่มองไม่เห็นคือ ความรุนแรงย่อยๆ ที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่มีปากมีเสียง มันเป็นภาพสะท้อนอันโหดร้ายและน่าสะพรึงกลัวท่ามกลางความแตกแยกที่มีอยู่ขณะ นี้ และไม่มีใครรับประกันได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีก กระทั่งลุกลามหนักหน่วงกว่านี้

คำแสน ไชยเทพ วัย 43 ปี คือหญิงที่ปรากฏในภาพ เธอเป็นคนเสื้อแดงตั้งแต่ปี 2551 ในเหตุการณ์ปี 2553 ลูกชายของเธอถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับการชุมนุมเมื่อปี 2553 ต่อมาเธอได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี ประชาไทโทรศัพท์สัมภาษณ์เธอเพื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ในวันดังกล่าว
คำแสนเล่าว่า เธอเดินทางพร้อมชาวบ้าน ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อมาร่วมชุมนุมกับ นปช.โดยว่าจ้างรถตู้จำนวน 8 คันในราคารถปิกอัพเนื่องจากคนขับรถตู้เองก็อยากมาร่วมชุมนุมด้วย พวกเขาเดินทางมาถึง กทม.ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 30 พ.ย. และเข้าร่วมชุมนุมในสนามกีฬาตามปกติ กระทั่งตอนเย็นที่เริ่มเกิดเหตุปะทะกัน เธอก็อยู่ภายในสนามกีฬา

เธอเล่าว่า คนในสนามมีจำนวนพอสมควร ทุกคนที่นั่งอยู่รู้ว่าเกิดความรุนแรงขึ้นภายนอก แต่บนเวทีไม่ค่อยมีการพูดเรื่องนี้ ซึ่งเธอคิดว่าเป็นเพราะแกนนำคงกลัวมวลชนจะตื่นตกใจ ขณะเดียวกันก็มีการประกาศห้ามคนในสนามออกไปด้านนอกด้วย

“สงสารคนกรุงเทพฯ มาก เขากลับไม่ได้ เราคนต่างจังหวัด เราเคยมาค้าง เราอยู่ได้ แต่คนกรุงเทพฯ ที่มา หน้าตาดีๆ อดหลับอดนอน ออกมาไม่ได้ อยู่กันจนสว่าง พวกเราที่ไปด้วยกันก็ไม่มีใครออกมาเพราะกลัว แต่มีคนเทียวออกมาเอาของที่รถตู้อยู่ การ์ดบอกให้หลบกระสุน ก็เห็นเขายิงกัน เห็นเขาหามคนเจ็บกันอยู่ แต่ไม่คิดว่าใครจะเสียชีวิต รถตู้ที่เราเอาไปจอดอยู่ที่ชั้น 2 ก็เพิ่งรู้คืนนั้นแหละว่า นั่นรามคำแหง ยังคิดว่า โห ทำไมมันใกล้กันจัง กำแพงเตี้ยๆ เอง”

จนถึงตอนเช้า แกนนำประกาศให้รอตำรวจมารับ ผู้คนในสนามรอคอยกันอยู่เป็นเวลานานก็ยังไม่เห็นวี่แววตำรวจ ในขณะที่อาหารและน้ำดื่มขาดแคลนตั้งแต่เมื่อคืน ห้องน้ำเต็ม ไม่สามารถใช้การได้ ทำให้คนจำนวนหนึ่งทยอยออกจากสนามเอง เมื่อเห็นดังนั้น คำแสนและพรรคพวกจึงออกมาขึ้นรถตู้เพื่อออกจากสนามกีฬา โดยนัดแนะกันว่าจะเลี้ยวขวาไปรอกันที่ปั๊มเชลล์ซึ่งอยู่ไม่ไกลแล้วจะยู เทิร์นกลับรถเพื่อเดินทางกลับบ้าน  รถตู้ 5 คันแรกดำเนินการได้ตามนั้น แต่มี 3 คันที่ยังติดค้างอยู่จนกระทั่งเกิดเหตุ

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น