“สุรพงษ์”แทน”ประชา” : การตัดสินใจผิดอีกครั้งของทักษิณ
โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ในวันนี้ ทักษิณกำลังตัดสินใจเสี่ยงและผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง
และการเสี่ยงครั้งนี้ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ทั้งในส่วนของบ้านเมือง
,พรรคเพื่อไทย และ รัฐบาล เลวลง
และจังหวะก้าวของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลก็จะเพลี่ยงพล้ำมากขึ้นไปอีก
ใน ช่วงก่อนเกิดวิกฤติทักษิณได้ตัดสินใจผิดพลาดอย่างมากในการดันให้ลูกน้องฝ่าย ของตนในพรรคเพื่อไทยเสนอการแก้ไขพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง” จนทำให้เกมส์การเมืองเปลี่ยนแปลงสวิงไปในอีกด้านหนึ่งอย่างสุดขั้ว อันส่งผลให้โอกาสการกลับเข้าประเทศของตนเองแทบจะปิดตายไปแล้ว
ความ พยายามจะแก้ไขสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำอย่างหนักของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจาก การตัดสินใจครั้งแรกได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการมองปัญหาและมีความแตก แยกของกลุ่มการเมืองในพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน ปีกของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์พยายามที่จะแสวงหาแนวทางการแก้ไขการเมืองด้วย การเมืองแบบประนีประนอมเพื่อพยุงสถานะของตนเอง ไม่ว่าการถอยจนสุดซอย การยอมรับไปเจรจา รวมทั้งการออกมาพูดสดโดยไม่มีโพย ( ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน)
นายก รัฐมนตรี (และกลุ่มของตนในพรรคเพื่อไทย ) พยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการแสดงให้เห็นชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะรับ ฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย และพร้อมที่จะไม่เป็นปัญหาต่อบ้านเมือง พร้อมกับย้ำจุดอ่อนของข้อเสนอสุเทพว่าเป็นไปไม่ได้ในทางกฏหมายรัฐธรรมนูญ การตอกย้ำความเหลวไหลของข้อเสนออีกฝ่ายหนึ่งเช่นนี้เริ่มทำให้สังคมมองเห็น ว่าการเดินตามสุเทพไปเรื่อยๆจะนำไปสู่ความยุ่งยากที่มากขึ้นไปอีก
ใน ช่วงก่อนเกิดวิกฤติทักษิณได้ตัดสินใจผิดพลาดอย่างมากในการดันให้ลูกน้องฝ่าย ของตนในพรรคเพื่อไทยเสนอการแก้ไขพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง” จนทำให้เกมส์การเมืองเปลี่ยนแปลงสวิงไปในอีกด้านหนึ่งอย่างสุดขั้ว อันส่งผลให้โอกาสการกลับเข้าประเทศของตนเองแทบจะปิดตายไปแล้ว
ความ พยายามจะแก้ไขสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำอย่างหนักของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจาก การตัดสินใจครั้งแรกได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการมองปัญหาและมีความแตก แยกของกลุ่มการเมืองในพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน ปีกของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์พยายามที่จะแสวงหาแนวทางการแก้ไขการเมืองด้วย การเมืองแบบประนีประนอมเพื่อพยุงสถานะของตนเอง ไม่ว่าการถอยจนสุดซอย การยอมรับไปเจรจา รวมทั้งการออกมาพูดสดโดยไม่มีโพย ( ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน)
นายก รัฐมนตรี (และกลุ่มของตนในพรรคเพื่อไทย ) พยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการแสดงให้เห็นชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะรับ ฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย และพร้อมที่จะไม่เป็นปัญหาต่อบ้านเมือง พร้อมกับย้ำจุดอ่อนของข้อเสนอสุเทพว่าเป็นไปไม่ได้ในทางกฏหมายรัฐธรรมนูญ การตอกย้ำความเหลวไหลของข้อเสนออีกฝ่ายหนึ่งเช่นนี้เริ่มทำให้สังคมมองเห็น ว่าการเดินตามสุเทพไปเรื่อยๆจะนำไปสู่ความยุ่งยากที่มากขึ้นไปอีก
ซึ่ง ต้องถือได้ว่าการเดินเกมส์ของนายกรัฐมนตรีเช่นนี้เป็นการตีตื้นทางการเมือง ขึ้นมาได้บ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการปรับสถานการณ์นัก เพราะนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้บอกถึงเจนตนารมณ์ตนเองในฐานะนายกรัฐมนตรีว่าตนเอง มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร
ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเดินแนวทางการเมือง ประนีประนอม ความเปลี่ยนแปลงอีกด้านหนึ่งกลับขัดแย้งกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีแสดงออกนั่น ก็คือการเปลี่ยนตัวผู้ควบคุมดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ( ศอ.รส.) จากพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก มากเป็นนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
การ เปลี่ยนแปลงตัวหลักในการควบคุมกำลังปฏิบัติการตอบโต้ม็อบนี้เป็นการตัดสินใจ ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ เพราะต้องการใช้ “ สายเหยี่ยว” เพื่อบังคับใช้กฏหมายและกำลังปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด การที่ทักษิณเลือกใช้สุรพงษ์ก็เพราะสุรพงษคือคนที่ทักษิณใช้ได้ร้อย เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากว่าสุรพงษ์เป็นนักการเมืองที่ไม่มีเครือข่ายของตนเองในพรรคเพื่อไทย ( รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย ) อนาคตทางการเมืองของสุรพงษ์ฝากไว้ที่ทักษิณคนเดียวเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าทักษิณอยากจะได้อะไร อยากจะให้ทำอะไร สุรพงษ์ก็ต้องตอบสนองให้เต็มที่ จะเห็นได้จากการได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศก็เป็นไปเพราะทักษิณต้องการ ใช้สุรพงษ์ทำตามที่ตนเองต้องการ
หลังจากที่เปลี่ยนตัวจากประชามาสู่ สุรพงษ์แล้ว บทบาทอย่างเป็นทางการของ ศอ.รส. ก็ออกมาเป็นสายเหยี่ยวมากขึ้น และแสดงว่าพร้อมจะใช้กำลังอย่างเต็มที่ การแถลงข่าวแต่ละครั้งของสรุพงษก็เห็นได้ชัดว่าไม่ยอมประนีประนอม เริ่มต้นก็เป็นการใช้กฏหมายให้การกระทำของสุเทพเป็น “กบฏในราชอาณาจักร“ และที่จะใช้กลไกอำนาจของ ศอ.รส.ในอีกหลายด้านเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวของสุเทพ เช่น การประกาศจะจัดการกับผู้สนับสนุนนายสุเทพ โดยถือว่าเป็นผู้ที่สนับสนุนผู้ที่เป็นกบฏ ( ผู้ชุมนุมยังไม่พิจารณาว่าผิดหรือไม่ผิด แต่จะเริ่มทยอยออกหมายจับ ส่วนของ กทม.ที่ให้การสนับสนุนกบฏ ก็ถือว่าผิด ม.๑๑๔ เช่นกัน อย่างเช่น กทมนำส้วมไปให้ใช้ หรือรถน้ำไปให้ก็มีความผิด )
ที่สำคัญ นายสุรพงษ์กล่าวด้วยว่านายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จะไม่เจรจากับนายสุเทพที่เป็น กบฏ เพราะถ้าเจรจาก็จะมีความผิดในกบฏไปด้วย ( ผู้จัดการ 5 ธันวาคม 2556 แค่ความคิดเห็นนี้ก็เปลี่ยนตัวได้แล้ว ฮา )
การที่ทักษิณตัดสินใจ เปลี่ยนตัวให้ลูกน้องคนสนิท (ที่ไม่มีทางไปนอกจากต้องพึ่งตนเอง) มาทำงานตามที่ตนเองปรารถนาเช่นนี้ กลับจะส่งผลเสียหายให้แก่ตนเองมากขึ้นไปอีก เพราะการประกาศที่เป็นสายเหยี่ยวเช่นนี้นอกจากจะทำให้การต่อต้านรุนแรงมาก ขึ้น ยังกลับทำให้ความพยายามของปีกนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในการหาทางออกที่พยุง สถานะของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไม่ได้ผลอะไรขึ้นมา ซึ่งก็จะทำให้เกิดคำถามกลับมาที่ทักษิณเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน แม้ว่าการใช้ลูกน้องอย่างนายสุรพงษ์นี้จะประกันได้ว่านายสุรพงษ์จะทำ ทุกอย่างที่ตนเองต้องการ แต่ทักษิณคงลืมนึกไปว่าลูกน้องของตนคนนี้ไม่มีเครือข่ายอะไรในพรรคเพื่อ ไทย และไม่มีสายสัมพันธ์อะไรกับข้าราชการทหาร/ตำรวจ ตลอดจนนักการเมืองอื่นๆ การทำงานแบบ “สู้ตายเพื่อนายอย่างเดียว” ที่เกิดขึ้นและจะดำเนินต่อไปกลับจะยิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นในคณะ ศอ.รส.และคนทุกกลุ่มที่ต้องประสานงานกับ ศอ.รส. ด้วย
การที่ต้อง เลือกใช้ลูกน้องที่ต้องทำตามได้อย่างเดียวเช่นนี้ ก็เพราะว่าทักษิณเริ่มไม่มีความไว้วางใจในสมาชิกพรรคคนอื่นๆว่าจะทำตามที่ตน เองต้องการ (ทั้งหมด) หรือเปล่า แต่น่าเสียดายที่การตัดสินใจนี้กลับจะทำให้สถานะของตนเองเลวร้ายลงไปอีก คงต้องบอกว่าลูกน้องที่ต้องเอาใจนายอย่างเดียวจะก่อปัญหาให้ทักษิณมากขึ้นๆ
ผม คิดว่าหากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ต้องการจะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและพยุงสถานะ ทางการเมืองของตนเอง ,รัฐบาลและ พรรคเพื่อไทย ก็ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของสุรพงษ์ ไม่ว่าหาคนมีคุมสุรพงษ์อีกชั้นหนึ่ง หรือ เปลี่ยนตัวไปเลย เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ทางออกที่นากยกรัฐมนตรีและกลุ่มของตนขบคิดขึ้นก็จะสูญเปล่า
ปัญหา คือ นายกรัฐมนตรีจะกล้าต่อรองกับพี่ชายมากขึ้นหรือไม่เท่านั้น
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น