วันสำคัญเดือนพฤษภา วันสว่างคาตา ( ตอนที่ 1 )
โดย ยังดี โดมพระจันทร์
เดือนพฤษภานี้มีวันสำคัญไล่เรียงกันไปอยู่หลายวัน
วันเหล่านี้มีสิ่งที่ร่วมกันคือเป็นวันประวัติศาสตร์หรือวันในอดีตที่ถูกบิด
เบือนไปจากวันที่ควรจะเป็น เช่น 1 พฤษภา วันกรรมกรสากล 5 พฤษภา วันจิตร
ภูมิศักดิ์ 11 พฤษภา วันปรีดี พนมยงค์ 17 พฤษภา วันพฤษภาทมิฬ และ วันที่ 19
พฤษภา วันตาสว่าง
แต่ละวันมีบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจให้เราท่านมาช่วยกันติดตาม
1 พฤษภา วันกรรมกรสากล วันนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ
วันกรรมกรสากล หรือ วันเมย์เดย์ (May Day)
มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา
ในยุคของการปฏิวัติจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมส่งผลให้ผู้คนอพยพไป
เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม และถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุน
ถูกบังคับใช้งานเยี่ยงทาส ทำงานหนัก 14-16 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุด
ไม่มีทั้งสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน สภาพดังกล่าว
เป็นสาเหตุให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้
และลุกลามไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น
และออสเตรเลีย จากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2429 คนงานแห่งเมืองชิคาโก
ประเทศอเมริกา
ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องระบบสามแปด
คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง
รัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง
ต่อมาสหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดสังคมนิยมก็ได้ฟื้นการ
ต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปดอีกครั้งหนึ่งโดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศเมื่อ
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433
เรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานตามที่สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้กำหนดไว้
และได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล
เป็นสัญลักษณ์แห่งการสามัคคีต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกร
ซึ่งกรรมกรทั่วโลกจะจัดให้มีการชุมนุมเดินขบวน
เพื่อสร้างวัฒนธรรมการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยจากการกดขี่ขูดรีดของทุนนิยม
สำหรับประเทศไทยเคยมีการจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยครั้งแรก ในวันที่ 1
พฤษภาคม 2489 ที่สนามหน้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ (สามล้อ)
พระราชวังอุทยานสราญรมย์ มีผู้เข้าร่วมประมาณสามพันคน
และปีต่อมามีการชุมนุมวันกรรมกรสากลที่ท้องสนามหลวง ภายใต้คำขวัญ “
กรรมกรทั้งหลาย จงสามัคคีกัน” แต่หลังการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 8
พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัตน์
ได้ห้ามจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเด็ดขาด จนกระทั่งในปี 2499 กรรมกร 16
หน่วย
รวมตัวกันเป็นขบวนการเพื่อรณรงค์ให้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายรับรองสิทธิด้าน
ต่างๆ และเคลื่อนไหวให้มีการจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้นอีก
ผลการเจรจาต่อรองกับรัฐบาล ทำให้กรรมกรจำต้องยอมรับเงื่อนไขให้เปลี่ยนชื่อ
วันกรรมกรสากล เป็น วันแรงงานแห่งชาติ
การควบคุมแทรกแซงโดยรัฐบาลเผด็จการทำให้วันกรรมกรสากลถูกแทรกแซงตลอดมา ( ข้อมูลจากกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=750 )
ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย และสังหารหมู่กดการต่อสู้ของกรรมกร
ในการรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 ชนชั้นปกครองรวมหัวกันสร้างขบวนการขวาพิฆาตซ้าย
และสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์
ปราโมช โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ
โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย และตั้งให้
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี)
ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น
สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีสมาชิก 340 คน
ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลนายธานินทร์
โดยที่คณะรัฐบาลนายธานินทร์มีคณะรัฐมนตรีเพียง 17 คนเท่านั้น
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ นั่นเอง
ซึ่งนายธานินทร์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อมาว่า
รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก
โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า
รัฐบาลหอย รัฐบาลคณะนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างขวาตกขอบ
มีการจับกุมและทำร้ายผู้ที่สงสัยว่าอาจกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง
โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตราที่ 21
จึงทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด การจัดกิจกรรมในวันแรงงานแห่งชาติในปี
2520 จึงต้องงดไป
การจัดงานวันกรรมกรกลับถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬา
ในปีที่มีการรัฐประหารปี 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า มีการโกงกินคอร์รัปชั่นอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลแทรกแซงสถาบันทหาร วันที่ 26 กุมภาพันธ์ รสช.มีคำสั่งให้บรรดาผู้นำสหภาพแรงงานเข้ารายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบก เพื่อ แถลงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ โดยมีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นผู้ชี้แจง เขาพูดเอาใจกรรมกรว่า "ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร" แต่การจัดงานวันกรรมกรกลับถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬาไทย- ญี่ปุ่นดินแดง แถมมีรถโคชมาคอยรับส่งเพื่อไม่ให้เดินขบวน เสรีภาพถูกปล้น ผู้กรรมกรถูกคุกคาม ห้ามพูดห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะสำหรับทนง โพธิอ่านผู้นำกรรมกรคนสำคัญ เมื่อ รสช. ประกาศจะยกเลิก
สหภาพแรงงานของคนงานรัฐวิสาหกิจ ทนงได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "ถ้าคณะ รสช.ยังยืนยันจะดำเนินการในเรื่องนี้ ไม่เฉพาะคนงานในสหภาพรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่จะเคลื่อนไหว แต่ผู้ใช้แรงงานทุกระดับคงคัดค้านแน่" เขาประณามการประกาศใช้กฎอัยการศึกว่า เป็นการปิดหูปิดตาประชาชน ทนงได้เรียกประชุมสภาแรงงานแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณามาตรการตอบโต้คณะ รสช.ในประเด็นแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงาน ภายหลังการประชุมเขาได้แสดงทัศนะอย่างแข็งกร้าวต่อคณะ รสช.ว่า "ทหารกำลังสร้างปัญหาให้กับกรรมกรด้วยการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 และขอฝากเตื่อนถึงบิ๊กจ๊อด อย่านึกว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินแล้วจะทำอะไรก็ได้ ต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง เวลานี้ทหารทำให้กรรมกรเป็นทุกข์ ดังนั้นควรทำอะไรให้รอบคอบ วันนี้สามช่า วันหน้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่" การ เคลื่อนไหวของทนงจึงได้รับการตอบสนองจากขบวนการแรงงานสากลอย่างกว้างขวาง ในฐานะตัวเชื่อมระหว่างขบวนการแรงงานไทยกับขบวนการแรงงานสากล ทำให้ทนงถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ วันที่ 14 มิถุนายน 2534 สภาแรงงานแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของทนงได้จัดการประชุมใหญ่กลางท้องสนาม หลวงเย้ยอำนาจ รสช.เรียกร้องให้คืนสหภาพแรงงานให้คนงานรัฐวิสาหกิจและยกเลิกประกาศ รสช.ฉบับ 54 แล้ววันที่ 19 มิถุนายน 2534 เขาก็ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นหรือได้ข่าวที่แท้จริงเกี่ยวกับทนงอีกเลย ( ข้อมูลจากประชาไท http://prachatai.com/journal/2006/06/8720 )
แม้จะมีรัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบ เต็มใบ วันนี้ก็ยังคงถูกซ่อนเร้นจากความเป็นสากล ทั้งเนื้อหา และรูปแบบของการจัดงานยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล และบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน กรรมกรแทนที่จะภูมิใจในชนชั้นตน ในฐานะผู้สร้างโลก กลับปฏิเสธคำๆนี้ เลี่ยงไปใช้ว่า ผู้ใช้แรงงานแทน ไม่เท่านั้นยิ่งในยุคหลังรัฐประหาร 2549 ยุคที่สีเหลืองเฟื่องฟู ยุคที่รัฐบาลอำมาตย์เข่นฆ่าพี่น้องประชาชนบนท้องถนน ปล้นประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคม ยุคที่พี่น้องเราต้องถูกคุมขังจองจำด้วยข้อหาลมๆแล้งๆ กรรมกรยุคนี้ต้องสวมใส่เสื้อสีเหลืองเอาใจอำมาตย์ในการเคลื่อนขบวนวัน เมย์เดย์ กรรมกรต้องใส่เสื้อสีชมพูกันสลอนในรัฐบาลที่แต่งตั้งมาโดยทหาร กรรมกรไทยต้องนำวันอันเป็นสากลไปผูกติดกับการยกย่องประมุขของประเทศ แทนการยกย่องกรรมกรผู้ใช้แรงงานด้วยกัน การรัฐประหารแต่ละครั้งทำให้ขบวนการกรรมกรหดเล็กลงๆ กรรมกรไม่มีศีกดิ์ศรีแม้แต่จะกำหนดวันของตนเอง
คงมีแต่พลังคนเสื้อแดงที่มีดวงตาสว่างไสวจะช่วยกันชุบชีวิต ฟื้นคืนการต่อสู้ร่วมกับกรรมกรฝ่ายก้าวหน้าให้วันกรรมกรกลับมามีคุณค่าและ ความหมายอีกครั้ง เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผดุงความยุติธรรม และรังสรรค์วัฒนธรรมของชาวกรรมาชีพต่อไป วันที่ 1 พฤษภานี้ขอเชิญกรรมกรแดงผู้รักประชาธิปไตยไปร่วมกันเดินขบวน แปดโมงเช้าที่ลานพระรูป
( พบกับเรื่องราวของ วันที่ 5 พฤษภา วันจิตร ภูมิศักดิ์ วันที่ 11 พฤษภา วันปรีดี พนมยงค์ 17 พฤษภา วันพฤษภาทมิฬ วันที่ 19 พฤษภา วันตาสว่าง ในนสพ.เลี้ยวซ้าย เดือนถัดไป )
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/04/1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น