หน้าเว็บ

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

3 ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ก่อนจะพูดเรื่องจำนำข้าว

3 ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ก่อนจะพูดเรื่องจำนำข้าว




กบฎกฎุมพี กินแรง แบ่งชนชั้น
ชนชั้น ชาวนา จึงต่ำลง
เหยียบหยาม ชาวนา ว่าป่าดง 



โดย ปราบ เลาหะโรจนพันธ์

 
 
อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

(ผมได้อ่าน ข้อคิด (ยาวๆ ข้างล่าง) ของปราบ อย่างละเอียด
ประทับใจ และดีใจ ที่มีเยาวชน คนหนุ่มสาว รุ่นใหม่
คิดอะไร ที่เป็นบวก สร้างสรรค์ มากกว่าเป็นลบ และทำลาย)

ผมขอเสนอความเห็นเพิ่มเติม cK@MyThoughtRicePledging ดังนี้:

นโยบาย “การจำนำข้าว” คือ การที่รัฐบาลสนับสนุน/แทรกแซง
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
นี่เป็นปกติของรัฐบาลเกือบทุกยุคทุกสมัยของโลกสมัยใหม่

ไม่มีประเทศไหนในโลก ที่ใช้กลไกทางการตลาด 100 เปอร์เซ็นต์

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยแต่ก่อนแต่ไรมา
มีแนวทาง ในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม และคนในเมือง
แต่ “รังแก” ภาคเกษตรกรรม คนชนบท

ดังจะเห็นได้จากการลดภาษี ให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
และกิจกรรมการลงทุนเพื่อการส่งออก เป็นจำนวนมาก (เช่น บีโอไอ)

ขณะเดียวกันก็ “รังแก” ภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ “ชาวนา”
ดังที่เคยมีการเก็บ “ค่าพรีเมี่ยมข้าว”
(หยาดเหงื่อ และน้ำตาของชาวนา
http://pantip.com/topic/30674836)

ซึ่งก็คือ การ “กด” ราคาข้าวให้ต่ำลง
เพื่อให้ให้ชาวกรุง คนเมือง กรรมกรในภาคอุตสาหกรรม
ได้มีข้าวกินราคาถูกๆ จะได้ไม่ประท้วง
ไม่ต้องเรียกร้องขึ้นค่าแรง

ผลดี ก็ตกอยู่กับภาคอุตสาหกรรม ชาวกรุง คนเมือง และนายทุน
แล้วก็อ้างความสามารถของตน ว่าแข่งขันในวงการระหว่างประเทศได้

เมื่อรัฐบาลในสมัยต่อมา มีความพยายามจะช่วยเกษตรกร/ชาวนา ก็ช่วยในเรื่องการให้ยกเลิก “ค่าพรีเมี่ยมข้าว”
ช่วยพยุงราคาข้าวของชาวนา ให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกมากขึ้น และต้องไม่ขาดทุน

การประกันราคาข้าวในปัจจุบัน ราคา 15,000 บาทต่อตัน
มิได้เป็นเพียงการพยุงราคาข้าว ให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก เท่านั้น แต่เป็นการขยับราคา ให้สูงกว่าตลาดโลกด้วยซ้ำ

แน่นอนว่า นโยบายดังกล่าวนั้น ต้อง “ขาดทุน”
แน่นอน ปัญหาคือเราจะ “ยอม” ขาดทุน เพื่อให้ชาวนาอันเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ ที่มีอัตราส่วนประชากรมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ เพียงใด

ในความเห็นของผม การยอมขาดทุน
เพื่อให้ชาวนาได้มีชีวิตที่ดีขึ้นนั้น ก็ไม่ต่างกับที่

- รัฐบาลต้องยอมขาดทุน
เพื่อให้มหาวิทยาลัยของรัฐได้จัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึ
(ให้บุตรหลาน “กฎุมพี” อย่างเราๆ ท่านๆ ได้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ ใน กทม.
ด้วยค่าเล่าเรียน หน่วยกิต ต่ำๆ)

- รัฐบาลต้องยอมขาดทุน เพื่อให้มีโรงพยาบาลของรัฐ
ที่รักษาประชาชนได้อย่างทั่วถึง ฯลฯ

ปัญหาคือ เราจะทำอย่างไรให้การช่วยเหลือชาวนา
ไม่เอื้อประโยชน์ให้กับนักคอรัปขั่น หรือเปิดช่องให้มีการทุจริต โกงกิน

แน่นอน ไม่มีใครเห็นด้วยกับการทุจริต ประพฤติมิชอบ
โดยเฉพาะการหาประโยชน์จากนโยบายทางสังคม
อย่างเช่น “เรื่องจำนำข้าว”

แต่การที่มีการทุจริต เกิดขึ้น
มิได้หมายความว่าเราต้องเลิกนโยบายสวัสดิการ ต่าง ๆ เหล่านี้
ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา การแพทย์พยาบาล และ “การจำนำข้าว”

สำหรับความเห็นของผม เป็นความรับผิดชอบ
ที่รัฐบาล ต้องจ่ายเงินให้แก่ชาวนา ที่นำข้าวมาจำนำ กับรัฐบาล
ทุกบาท ทุกสตางค์ อย่างรวดเร็ว
โดยที่กลไกรัฐ จะต้องเป็นเครื่องมือในการสนับสนุน

ขณะเดียวกัน ถ้ามีการทุจริตก็จะต้องแก้ไขและลงโทษผู้กระทำผิด
ไม่เว้นแม้แต่คนในรัฐบาล ครับ

ท้ายที่สุด ผมไม่เห็นด้วยกับการนำ “ชาวนา” มาเป็นเครื่องมือ “ต่อรอง”
(อย่างเช่น การแห่ไปถอนเงินธนาคาร) ในการแย่งชิงอำนาจกัน
ระหว่าง “รัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

บาปครับ ที่อาศัยความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์
ในการไต่เต้าไปถึง “สวรรค์ชั้น 7”


 
https://fbcdn-profile-a.akamaihd.net/hprofile-ak-ash2/t1/c23.23.290.290/s200x200/268424_10151198824515848_710732432_n.jpg 
ปราบ เลาหะโรจนพันธ์

3 ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ก่อนจะพูดเรื่องจำนำข้าว

(1)รัฐบาลเจ๊งแล้วจึงต้องกู้เงินมาจ่ายจำนำข้าวจริงหรือ ?

- รัฐบาลหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งรัฐบาลก่อนหน้าและก่อนหน้ารัฐบาลก่อนหน้า มีการกู้เงินมาตลอด เพราะเป็นนโยบายแบบ "ขาดดุล" คือรัฐมีรายจ่ายมากกว่ารายได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังจึงมีการกู้เงินในรูปแบบต่างๆมาโดยตลอด ไม่ว่าจะรัฐบาลชุดไหนภายใต้การขาดดุลงบประมาณ แต่ปัจจุบันการขาดดุลงบประมาณลดลงต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าสู่แผนงบประมาณ "สมดุล" ในปี 60

รัฐบาลจึงไม่ได้ถังแตกหรือไม่มีเงินแต่อย่างใด เป็นการกู้เงินในกรอบนโยบายสู่งบประมาณสมดุลในปี 60 เช่นเดิม แต่การกู้เงินติดชะงัก เนื่องจาก
- ไม่มีการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ก่อนยุบสภา ทำให้เกิดภาระจากขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น
- เกิดการปิดกระทรวงการคลัง เกิดการข่มขู่ไม่ให้ภาคการเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาล

(2) การให้กู้ระหว่างธนาคารคือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องพิเศษ

เมื่อธนาคาร A มีสภาพคล่องสูงเกินไปหรือมีเงินสดอยู่ในมือมากเกินไป จะทำให้เกิดค่าเสียโอกาสเพราะเงินเหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดรายได้ หนึ่งในวิธีหารายได้ของธนาคารคือ "interbank lending" คือการปล่อยกู้ให้กับธนาคาร Bที่มีสภาพคล่องน้อยกว่าหรือต้องการเงินเฉพาะหน้า และธนาคาร A ก็จะมีรายได้มากขึ้นจากดอกเบี้ยให้กู้นี้ สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นประจำมานานแล้ว

(3) ปัญหานโยบายจำนำข้าว กับปัญหาการจ่ายเงินให้ชาวนาเป็นคนละเรื่องกัน

- มีการเปิดประเด็นปัญหาจำนำข้าวมากมาย แต่เมื่อรัฐบาลได้ดำเนินการจำนำข้าวแล้วรัฐบาลมีหน้าที่ "ชำระหนี้ตามกฎหมาย" ให้กับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ การขัดขวางการชำระหนี้ตามกฎหมายจึงไม่ได้ช่วยชาวนา มีแต่จะทำให้ชาวนาลำบากขึ้น สองสิ่งนี้จึงเป็นคนละเรื่องกัน

สุดท้าย ถ้าหาก ....

ปชป. กปปส. และแนวร่วมต่างเดินหน้าชี้ให้เห็นถึงปัญหาในระดับนโยบายของโครงการจำนำข้าว นำเสนอทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า พร้อมกับช่วยชาวนาด้วยการเร่งการจ่ายเงินให้กับชาวนา ไม่ขัดขวาง ก็จะได้ชาวนาเป็นแนวร่วมจากการมองเห็นทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ใช่จับชาวนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่สุดท้ายก็แบ่งชาวนาพวกใครพวกมันเหมือนเดิม

และหาก ...

ปชป.ไม่เดินเกมนอกกติกา เดินหน้าสู่การเลือกตั้งพร้อมปฎิรูปพรรคตนเองใหม่ตามข้อเสนอนายอลงกรณ์ พลบุตร ท่ามกลางคู่ต่อสู้ที่เละมาจากพ.ร.บ.นิรโทษกรรม, จำนำข้าว และยังไม่มีทีท่าว่าจะปฏิรูปตนเอง

ปชป.คงล้มระบอบทักษิณสำเร็จและเป็นพระเอกไปนานแล้ว ไม่ต้องพาวิกฤติมาถึงจุดนี้ ประเทศไทยไม่ต้องกลายเป็นรัฐล้มเหลว และไม่ต้องมีใครตายเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองอีก!
Rice Pledging from cK to Prab

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น