รัฐบาลทำหน้าที่ต่อได้แม้เปิดสภาไม่ทัน30วัน
อ.พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
นักกฏหมายสวน
กลับ"สุเทพ"ยันรัฐบาลรักษาการณ์ยังดำรงตำแหน่งต่อไปแม้เปิดสภาไม่ได้ภายใน30
วัน ชี้เป็น"ระยะเวลาเร่งรัด"ในความรับผิดชอบของกตต.
วิชาการด้านกฏหมายมหาชน แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ บอกว่า รัฐบาลรักษาการณ์ต้องสิ้นสุดลง เพราะเลือกตั้งผ่านมา ๓๐ วันแล้ว เปิดสภาไม่ได้ คำว่า "ภายใน...นับแต่..." ของบทบัญญัติมาตรา ๑๒๗ รัฐธรรมนูญฯ ("ภายในสามสับวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก") เราเรียกว่า "ระยะเวลา" ครับ
ผลของการไม่ปฏิบัติตามระยะ
เวลานั้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่ว่า กฎหมายจะกำหนดผลบังคับหรือไม่ว่า
หากไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด ผลจะเป็นอย่างไร
ในกรณีนี้เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดผลของการเปิดสภาไม่ได้ภายใน ๓๐ วัน
เราเรียกระยะเวลาประเภทนี้ว่า "ระยะเวลาเร่งรัด" (délai indicatif) คือ รัฐธรรมนูญฯ
เร่งหรือกระตุ้นให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
จัดการเลือกตั้งให้ครบถ้วนร้อยละ ๙๕ ให้ทันภายในระยะเวลา ๓๐
วันนับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเปิดประชุมสภานั่นเอง
ในกรณีที่จำนวนสมาชิกสภาไม่ครบร้อยละ ๙๕ ส่งผลให้เปิดสภาไม่ทันภายใน ๓๐ วัน
ผลคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งเร่งจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย
และระยะเวลาเร่งรัดอาจเป็นเกณฑ์พิจารณาความรับผิดของการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ได้ครับ
กรณีจะต่างกับ
ระยะเวลาที่เราเรียกว่า "ระยะเวลาบังคับ" (délai imperatif)
ระยะเวลาบังคับจะกำหนดกรอบเวลาไว้เช่นกัน แต่จะพ่วงไปด้วย "ผลทางกฎหมาย"
ว่าหากไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลา จะเกิดผลเช่นไรจะระบุไว้โดยชัดแจ้ง
มิเช่นนั้นถือเป็น "ระยะเวลาเร่งรัด"ครับ
สรุปว่า รัฐบาลรักษาการณ์ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่ได้มาโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญครับ การกล่าวอ้างของนายสุเทพ จึงเป็นการกล่าวที่ขัดต่อหลักการที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรและหลักการตีความกฎหมายในระดับพื้นฐานครับ
(ที่มา)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20140305/566633/¾
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น