หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

เปิดผังล้มรัฐบาล รุมทึ้ง"ยิ่งลักษณ์"

เปิดผังล้มรัฐบาล รุมทึ้ง"ยิ่งลักษณ์"



 


เปิดผังโค่นรัฐบาล กับคดีที่กองอยู่ในองค์กรอิสระ ที่จ่อเอาผิด "รัฐนาวา"
ไม่ ว่าจะเป็นคำร้องคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขน ส่งของประเทศ พ.ศ. ... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อมีผู้ร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัย ในวันที่ 12 มีนาคมนี้



ที่น่าสนใจคดีนี้ ประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. ประกาศในที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ "19 มีนาคม 2556" ว่า พ.ร.บ.นี้สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 วรรคหนึ่ง หากมีผู้ร้อง ดังนั้น จึงไม่รู้ว่าคำทำนายของ "ประสาร" จะแม่นเหมือนตาเห็น ขนาดทำนายข้ามปีได้เลยหรือไม่

และ ในกาลนั้น ผู้ร้องหวังให้มีการชะลอการนำร่าง พ.ร.บ.ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษา การร้องดังกล่าวจึงต้องการระงับยับยั้งกระบวนการทั้งหมด และเพื่อหวังที่จะให้รัฐธรรมนูญคว่ำร่าง หรือตีตกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท

หากศาลรัฐธรรมนูญตีตกจริงในห้วงเวลาที่มีการร้องแรกๆ จะมีการบีบให้รัฐบาลรับผิดชอบด้วยการลาออก เนื่องจากออกกฎหมายสำคัญ ไม่สำเร็จ

 
เมื่อ มาถึงวันนี้ รัฐบาลเป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ หากศาลวินิจฉัย ให้ พ.ร.บ.กู้เงินตกไป เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 169-170 จึงไม่มีผลใดกับรัฐบาล เพราะจะให้ลาออกอีกก็คงจะกระทำมิได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ระบุว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

อีกคดีที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดใหญ่ ซึ่งเป็นองค์คณะไต่สวนเต็มคณะ มีมติเอกฉันท์แจ้งข้อกล่าวหา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเดิม ป.ป.ช.มีมติ แจ้งข้อกล่าวหา บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวกร่วม 15 คน รับทราบข้อกล่าวหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าว แต่คดีนี้กลับเงียบหายไป เพราะเป้าใหญ่ไปตกอยู่ที่ "ยิ่งลักษณ์" มากกว่า

ภาย หลัง ป.ป.ช.ได้แจ้งข้อกล่าวหา "นายกรัฐมนตรี" ฐาน "มีเจตนา" ส่อไปในทางละเลย-ละเว้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

 
มี การตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณาของ ป.ป.ช.เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่างจากการพิจารณาโครงการประกันราคาข้าว ที่ไต่สวนตั้งแต่ปี 2553 จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เพราะ ป.ป.ช.เองออกมาระบุว่า คดีประกันราคาข้าวของรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอกสารจำนวนมาก "จมไปกับน้ำ" เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554

ส่วน "ยิ่งลักษณ์" ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่า ผิดกฎหมาย 3 ฉบับ 4 มาตรา ได้แก่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 11 (1) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และรัฐธรรมนูญมาตรา 178 อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 โดย ป.ป.ช. ให้เวลา 15 วัน ให้ "ยิ่งลักษณ์" รับทราบข้อกล่าวหา และจะครบกำหนด 14 มีนาคม

แต่ "ยิ่งลักษณ์" ได้ส่งทนายส่วนตัวรับทราบข้อ กล่าวหา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มสื่อวิทยุประชาชน เพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป. ได้มีการชุมนุมกดดัน ป.ป.ช. ถึงขั้นมีการโบกปูนปิดทางเข้าออกของ ป.ป.ช. เพื่อเลียนแบบการกระทำของ กลุ่มผู้ชุมนุมของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่มีการโบกปูน ปิดทางเข้าทำเนียบรัฐบาล และบุกยึดสถานที่ราชการต่างๆ แต่ในที่สุด แกนนำกลุ่ม กวป. ถูก ป.ป.ช. แจ้งความดำเนินคดี และส่งฟ้องศาล

ถึงขนาด วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ออกมาขู่รัฐบาลว่า ป.ป.ช.กำลังพิจารณาว่า การปิดล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นการทำตามคำสั่งของรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจในรัฐบาลหรือไม่ เพราะมีหลักฐานว่ามีรัฐมนตรี และคนในรัฐบาลสั่งการในลักษณะให้มีการเคลื่อนไหว กดดันองค์กรอิสระ หากยังไม่ยอมสั่งให้หยุดเคลื่อนไหว "เป็นเรื่องแน่" เพราะ ป.ป.ช.จะดำเนินการกับผู้สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

นอกจากนี้ "วิชา" ยังได้กล่าวในทำนองที่ว่า หากยังปล่อยให้มีการข่มขู่ ป.ป.ช.อีก ป.ป.ช.จะยุติการเอื้อเฟื้อ ไม่ให้ทนายความของ "ยิ่งลักษณ์" คัดลอกหลักฐานอีกต่อไป

แถมยังมีเค้าว่า ป.ป.ช.อาจจะพิจารณาคดีให้เร็วขึ้น และผลนั้นจะไม่ดีกับ "ยิ่งลักษณ์" และรัฐบาลรักษาการแน่นอน เพราะนั่นเท่ากับเป็นการเร้าให้ทุกอย่างรวบรัด กระชากจังหวะให้เร็วขึ้นกว่ากำหนด

แต่ก็น่าพินิจพิจารณา ว่าคำพูดของ "วิชา" เข้าข่ายข่มขู่ ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่? 


เพราะตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 48 วรรคสอง ระบุว่า ห้ามมิให้อนุกรรมการไต่สวนทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการ ล่อลวง หรือ "ขู่เข็ญ" หรือให้สัญญากับผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานเพื่อจูงใจให้เขาให้ถ้อยคำอย่างหนึ่งอย่างใดในเรื่องที่กล่าวหานั้น

ทว่า หาก ป.ป.ช.เดินหน้าชี้มูลความผิดทั้งกรณีถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือทางอาญา "ยิ่งลักษณ์" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที เพื่อเข้าสู่กระบวนการของวุฒิสภาเพื่อลงมติถอดถอน และส่งอัยการสูงสุดเพื่อพิจาณาส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองในการดำเนินคดีทางอาญาต่อไป

บวกกับการเร่งพิจารณากรณีที่มี การแจ้งข้อกล่าวหา ส.ส.และ ส.ว.ที่ร่วมกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมประเด็นที่มา ของ ส.ว.รวมจำนวน 308 คน แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งคดีนี้ "นายกรัฐมนตรี" รอดหวุดหวิด เพราะไม่ได้ลงมติ ทั้ง 3 วาระ

สิ่งที่น่าวิตกคือ ส.ว. 50 คน ที่ร่วมลงมติ และหากชี้มูลความผิด จะต้องถูกถอดถอนทั้งหมด และจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมดเช่นกัน 

 
หาก ป.ป.ช. ไม่เร่งรีบจนเกินไป คดีนี้จะต้องใช้ระยะเวลาอีกนานพอสมควร เผลอๆ อาจจะไปจนถึงกระบวนการเลือกตั้ง ส.ว. อาจจะแล้วแสร็จและได้ ส.ว.ชุดใหม่มาทำหน้าที่

แต่ก็มีกระแสว่า ป.ป.ช.จะเร่งพิจารณาคดี เพื่อให้ นิคม ไวยรัชพานิช หลุดจากเก้าอี้ประธานวุฒิสภา ที่รักษาการประธานรัฐสภา อยู่ในขณะนี้ และจะมีการผลักดัน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิ ขึ้นมาทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาแทน เปิดทางให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 หากเกิดสุญญากาศ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี ถูกชี้มูลความผิด เพราะหากรอให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.แล้วเสร็จ เสียง ส.ว.ในสัดส่วนของซีกรัฐบาล อาจจะมีมากกว่า และจะทำให้ "เดินตามเป้าที่ล็อกไว้" เป็นไปได้ยาก

ถึง กระนั้นรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 ระบุว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธาน ในวรรคสองระบุว่า กรณีไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ซึ่งไม่มีบรรทัดใดที่กำหนดให้รองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา

ล่าสุด กลุ่ม 40 ส.ว. นำโดย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา นำรายชื่อ ส.ว. 27 คน เข้ายื่นคำร้อง ประธานวุฒิสภา ใช้ช่องทางตามมาตรา 91 เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่ "นายกรัฐมนตรี" กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ที่ได้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตัวเองและผู้อื่นในการแต่งตั้งโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จนเป็นเหตุให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคืนตำแหน่งให้แก่ "ถวิล" ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องสิ้นสุดเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182(7) หรือไม่

ทั้งๆ ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็เคยย้าย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา จากตำแหน่งเลขาฯสมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ และตั้ง "ถวิล" มาดำรงตำแหน่งแทนเช่นกัน

เมื่อ น้ำเดือดจนหม้อแห้งผาก แต่ยังไม่ช่วยชักฟืนออก กลับยังช่วยกันสุมฟืน เร้าให้ไฟลุกลามมากขึ้น รังแต่จะทำให้ปัญหาของประเทศ จะยิ่งไร้วิธีที่จะเยียวยา รอแต่ว่าความอัดอั้นที่เริ่มปะทุ จะระเบิดใหญ่เมื่อใด??

ฤๅ "รัฐนาวา" กำลังจะถึงตอนอวสานแล้ว จริงๆ!!!???  


ขณะที่ พนัส ทัศนียานนท์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ระบุถึงคดีที่พรรคเพื่อไทย ยกให้เป็นคดีระดับ 5 กะโหลกที่จะมาก่อนคือ เรื่องการสิ้นสภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ภายใน 30 วัน หลังจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ตามมาตรา 127 และไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ตามมาตรา 172

"ต่อ มาก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ป.ป.ช. เพราะเรื่องจำนำข้าว แต่ของ ป.ป.ช.ยังไม่เด็ดขาด คือเมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายกฯ ยังไม่หลุดจากตำแหน่ง เพียงแค่หยุดการปฏิบัติรักษาการ แต่เรื่องที่เกี่ยวกับการสิ้นสภาพนี้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยมาก็ต้องหยุด ซึ่งจะทำให้เกิดสุญญากาศตามที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต้องการ โดยวิเคราะห์จากสื่อบางฉบับที่บอกว่า ท้ายที่สุด คือวันที่ 3 เมษายน นั่นหมายความว่า พวกเขารอให้ได้ 30 วัน ตามมาตรา 172 เขาค่อนข้างมั่นใจตรงนั้นกัน ดังนั้น เรื่องที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยรัฐบาลสิ้นสภาพ ตนคิดว่าน่าจะมาในเรื่องนี้ เพราะจะทำให้จบเกมเลย 

 
ในขณะ ที่ทางพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้รับมืออะไร ทางรัฐบาลก็คงเข้าไปชี้แจง ถ้าเขาเรียกไปชี้แจง มันไม่มีการสิ้นสภาพ ซึ่งมี 2 มาตรา ที่บังคับเกี่ยวกับการรักษาการของรัฐบาล ซึ่งการรักษาการของรัฐบาล ตามมาตรา 181 ซึ่งเขาไม่ได้บอกว่ารักษาการ เขาบอกว่าปฏิบัติหน้าที่ หรือรัฐบาลอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ นั่นก็หมายความว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อได้มาแล้วนายกฯจึงจะหมดหน้าที่"

ตอนนี้อยู่ที่ว่า ฝ่ายกฎหมายของใครจะแน่นกว่ากัน!!!


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1394540360&grpid=01&catid=&subcatid= 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น