หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประมวลความเห็นนักนิติศาสตร์รุ่นใหม่ “พรสันต์-ปิยบุตร” กรณีคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ

ประมวลความเห็นนักนิติศาสตร์รุ่นใหม่ “พรสันต์-ปิยบุตร” กรณีคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ




หมายเหตุ มติ ชนออนไลน์ขออนุญาตนำข้อความที่ตั้งค่าเข้าถึงเป็นสาธารณะจากเฟซบุ๊กส่วนตัว ของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์รุ่นใหม่2ท่านซึ่งแสดงความเห็นต่อกรณีที่ศาลรัฐ ธรรมนูญมีมติว่าพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดรัฐธรรมนูญรวมทั้งมีมติรับคำร้องเพื่อพิจารณาว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา มาเผยแพร่ต่อในเว็บไซต์ โดยมีเนื้อหาดังนี้


พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำหรับผมในฐานะนักวิชาการที่ทำการศึกษา กฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมรู้สึกได้ว่า "รัฐธรรมนูญ" มันมีชีวิต มันมีความรู้สึกนึกคิดและมุมมองของมัน ดังนั้น หลายครั้งที่รัฐธรรมนูญฟ้องว่าผู้บังคับใช้นั้นพยายามบังคับใช้ หรือบังคับใช้ตัวมันอย่างผิดพลาด

กรณีคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำวินิจฉัยว่าให้ พ.ร.บ. เงินกู้ ๒ ล้านล้าน ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญทั้งในเรื่องกระบวนการตราและเนื้อหานั้น ผมยังอ่านไม่ครบถ้วนนะครับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่าเนื้อหาของร่างกฎหมายขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ) อย่างไรก็ดี ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาล ในเบื้องต้น ประเด็นว่าด้วย "กระบวนการตราร่างกฎหมายที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ" ผมเห็นว่าเหตุผล ที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกขึ้นมาโดยกล่าวถึงการเสียบบัตรแทนกันนั้นไม่อาจเป็น "ปัจจัยที่มีนัยสำคัญตามรัฐธรรมนูญ" ที่จะนำไปสู่ความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในกระบวนการตรากฎหมายได้

ปล. การเสียบบัตรแทนกันมีความผิด แต่ความผิดดังกล่าวถูกจัดว่า "มีความรุนแแรงมากพอในสายตาของระบบรัฐธรรมนูญ" ที่จะกล่าวได้ว่ากระบวนการตรากฎหมายขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นเป็นคนละประเด็นครับ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชน




ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตาม ที่ผมโพสต์ใน ฟบ (เฟซบุ๊ก) เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า สุเทพและพวก ใกล้หมดภารกิจแล้ว เพราะ เดือนมีนาคมและเมษายนเป็นเวลาของศาลและองค์กรอิสระทั้งหลาย

ตามเช็คลิสต์ที่ผมให้ไว้ มีดังนี้

๗ มีนาคม ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ถวิล เปลี่ยนศรีกลับเข้าสู่ตำแหน่งเลขา สมช.

๗ มีนาคม ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอคำร้อง (ที่นายกิตติพงส์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์นิติ มธ. ยื่นไป) ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ ก.พ. ทั้งหมด

๑๒ มีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.บ. เงินกู้ ๒ ล้านล้านบาท ขัด รธน. ทั้งกระบวนการตรา และเนื้อหา

๑๒ มีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องเพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ ก.พ. (โดยไม่ให้เหตุผลใดๆทั้งสิ้น อยากจะรับก็รับ ตามที่ปรากฏในใบแถลงข่าววันนี้ ทั้งๆ ที่ กรณีนี้ ผู้ตรวจร้องมาโดยผิด รธน. ชัดเจน)

ค่อยๆ เป็นจริงไปตามลำดับ

ปลายเดือนมีนาคม ต้นเดือนเมษายน คงได้เห็นฝีไม้ลายมือของ ป.ป.ช. กรณีจำนำข้าว

ปลายเดือนมีนาคม ต้นเดือนเมษายน คงได้เห็นฝีไม้ลายมือของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ ก.พ. หรือไม่

จับตาสองเรื่องนี้ให้ดีครับ อาจเป็นจุดชี้ชะตารัฐบาล และการสร้าง "สุญญากาศ" เพื่อหานายกฯนอกรัฐธรรมนูญ ตามที่หลายๆ คนฝันไว้


มี วิธีการ "ชน" กับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องร่าง พ.ร.บ. เงินกู้ ๒ ล้านล้าน เกี่ยวกับกรณีเป็น "เงินแผ่นดิน" ต้องจ่ายโดย ๔ กฎหมายเท่านั้นตามมาตรา ๑๖๙ ของ รธน. คือ แก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดให้ การกู้เงินลักษณะดังกล่าว ไม่ถือเป็น "เงินแผ่นดิน" 

นี่เป็นวิธีการที่รัฐสภาใช้ตอบโต้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกา คือ เข้าไปแก้ รธน. เสีย ดังที่สหรัฐอเมริกาทำบ่อยครั้ง 

แต่นั่นแหละครับ 

ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย "ริบ" เอาอำนาจแก้รัฐธรรมนูญของรัฐสภาไปเสียแล้ว โดยสถาปนาอำนาจตรวจสอบการแก้ รธน. ขึ้นมาเอง


วันนี้ นอกจากร่าง พ.ร.บ. เงินกู้ ๒ ล้านล้านบาทแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีขอให้เพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ ก.พ. ๕๗ ด้วย (แต่คนอาจสนใจเรื่องเงินกู้ ๒ ล้านล้านมากกว่า) 

เรื่อง นี้มีนัยสำคัญมาก เพราะ ศาลรัฐธรรมนูญทราบดีว่าอ่านจากตัวบทรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่เข้าเงื่อนไขการเสนอคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินแน่นอน แต่ทำไมยังเสี่ยงรับไป และรับไปก็ไม่ได้ให้เหตุผลใดๆทั้งสิ้น (ดูใบแถลงข่าววันนี้ได้) 

การรับคำร้องนี้ไป ก็พอจะคาดเดาได้ว่าคดีนี้ผลจะเป็นอย่างไร?

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น