หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

เพื่อไทย, ความเป็นประชาธิปไตย กับนโยบาย ม.112 ที่ไม่ได้หาเสียง

เพื่อไทย, ความเป็นประชาธิปไตย กับนโยบาย ม.112 ที่ไม่ได้หาเสียง




'สุรพงษ์' ชงจัดการคดีหมิ่นสถาบันขั้นเด็ดขาด  
http://www.prachatai.com/journal/2014/04/52676

 
โดย รัฐพล ศุภโสภณ


หนึ่งในตรรกะที่แย่ที่สุด ในการสนับสนุนการ "ถีบส่ง" นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ ที่รู้จักกันในนาม "โกตี๋" ด้วย ม.112 ของพรรคเพื่อไทย คือ

"ตอนหาเสียง พรรคเพื่อไทยไม่ได้บอกจะแก้ไข หรือ ยกเลิก ม.112"
มันคือตรรกะของคนที่ไม่เข้าใจการผลักดันประเด็นการเมืองในพื้นที่สาธารณะ

ความ เป็นจริงคือ มีนโยบายจำนวนไม่น้อย ที่พรรคที่เป็นรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยไม่ได้หาเสียงเอาไว้กับประชาชนว่าจะทำ แต่ก็ทำ เช่น พรบ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย หรือ บางโครงการผลักดันอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยกเลิกเพราะการต่อต้านในท้ายที่สุด เช่น พรบ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง

..สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการผลักดันจากสาธารณะทั้งสิ้น

หาก เราบอกว่า รัฐบาลไม่ได้หาเสียงแต่แรก ถ้ายอมรับตามนั้น ประเด็น LGBT ประเด็นระบบการศึกษา และประเด็นต่างๆ รัฐบาลก็คงไม่จำเป็นต้องรับฟัง


ทั้งๆ ที่จริงแล้ว นอกจากการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มที่เลือกพรรคนั้นๆมาเป็นรัฐบาลแล้ว ก็ยังมีหน้าที่ต้องรับฟัง และ ปกป้องสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอีกด้วย ดังจะเห็นไดัจากคำประกาศอิสรภาพอเมริกันเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 ที่ว่า


"...เราถือความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์ แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือมนุษย์ทุกคนเถูดสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้เป็นเจ้าได้มอบสิทธิบางประการ ที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้น ได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และการเสาะแสวงหาความสุข"

เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิเหล่านั้นให้มั่นคง รัฐบาลจึงถูกสถาปนาขึ้นในหมู่มวลมนุษย์ โดยได้อำนาจอันยุติธรรมอันเนื่องมาจากความยินยอมของผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง เมื่อใดก็ตามที่รูปแบบของรัฐบาลใดเป็นสิ่งที่ทำลายเป้าหมายดังกล่าว เมื่อนั้นย่อมเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรัฐบาลนั้นเสีย และสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่โดยให้มีรากฐานอยู่บนหลักการดังกล่าว ..."

จะเห็นได้ว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย หรือ อ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย จะต้องธำรงเอาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

ประเด็นกฎหมายอาญามาตรา112 ก็เหมือนกัน

ความ สำคัญไม่ได้อยู่ที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงเอาไว้หรือไม่ แต่ว่าการกระทำครั้งนี้ ก็ย่อมก่อให้เกิดคำถามขึ้นเช่นกันว่า การกระทำที่ผ่านๆมาของรัฐบาลภายใต้พรรคเพื่อไทยและมีฐานมวลชนหลักเป็น นปช. ซึ่งอ้างตนว่าสนับสนุนประชาธิปไตยนั้น การใช้ พรบ.คอมพิวเตอร์ รวมถึงใช้ ม.112 ในตลอดเวลาที่ผ่านมา เพื่อจำกัดและละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยสากล

สิ่งเหล่านี้ ย่อมต้องถูกตั้งคำถาม ประณาม และด่าทอ รวมถึงสามารถถกเถียงได้อย่างแน่นอน ว่าท้ายที่สุดแล้ว พรรคเพื่อไทย และ นปช. ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอยู่จริงๆหรือ?

เมื่อการเมืองของ ประชาธิปไตยในความหมายสากลคือ การเมืองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด และเป็นการเมืองที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด

เราควรจะผลักดันด้วยการเมืองแบบใด ระหว่าง "การเมืองแบบเก่า" ที่เราพร้อมใจมอบอำนาจให้ชนชั้นนำในการตัดสินใจทางนโยบายทุกประการ กับ "การเมืองแบบใหม่" ซึ่งประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐ

และท้ายที่สุด หากต้องตองคำถามที่ว่า วันนี้ใครกันแน่ที่ไม่พร้อมจะสู้ ระหว่าง "ประชาชน" กับ "ชนชั้นนำ"
คำตอบในใจของผมชัดแจ้งแล้วว่า

"ประชาชนแซงหน้าไปนานแล้ว มีแต่ชนชั้นนำนั่นแหล่ะ ที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง"


(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/04/52690

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น