โปร่งใสไม่พอเพียง
ข้อหาคลาสสิคที่คณะรัฐประหารและผู้เพรียกหารัฐประหารใช้ล้มล้างการปกครอง คือการทุจริตของรัฐบาล ข้อหานี้ฟังดูดีมีจริยธรรมทำให้เคลิ้ม แต่ถ้าัไม่มาพร้อมข้อเสนอเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ปัญหาทุจริตก็เป็นเพียงข้ออ้าง ยึดอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตน การบิดเบือนรัฐธรรมนูญหรือฉีกรัฐธรรมนูญไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาทุจริต วิธีการแก้ปัญหาทุจริตที่นานาชาติใช้กันคือการยกระดับความโปร่งใสและความรับ ผิดชอบในองค์กร
องค์กรที่ใช้งบประมาณภาษีเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสรรค์สร้าง ความสุจริตควรเป็นผู้นำในการยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบในองค์กร กล่าวคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ศาลสถิตยุติธรรม และศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าแม้แต่องค์กรต่อต้านการทุจริตยังไม่โปร่งใสก็แก้ปัญหาการทุจริตกัน ไม่ได้
การทำบัญชีรายการทรัพย์สินของผู้บริหารองค์กรเป็นเพียงก้าวแรกของการยก ระดับความโปร่งใส ก้าวต่อไปยกระดับได้ด้วยการเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนและสวัสดิการผู้บริหาร องค์กรต่อผู้เสียภาษี อาทิ ผู้บริหารและพนักงานได้เงินเดือนและเบี้ยประชุมเท่าไร? ผู้บริหารและพนักงานเบิกงบเดินทางไปไหนเท่าไร? เพดานการเบิกค่าอาหารค่าโรงแรมวันละเท่าไร? ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งหมดค่าน้ำมันเท่าไร? เงินบำเหน็จเท่าไร? ยังไม่ต้องว่ากันถึงความโปร่งใสด้านการจัดซื้อ ความโปร่งใสด้านผลตอบแทนและสวัสดิการเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่า การเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนและสวัสดิการของผู้บริหารและพนักงานต่อผู้ตรวจ บัญชีแค่นั้นไม่เพียงพอ ต้องเปิดเผยต่อผู้เสียภาษีด้วย ถ้าเรื่องแค่นี้ยังตอบผู้เสียภาษีไม่ได้ก็แสดงว่าไม่จริงใจในการแก้ปัญหา ทุจริต
แม้ว่ารัฐบาลเป็นผู้กำหนดงบประมาณประจำปีข้าราชการและพนักงานองค์กร สาธารณะมีบทบาทในการกระจายทรัพยากรเทียบเท่ากับนักการเมือง การแก้ปัญหาทุจริตต้องอาศัยความโปร่งใสของหน่วยราชการและองค์กรสาธารณะอื่นๆ ที่ใช้ภาษีด้วย อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทีวีไทยพีบีเอส และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
การเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนและสวัสดิการในองค์กรสาธารณะเป็นเรื่องธรรมดา สามัญในประเทศทุนนิยมสากลอย่างสหรัฐฯ ผู้เสียภาษีที่สหรัฐฯสามารถหาข้อมูลผลตอบแทนและสวัสดิการได้จากเว็บไซต์ของ องค์กรสาธารณะหรือเวบไซต์หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น การทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลเพื่อเปิดเผยให้ผู้เสียภาษีตรวจสอบได้ไม่จำเป็นต้อง ใช้งบประมาณมากมาย ทางเทคนิคก็ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนเพราะองค์กรเหล่านี้มีบัญชีการใช้จ่าย ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ไม่จำเป็นต้องปกปิดเป็นความลับภายในองค์กร แม้แต่องค์กรสาธารณะที่ไม่ใช้ภาษีอย่างแบงค์ชาติสหรัฐฯ(และแบงค์ชาติ ยุโรป)ก็เปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนและสวัสดิการเช่นกัน ถ้าเปิดเผยกันไม่จุใจผู้เสียภาษีก็ยื่นคำร้องให้เปิดเผยเพิ่มได้ตราบใดที่ เป็นข้อมูลของรายจ่ายที่มาจากงบประมาณรัฐ การเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนและสวัสดิการช่วยกดดันให้ผู้บริหารองค์กรสาธารณะลง จากตำแหน่งเมื่อผู้เสียภาษีพบว่าได้ผลตอบแทนและสวัสดิการมากเกินไป และช่วยกดดันให้ผู้บริหารองค์กรสาธารณะลดผลตอบแทนและสวัสดิการเมื่อรัฐบาล เก็บภาษีได้น้อย
ถึงเวลาแล้วที่นักต่อต้านการทุจริตในไทยต้องยกระดับความโปร่งใสของตนเอง !!!
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53267
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น