สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ทำความ (ไม่) เข้าใจ คดี ‘ปลดนายก’ เหตุ ‘ย้าย ขรก.’
ศาล รธน.มติเอกฉันท์นายกฯพ้นตำแหน่ง ครม.รักษาการต่อ เว้น รมว.เอี่ยวย้าย ‘ถวิล’
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53058"ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลเป็นยังไง แต่ผมพยายามจะบอกว่า รัฐบาลต้องแย้งว่า รัฐบาลนั้นเคารพรัฐธรรมนูญ และถ้ารัฐบาลเห็นศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่เขาเป็นองค์กรทางการเมืองหนึ่งก็ต้องรักษารัฐธรรมนูญไว้เหมือนกัน ตามมาตรา 197 เมื่อเขาเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาคดีแล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง รัฐบาลย่อมไม่ผูกพันตามคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งไม่เห็นเป็นเรื่องที่ผิดปกติหรือน่ากลัวตรงไหน
ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อไปถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอะไร จะผิดขนาดไหนก็ต้องเคารพหมด เกิดอยู่ดีๆ ศาลรัฐธรรมนูญบ้าจี้ตัดสินประหารชีวิตคนโดยไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น แล้วมีคนคิดว่า คำวินิจฉัยต้องผูกพันกับทุกองค์กรของรัฐ เราควรเคารพหรือ? ดังนั้น โดยหลักแล้ว เราก็ต้องเคารพศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละ มันอาจจะถูกอาจจะผิดรัฐธรรมนูญไปบ้าง แต่เพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน เราก็ยอมกันบ้าง แต่ถ้าเมื่อไหร่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมันถึงขั้นฝ่าฝืนต่อระบบกฎหมายอย่างรุนแรง เป็นคำวินิจฉัยที่ทำลายรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง เช่น มีคำวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นทั้งคณะเพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และวินิจฉัยให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง แบบนี้ก็เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่มีใครเคารพได้หรอก เพราะถ้าถึงจุดนั้นต้องถือว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลายรัฐธรรมนูญเสียเอง แล้วเราจะต้องไปเคารพศาลรัฐธรรมนูญที่ทำลายรัฐธรรมนูญเองหรือ? ซึ่งกว่าจะถึงจุดๆ นั้น มันเป็นเรื่องการประเมินทางการเมืองขององค์กรที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นกรณีวันนี้ที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า ยังไม่ถึงจุดนั้น เขาก็ทำตาม"
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53077
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น