การห้ามเยี่ยมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณี นายสมบัติ บุญงามอนงค์
โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
ในสภาพการณ์การบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศมีสิ่งใหม่ใหม่ด้านสิทธิ มนุษยชนที่คนในกรุงเทพและทั่วประเทศจะต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า ห้ามเยี่ยม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราขยาดและหวาดกลัวกับว่าห้ามเยี่ยม มาตลอดระยะเวลา10 ปีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก
การห้ามเยี่ยมในบริบท จชต. หมายถึงทางเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินกรรมวิธี หรือในกระบวนการยุติธรรมปกติ น่าจะหมายถึงการสอบสวน การหาข่าว การขยายผล เจ้าหน้าที่ก็พยายามพูดกับญาติหรือองค์กรสิทธิมนุษยชนว่า “ขอความร่วมมือ” แต่เราในฐานะนักสิทธิมนุษยชนที่ติดตามการควบคุมตัวบุคคลภายใต้กฎอัยการศึกพบ ว่า นอกจากที่เราห่วงกังวลว่าการควบคุมตัว 7 วัน เป็นการควบคุมตัวไม่ชอบ (arbitrary detention) ยังอาจหมายถึงการซ้อมทรมานให้รับสารภาพ หรือบังคับให้ชี้ภาพ ชี้รูป ระบุชื่อคนที่รู้จัก แล้วนำไปสู่การซัดทอดเป็นเหตุผลเดียวที่จนท.ใช้ในการจับกุมตัวบุคคลอื่น เพิ่มเติม เราเรียกติดปาก ว่า “ซัดทอด”
ในบริบทจังหวัดชายแดนใต้เจ้าหน้าที่มักอ้างเหตุสงสัยแต่ไม่เหตุผลเพียงพอ ในการควบคุมตัวตามกฎหมาย จึงได้ควบคุมตัวบุคคลตามอำนาจกฎอัยการศึก หรือถ้ามีหมายจับ หรือหลักฐานเบื้องต้นว่าอาจกระทำความผิดต่อความมั่นคง (ซึ่งก็ตีความได้กว้างมาก) ก็นำเข้าสู่กระบวนการ “ซักถาม” หรือ “ดำเนินกรรมวิธี” เสียก่อน 7 วันหรือน้อยกว่า แล้วนำเข้าสุู่่กระบวนการยุติธรรมตาม พรบ.ฉุกเฉินฯ แล้วค่อยนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยมีการนำบันทึกการซักถามมาประกอบการดำเนินคดีด้วย สิ่งนี้สร้างความเสียหายแก่กระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้มาหลายปี จนมีการเปิดเผย สร้างความเข้าใจกับองค์กรตุลาการทำให้หลายคดีมีบรรดทัดฐานที่จะไม่รับฟัง พยานหลักฐานในชั้นซักถามตามกฎหมายพิเศษในการพิจารณาคดีของศาลพลเรือนในคดี ความมั่นคง
ย้อนมาถึงการ “ห้ามเยี่ยม” ในจังหวัดชายแดนใต้ เราได้รณรงค์และสร้างความเข้าใจกับ จนท.ทหารที่มีอำนาจกักตัวตามกฎอัยการศึก7วันจนกระทั่งมีคำสั่งแก้ไข ข้อห้ามที่ว่า ไม่ให้ญาติเยี่ยมเป็นเวลาสามวัน ออกไปได้จากระเบียบกอรมน. ทำให้ญาติใกล้ชิดสามารถเยี่ยมบุคคลที่ถูกกักตัวได้ตั้งแต่วันแรก อีกทั้งจนท.ทหารในพื้นที่หรือชุดจับกุมจะต้องบอกสถานที่ควบคุมตัวบุคคคลอ ย่างชัดเจนกับญาติ ญาติมีสิทธิที่จะติดตามและขอเยี่ยมบุคคลได้ตั้งแต่วันแรก สามารถส่งมอบสิ่งจำเป็นต่างๆ ได้ (แต่ก็มีบางหน่วยที่ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือให้แค่มองตา ส่งของ ห้ามพูด ห้ามพูดภาษามลายู หรือให้พูดคุยกันสองสามนาที รายละเอียดเกี่ยวกับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติเราก็ต้องทำงานทาง ความคิดกันต่อไป)
เมื่อมาสังเกตการใช้อำนาจที่เข็มข้นที่แตกต่างในการใช้อำนาจการกักตัว 7 วันมาใช้ในกรุงเทพและพื้นที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 20 พค. 2557 เช่นกรณีการควบคุมตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ โดยไม่ระบุสถานที่ควบคุมตัว ไม่อนุญาตให้ญาติเยี่ยมตลอดระยะเวลา 7 วัน นั้นเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพราะเป็นการควบคุมตัวมิชอบ (Aribritary Detention) ที่ห้ามไว้ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แม้จะอ้างถึงการขัดคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นกฎหมายในประเทศแต่การใช้อำนาจจำกัดเสรีภาพบุคคล ต้องมีกฎหมายรองรับ กิจกรรมทางการเมืองของ บ.ก.ลายจุด รายนี้ แม้จะดูน่ารำคาญในสายตาของคณะ คสช. แต่นับว่าเป็นการแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมืองทีี่เป็นไปในแนวทางสันติ วิธี ที่ควรได้รับการเคารพ
นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ไม่เพียงเป็นนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน (human rights defenders) ปัจจุบันเขาได้รับอีกสถานะหนึ่งคือเป็นนักโทษทางความคิด (prisoner of conscience) อีกทั้งเมื่อการควบคุมตัว 7 วันของเขาที่จะครบกำหนดในวันที่ 11 มิถุนายน 2557 อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิของนายสมบัติและครอบครัว เนื่องจากที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวนายสมบัติ และบุคคลอีกจำนวนหนึ่งในเวลาเดียวกัน โดยไม่อนุญาตให้ติดต่อกับโลกภายนอก (incommunicado detetion) หรือถ้าการควบคุมตัวที่ไม่อนุญาตให้ติดต่อโลกภายนอกยาวนานออกไปก็อาจเข้า ข่ายการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้าย ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานด้วย
เราหวังว่าดำเนินการโดยไม่โปร่งใสตรวจสอบได้ว่าการใช้อำนาจของทหารภายใต้ กฎอัยการศึกยังคงได้สัดส่วนและเหมาะสม หากล้ำเส้นไปมากอาจเป็นละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางภายใต้กรอบกฎหมาย ระหว่างประเทศหลายฉบับที่ประเทศไทย แม้ภายใต้รัฐบาลทหารก็มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะเมื่อจะมีตัวแทนของ คสช.ไปชี้แจงที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สำนักงานขององค์การสหประชาติในเดือนมิถุนายนนี้ หรือกรณีที่ทูตไทยจากประเทศต่างๆ ที่จะต้องมารับฟังข้ออ้างเพื่อนำไปอธิบายกับประชาคมโลก ในเรื่องการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ฉีกรัฐธรรมนูญทำลายหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไปหมดสิ้น อีกทั้ง มีคำสั่งประกาศออกมาโดยไม่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ การใช้ศาลทหารกับพลเรือน เป็นต้น
เราขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนาย สมบัติ บุญงามอนงค์และบุคคลที่ถูกจับกุมพร้อมกันโดยไม่มีเงื่อนไข เพื่อรักษาไว้ซื่งความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการของ คสช. ได้คำนึงถึงการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนจริงดังที่ประกาศไว้ หากพบหลักฐานในการกระทำความผิดอื่นๆ ควรนำกระบวนการยุติธรรมปกติมาใช้เพืื่อรักษาหลักนิติธรรมไว้แม้นในสถานการณ์ คืนความสุขนั้นยังไม่เป็นปกติ
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/06/53932
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น