หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ใครเป็นใคร ? ใน สนช. 200 คน ตรวจสอบได้ที่นี่ !!!

ใครเป็นใคร ? ใน สนช. 200 คน ตรวจสอบได้ที่นี่ !!!





 

โควต้า สนช. ทหารเกินครึ่ง ทบ. 60 คน,ทร.-ทอ. แบ่งไปทัพละ 15 เก้าอี้ 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1406822114 

ใครเป็นใคร ? ใน สนช. 200 คน ตรวจสอบได้ที่นี่ !!!
http://www.matichon.co.th
/news_detail.php?newsid=1406764264


โปรดเกล้าฯ 200 สนช. แล้ว (คลิกอ่านรายชื่อ) 
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd05qZ3hPVEF3T0E9PQ%3D%3D&subcatid
 
"กษัตริย์ ลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง "สนช.ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" หากแต่ยึดอำนาจมานั้น "เป็นเรื่องที่ถูกต้อง" สำหรับ "ระบอบนี้" แล้วล่ะครับ เพราะ สนช.ไม่ใช่ "ผู้แทนของปวงชนชาวไทย" ก็เลยต้อง "โปรดเกล้าฯ" โดยกษัตริย์

ในระบอบประชาธิปไตยนั้น "ผู้ แทนของปวงชนชาวไทย" (คือมาจากการเลือกตั้งโดยตรง) "ไม่ต้องให้กษัตริย์โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง" เพราะ "ผู้แทนของปวงชนชาวไทย" ได้รับการเลือกมาจาก "เจ้าของอำนาจที่แท้จริง" (คือ ปวงชน) ใช้อำนาจโดยตรงนั่นเอง

ประเด็นนี้เป็นจุดสะท้อนอย่างเด่นชัดว่า ผู้นั้นเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยที่แท้จริงหรือไม่ หรือมาจาก "ใคร" ที่ไม่ใช่ "เจ้าของอำนาจที่แท้จริงในรัฐ"



จากรายชื่อ สนช. ที่ได้มีพระบรมราชโองการของกษัตริย์โปรดเกล้าฯ เมื่อวานนี้ จะพบว่า ประกอบด้วยบรรดาอีลิททั้งสิ้น หลาย ๆ คนควบหลายตำแหน่ง ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าจะรับเงินเดือนได้หลายทาง เป็นต้น ประเด็นนี้ทำให้ผมนึกถึง ประเด็นการรับเงินเดือน ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Reichstag) ตาม 'รัฐธรรมนูญบิสมาร์ค' (ค.ศ. ๑๘๗๑) ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีรัฐธรรมนูญของเยอรมัน (Limited monarchy) ก็จัดตั้ง "สมาชิก สนช." ซึ่งสมาชิกประกอบไปด้วย "ชนชั้นนำของสังคม/อีลิท" ทั้งสภา ได้ประกาศเป็นหลักการ "ห้ามรับเงินเดือนและค่าทดแทน"

ทั้งนี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. ๑๘๗๑ มาตรา ๓๒ ว่า "สมาชิกสภานิติบัญญัติ (Reichstag) ต้องไม่รับเงินเดือนหรือเงินทดแทน ในการปฏิบัติหน้าที่" (ตัวบทภาษาอังกฤษ : The members of the Reichstag must not receive any salary or expenses in that capacity. ; สำนวนแปลตัวบทเยอรมันเป็นตัวบทภาษา อังกฤษนี้ แปลโดย Elmar M. Hucko ดูตัวบทรัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๘๗๑ ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ใน Elmar M. Hucko, The democratic tradition : Four German constitutions, New York : BERG, c1987, p.119-145)

กล่าวคือ ตามมาตราดังกล่าว สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ของจักรวรรดิเยอรมันอันมีองค์ไกเซอร์ เป็นประมุข (ซึ่งได้ล่มสลายไปแล้วในปี ค.ศ. ๑๙๑๘) ห้ามสมาชิกสภานิติบัญญัติ "รับเงินเดือน" (salary) ซึ่งก็คือ ค่าตอบแทนและต้องเสียภาษี และห้ามทั้ง "รับค่าทดแทน" (expense) ซึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในความเป็นจริง (เช่น ค่าเดินทาง) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี กล่าวคือ ห้ามรับเงินทั้งปวงในการปฏิบัติหน้าที่ ฉะนั้น จึงเป็นการสกัดให้ผูู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสภานิติบัญญัติมีแต่อีลิททั้งสภา เพราะเป็นพวกที่ไม่ต้องทำงานก็อยู่ได้ คือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีอยู่แล้ว การออกแบบรัฐธรรมนูญเช่นนี้เป็นไปเพื่อจำกัดกลุ่มทางสังคมที่ได้รับอนุญาตเข้ามามีอำนาจทางการเมือง แต่สภานี้มีอำนาจภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าไกเซอร์ ก็ยังถือว่า ไม่ถึงขนาดปล้นอำนาจและไม่เบียดเบียนเงินภาษีของประชาชน (แต่หลักการไม่รับเงินเดือนนี้ถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. ๑๙๐๖ ก่อนการล่มสลายของจักรวรรดิและสภาอีลิท ประมาณ ๑๒ ปี) สมัยจักรวรรดิเยอรมัน จึงไม่มีปัญหา "รับเงินเดือนหลายทาง" แบบสภาอีลิทไทย

จะเห็นได้ รัฐธรรมนูญชั่ว ๒๕๕๗ ของราชอาณาจักรไทย สนช.ประกอบไปด้วยอีลิท มาจากการแต่งตั้งทั้งสภา ก็คือ ปล้นทั้งอำนาจ ปล้นทั้งเงินภาษีของประชาชน ครับ


 by:พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น