คลอดออกมาเรียบร้อยสำหรับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557
หลังรอคอยกันมานานกว่า 60 วัน
นับเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้เวลาร่างยาวนานเป็นลำดับที่ 2
ต่อจากรัฐธรรมนูญปี 2502 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ใช้เวลา 111 วัน
จึงประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่ 19 ของสยาม/ประเทศไทย
และเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังรัฐประหารฉบับที่ 8
ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นเสมือน
โรดแมปทางการเมืองระยะที่สองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ก่อนมีการร่างรัฐธรรมนูญถาวรเพื่่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และ
ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นั่นหมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อยประมาณหนึ่งปี
เนื้อหา ในรัฐธรรมนูญใหม่เกินครึ่งไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นการนำของเดิมจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวเก่ามาใช้ใหม่โดยการปรับแต่งคำ หรือประโยคใหม่ของเนติบริกร อย่างไรก็ตามบริบททางการเมืองที่่เปลี่ยนไปจึงต้องมีเนื้อหาใหม่เข้ามาบ้าง ทั้งนี้เนื้อหาที่เข้ามาใหม่ก็มิได้เปลี่ยนแปลงจารีตเดิมของรัฐธรรมนูญชั่ว คราว ซึ่งมีลักษณะเป็นการหนุนเสริมอำนาจและจารีตเดิมของผู้นำเผด็จการ
งาน ชิ้นนี้จึงสำรวจรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับก่อนหน้า โดยนำบริบทการเมืองในอดีตและปัจจุบันมาร่วมพิจารณาการเมืองไทยภายใต้รัฐ ธรรมนูญใหม่
หมาย เหตุ: ในอดีต กฎหมายสูงสุดของไทยเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” และ “ธรรมนูญ” เพื่อลดความสับสนและความยุ่งยากในการเรียก จึงขอใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” และ "รัฐธรรมนูญชั่วคราว" แทนตามความเหมาะสม
เนื้อหา ในรัฐธรรมนูญใหม่เกินครึ่งไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นการนำของเดิมจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวเก่ามาใช้ใหม่โดยการปรับแต่งคำ หรือประโยคใหม่ของเนติบริกร อย่างไรก็ตามบริบททางการเมืองที่่เปลี่ยนไปจึงต้องมีเนื้อหาใหม่เข้ามาบ้าง ทั้งนี้เนื้อหาที่เข้ามาใหม่ก็มิได้เปลี่ยนแปลงจารีตเดิมของรัฐธรรมนูญชั่ว คราว ซึ่งมีลักษณะเป็นการหนุนเสริมอำนาจและจารีตเดิมของผู้นำเผด็จการ
งาน ชิ้นนี้จึงสำรวจรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับก่อนหน้า โดยนำบริบทการเมืองในอดีตและปัจจุบันมาร่วมพิจารณาการเมืองไทยภายใต้รัฐ ธรรมนูญใหม่
หมาย เหตุ: ในอดีต กฎหมายสูงสุดของไทยเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” และ “ธรรมนูญ” เพื่อลดความสับสนและความยุ่งยากในการเรียก จึงขอใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” และ "รัฐธรรมนูญชั่วคราว" แทนตามความเหมาะสม
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น