หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฝีมือ 4 ประสานนักกฏหมาย ผู้วางโครงสร้างอำนาจให้เผด็จการ

ฝีมือ 4 ประสานนักกฏหมาย ผู้วางโครงสร้างอำนาจให้เผด็จการ
 

"มีชัย ฤชุพันธุ์" ใน คสช. "วิษณุ เครืองาม" ในรัฐบาล "พรเพชร วิชิตชลชัย" ใน สนช.และ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" ใน สนช.


เป้าหมายและวิธีการจัดการอนาคตของประเทศ เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมตามเสียงกระซิบกระซาบในแวดวงสนทนาทางการเมืองขึ้นเรื่อยๆ

มีการบอกเล่ากันว่า อนาคตของการปกครองประเทศจะเป็น "ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์" 

เป็นการออกแบบให้อำนาจรวมศูนย์อยู่ในคนกลุ่มหนึ่งที่น่าจะเชื่อมั่นได้ว่าจะปกปักรักษาคุณค่าของสังคมไทยแบบดั้งเดิมไว้ 

ภาพที่เป็นรูปธรรมคร่าวๆ คือ "ศูนย์อำนาจ" จะอยู่ที่กับ "ข้าราชการที่มีกลุ่มนำทางความคิดชัดเจน" ผสานกับ "เครือข่ายของกลุ่มทุนเก่าแก่ที่เคยเกื้อหนุนและเป็นรากฐานให้กันและกันมา" อาจะมีกลุ่มใหม่ๆ เข้ามาบ้าง แต่จะเป็น "กลุ่มที่มีสายสัมพันธ์ในทางที่เชื่อมั่นได้ยืนหยัดอยู่กับการสืบทอดอำนาจแบบเดียวกัน" 

เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการตีตราว่าเป็นคนดี 

ขณะ เดียวกันจะต้องเป็นการปกครองที่มีมาตรการกีดกัน กลุ่มคนบางกลุ่มที่ขัดขวางอำนาจแบบรวมศูนย์นี้ออกไป ประชาธิปไตยแบบกระจายอำนาจไปให้ใครต่อใครที่ไม่น่าไว้วางใจในหัวนอนปลายตีน และที่มาที่ไป จะเกิดขึ้นอีกไม่ได้

ประชาธิปไตยของประเทศไทยจะต้องเอื้อต่อการเปิด ทางให้คนที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับการตราแล้วว่าเป็นกลุ่มคนดีเข้ามามีอำนาจ ปกครองส่วนคนที่อยู่นอกวงของคนดีจะต้องถูกกันออกไปจนกว่าจะพิสูจน์แล้วว่ามี คุณสมบัติที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในกลุ่มที่ตราของคนดี


ไม่ ใช่ประชาธิปไตยแบบสิทธิที่เท่าเทียมกันของประชาชนทุกคนอีกต่อไป เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าประชาธิปไตยแบบนั้นรังแต่จะสร้างมลพิษให้สังคมไทยใน ความรู้สึกของผู้ได้รับการตีตราว่าเป็นคนดี

การจัดการต่อไปนี้เพื่อออกแบบการปกครองประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น

เล่า กันว่าวิธีการคือประสานพลังของ 4 สาย รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมการประสานนั้นให้เดินสู่เป้า หมายอย่างราบรื่น


การ แต่งตั้งบุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่ใน 4 สายเรียบร้อยหมดแล้ว แม้จะยังเหลือคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ แต่การตั้ง 3 สายก่อนหน้านั้นทั้งรัฐบาล สนช.และ สปช.เห็นได้ชัดแล้วในวิธีดำเนินการ

ทุกส่วนมีทหารเป็นกำลังส่วนใหญ่ เป็นกำลังหลักที่จะคอนโทรลได้การดำเนินการไปสู่เป้าหมายอย่างเชื่อใจได้

ที่เหลือเป็นส่วนประกอบที่มีขึ้นเพื่อให้ดูดีขึ้นมาบ้าง

เป็นแค่ผักชีโรยหน้าอาหารในจานดูสวย ไม่ได้มีสาระอะไรมากนักกับการดำเนินการ

อย่าง ไรก็ตามเล่ากันว่า แม้จะทหารจะเป็นผู้กุมทิศทาง แต่ผู้ออกแบบการปกครอง ซึ่งเหมือนกับสถาปนิกในการออกแบบบ้านให้ทั้งใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ของผู้ให้ออกแบบ และให้ดูสวยงามในสายตาคนทั่วไป เป็นเรื่องของนักออกแบบชื่อก้อง 3-4 คนประสานงานกัน   

ต่างคนต่างกระจายไปทำหน้าที่ในสายงานต่างๆ "มีชัย ฤชุพันธุ์" ใน คมช. "วิษณุ เครืองาม" ในรัฐบาล "พรเพชร วิชิตชลชัย" ใน สนช.และ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" ใน สนช. 

ใน 4 สถาปนิกอำนาจนี้ ว่ากันว่า "บวรศักดิ์" จะเป็นผู้รับบทหนักสุดใน สปช. เป็นผู้ประสาน คนที่เป็นหลักอาจจะเป็น "ชัยอนันต์ สมุทรวณิช" หรือคนอื่น 

แต่ใน "กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ" ที่เป็นการเขียนแบบอำนาจขั้นสุดท้าย "บวรศักดิ์" จะเป็นควบคุมในส่วนนี้ 

ชื่อของ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" ย่อมเป็นที่รับรู้กันในความเป็นปราชญ์

เป็นผู้มีความรู้สูงในเรื่องการเมืองปกครอง 

ความน่าสนใจอยู่ที่ "ประติมากรรมอำนาจที่กำหนดอนาคตประเทศไทย" ในจินตนาการของ "บวรศักดิ์" จะสอดคล้องกับความเป็นไปของพัฒนาการประเทศหรือไม่ 

จะเป็นประติมากรรมเพื่อความสุขของคนทั้งประเทศ หรือเฉพาะเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412512762   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น