|
|
วาระ 9 สมัย 7 นายกรัฐมนตรี 18 ปีในโรงละครทำเนียบรัฐบาล "ดร.วิษณุ เครืองาม" สวมบท "เนติบริกร" ตั้งแต่ต้นจนถึงฉากจบในสมัยรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
เรื่องเล่าจากปลายปากกา "เนติบริกร" มีครบทุกรส ทั้งร้อนแรง โศกเศร้า เรืองอำนาจ ถึงวันที่หล่นจากเก้าอี้ของ 7 นายกรัฐมนตรี
1 ใน 7 นายกรัฐมนตรีที่มีสีสันในโลกของเนติบริกร คือ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
"ดร.วิษณุ" เล่าไว้ในหนังสือ "เล่าเรื่องผู้นำ" ในช่วงขาลงของ "พ.ต.ท. ทักษิณ" ว่า
"ภาพ อันสดใส แปลกใหม่นั้น เริ่ม มี ผู้ชี้ให้เห็นความไม่ชอบมาพากลใน วิธีการ การมีผลประโยชน์แอบแฝงใน เป้าหมาย ความน่าเคลือบแคลงในธรรมาภิบาล หลักนิติธรรม และความไม่ระวัง สังวรในการคิด พูด ทำ หลักการบริหารแบบใหม่ ที่เคยถูกใจพระเดชพระคุณ ก็เริ่มเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลง"
"ในระยะ หลัง 2545 ภายหลังการมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีเกี่ยวกับการแจ้งบัญชี ทรัพย์สิน จนมี ผู้วิพากษ์วิจารณ์รุนแรงและต่อต้านคัดค้าน จากที่ท่านเคยทำอะไรก็ถูกหมด กลายเป็นผิดไปหมด แม้แฟนานุแฟนที่เหนียวแน่นยังคงมีอยู่ไม่น้อย"
"คนที่เคยรักกันชอบ กันและมีความหวังเต็มเปี่ยมในตัวท่าน หลายคนก็เริ่มลังเลและถอยห่างออกไป จนบางคนกลายเป็นปรปักษ์เสียด้วยซ้ำ ซึ่งเรื่องนี้เจ้าตัวและทีมงานต้องคิดว่าเป็นเพราะเหตุใด ไม่ใช่เอาแต่โทษพวกอำมาตย์"
"ดร.วิษณุ" อ้างถึงความเห็นของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงจุดจบของอำนาจ "พ.ต.ท. ทักษิณ" ประกอบวรรณกรรม
นายอานันท์พูดถึงอดีตนายกฯทักษิณ ตอนหนึ่งว่า...
"เมื่อ คิดไปแล้วก็เป็นเรื่อง น่าเสียดาย เพราะเมื่อตอนที่เขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ผมเคยตั้งความหวังไว้สูงว่าเขาสามารถที่จะเป็นนักการเมืองคนสำคัญมาก ๆ ผู้ซึ่งสามารถนำประเทศชาติไปในทิศทางใหม่ และก็เป็นผู้ซึ่งสามารถผลักดันประชาธิปไตยในประเทศไทยให้ก้าวไกลไปอีก ทว่านับเป็นความโชคร้าย เขาดู จะถูกครอบงำด้วยผลประโยชน์บางสิ่งบางอย่าง"
คมดาบของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ในทัศนะ "ดร.วิษณุ" มี 3 คม 3 ดาบ ที่เป็นทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน
คม ดาบแรก ความเด็ดเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด และความเชื่อมั่นตัวเองของผู้นำที่สูงเกินไป ทำให้เกิดการมุ่งเอาชนะคะคาน เสียงทัดทาน และ ไม่เคยแคร์ใคร ข้างฝ่ายผู้ตามก็พา กันสนองนโยบายอย่างรวดเร็ว เอาหน้า หวังผลข้ามคืน บางทีก็เฉียบขาด โดยไม่สนใจกฎหมาย และความ ชอบธรรม
คมดาบที่สอง การต้องการผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรมและเดินหน้าไปได้ จำเป็นต้องมีนโยบายและการบริหารจัดการอย่างมีเทคนิค ได้แก่การชี้แจง ทำความเข้าใจ และอธิบาย เมื่อเจ้าของนโยบายใจเร็ว ใจร้อน ลงมาทำงานทุกระดับเสียเอง และดูเอาจริงเอาจังเหมือนมีอะไรในใจ จึงต้องแบบภาระรับผิดชอบแต่ผู้เดียว และมีโอกาสพลาดพลั้งได้ง่าย โดยไม่มีผู้อื่นมาแก้ตัวแทน
ดาบคมนี้เป็นอันตรายต่อ "พ.ต.ท. ทักษิณ" อยู่มาก และยาวนาน
ดร.วิษณุ สรุปจากประสบการณ์ว่า การพูดเล่นของผู้นำในที่สาธารณะที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ทำให้กลายเป็นดาบอันตรายหลายประโยค อาทิ "ทำไมจะต้องไปเชื่อยูเอ็น ในเมื่อยูเอ็นไม่ใช่พ่อเรา"
หรือวรรคที่ว่า "โจรภาคใต้ไม่มีอะไร โจรกระจอกเท่านั้นเอง"
คำ ปราศรัยที่ว่า "จังหวัดไหนไม่เลือก ส.ส.ของพรรคไทยรักไทย การพัฒนาย่อมตามมาทีหลัง เราต้องจัดให้จังหวัดที่เลือก ส.ส.ของพรรคเราก่อน"
คมดาบที่สาม คือนโยบายดี ๆ หลายเรื่อง พอลงมาถึงแผนปฏิบัติการ หรือการลงมือทำจริง มักจะมีข่าวการทุจริต การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเจือปนด้วยเสมอ จนบ่อนทำลาย ส่วนดีของนโยบาย
จนเกิดการเรียกว่า "ทุจริตเชิงนโยบาย" อันเกิดจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนส่วนตัว หรือการเข้าด้วยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่พวกพ้อง เครือญาติ เพื่อนของญาติ
"...เวลามีอำนาจวาสนาบารมีนั้น น้ำขึ้นใคร ๆ ก็รีบตัก และใคร ๆ ก็อยากนับญาติด้วย"
การมีอำนาจแล้วขยายขอบเขตอำนาจไปครอบคลุมวงการต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า "ครอบงำ"
บางเรื่อง "พ.ต.ท.ทักษิณ" ก็ปฏิเสธกับ "ดร.วิษณุ" ว่าไม่รู้เรื่อง บางเรื่อง ก็ "ถูกอ้าง"
บางเรื่อง "พ.ต.ท.ทักษิณ" ก็เคยด่ารัฐมนตรีกลางวงประชุมคณะรัฐมนตรีว่า "ผมจะฉิบหาย เพราะเรื่องแบบนี้"
ดาบ คมนี้ "ดร.วิษณุ" อธิบายว่า "สำหรับท่านนายกฯทักษิณแล้ว ท่านเคราะห์ร้ายที่ว่า ถ้านับเป็นเป้าก็ใหญ่มาก ถ้าดูปริมาณของผลประโยชน์ที่ คนกล่าวหาว่าได้มา หรือปกป้องไว้ได้ ไม่สูญเสียออกไป ก็นับว่ามีมูลค่ามหาศาล ธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางตรง หรือทางอ้อมก็หลากหลายยุ่บยั่บ แล้วยังกล้าจะทำอะไรที่เสี่ยงอีก"
"ข้อ กล่าวหาจึงไล่กันมาตั้งแต่ดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ที่ดินจัดสรร สนามกอล์ฟ สื่อโฆษณา หนังสือพิมพ์ จนถึงร้านขนม การฮุบ ซื้อกิจการต่าง ๆ ซึ่งน่าคิดว่าเหตุใด จึงถูกกล่าวหาเท็จบ้าง จริงบ้าง มากอย่างนั้น ที่ว่าสนิมเกิดจากเนื้อในเหล็กนั้นน่าจะจริง เพราะข่าวลือที่สะพัดกันทั่วไป หลายเรื่องมาจากคนใกล้ชิดของท่านนั่นเอง"
ดร.วิษณุสรุปไว้ใน พ.ศ. 2554 ว่า "ผมไม่กล้าสรุปว่าข้อกล่าวหาจะเป็นจริงไปเสียหมด และไม่เป็นธรรม ที่จะ กะเกณฑ์ให้คุณทักษิณรับผิดชอบทุกเรื่องตามข่าวลือ บางเรื่องผมควรรับผิดชอบแทนก็มี"
"นายกฯทักษิณเป็นคนที่มีคมดาบส่วน ที่เป็นคุณอยู่มาก แต่ก็มีคมดาบ อีกด้านที่เป็นจุดอ่อน ซึ่งผู้นำที่จะก้าว ขึ้นมา หากรู้จักเลือกใช้แต่คมดาบ ด้านที่ดี และเก็บคมด้านที่จะกลับมาเป็นอันตรายต่อตัวเองเอาไว้ให้มิดชิด ก็จะบังเกิดประโยชน์มหาศาล ไม่ใช่ ชักบ่อย หนักเข้าคมดาบด้านร้ายก็จะบาดตัวเอง"
เส้นทางก่อนสิ้นอำนาจของ "พ.ต.ท. ทักษิณ" ในบันทึกของ "ดร.วิษณุ" ยังมีตอนฉากจบ โปรดรอคอยชมตัวอักษรตอนรูดม่าน อีกไม่นานเกินคอย
(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่19-21ก.ย.2554) |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น