หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ตั้งอยู่บนแนวคิด "กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)" จริงหรือ?



อ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เขียนบทความลงเว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชนเรื่อง "กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)" (อ่านที่นี่) ในบทความนั้น อ.โกวิท แยกความต่างระหว่างแนวคิด "กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)" กับแนวคิด "กฎหมายบ้านเมือง (Legal Positivism)" แล้ว อ.โกวิท ก็บอกว่าแนวคิดของคณะนิติราษฎร์นั้นตรงกับแนวคิด Natural Law ส่วนแนวคิดของผู้ที่เชื่อว่าคณะรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์และสามารถออก กฎหมายได้อย่างชอบธรรม เป็นแนวคิดแบบ Legal Positivism ...อ.โกวิท ยังกล่าวด้วยว่า คนที่เชื่อแนวคิด Legal Positivism "คงเป็นพวกที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มนิติราษฎร์"

ในบทความนี้ผมโต้แย้ง อ.โกวิท ผมจะอธิบายว่าข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ไม่ได้ตั้งอยู่บนแนวคิด Natural Law เลย และแนวคิดที่ว่าคณะรัฐประหารมีอำนาจออกกฎหมายอย่างชอบธรรม ก็ไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ที่เชื่อแนวคิด Legal Positivism ในปัจจุบันอย่างที่ อ.โกวิท เข้าใจ

1. แนวคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) และแนวคิดกฎหมายบ้านเมือง (Legal Positivism) คืออะไร?

แนวคิด "กฎหมายบ้านเมือง (Legal Positivism)" เชื่อว่า การที่กฎเกณฑ์หนึ่งๆ จะเป็นกฎหมายหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของ กฎเกณฑ์นั้น (ว่าดีหรือเลว ยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม) แต่ขึ้นอยู่กับที่มาของกฎเกณฑ์นั้น ...กล่าวคือ กฎเกณฑ์หนึ่งๆ จะมีสถานะเป็นกฎหมายก็ต่อเมื่อมันถูกประกาศและบังคับใช้ผ่านกระบวนการที่ สังคมยอมรับว่าเป็นกระบวนการออกกฎหมายอันเหมาะสม เนื้อหาของกฎเกณฑ์นั้นจะดี(ยุติธรรม)หรือเลว(อยุติธรรม)ไม่ได้เป็นปัจจัย กำหนดว่ามันมีสถานะเป็นกฎหมายหรือไม่ ...ดังนั้นตามแนวคิด Legal Positivism แล้ว คำถามที่ว่ากฎเกณฑ์หนึ่งๆ มีสถานะเป็นกฎหมายหรือไม่ จึงแยกขาดจากคำถามที่ว่ากฎเกณฑ์นั้นดี (ยุติธรรม) หรือไม่

แนวคิด "กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)" เชื่อว่า การที่กฏเกณฑ์หนึ่งๆ จะมีสถานะเป็นกฎหมายหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะที่มาของ กฎหมายเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับว่ากฎเกณฑ์นั้นมีเนื้อหาที่ดี (ยุติธรรม) หรือไม่ ตามแนวคิดนี้กฎเกณฑ์ที่มีเนื้อหาเลว (อยุติธรรม) นั้น ไม่สามารถเรียกว่าเป็นกฎหมายได้ (แน่นอนผู้ที่เชื่อในแนวคิดนี้ ย่อมต้องเชื่อว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นสามารถมีเนื้อหาที่ดีหรือเลวอย่างเป็นภาวะวิสัยได้)

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37312 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น