หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทสัมภาษณ์ 'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' 112 กับความหมายในวงเล็บ (ที่เงียบจนแสบแก้วหู)

 

สันติสุข กาญจนประกร / อภิรดา มีเดช
นิตยสาร Way กรกฎาคม 2554

อ่านอีกครั้งบทสัมภาษณ์จาก นิตยสาร Way ก.ค. 54 "มาตรา 112 ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพราะกำหนดโทษเกินสมควรกว่าเหตุ คุณเปิดโอกาสให้ใช้ตัวกฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง"


“สถาบัน พระมหากษัตริย์ต้องอนุวัตให้สอดคล้องกับระบอบการปกครอง เราอยู่ในระบอบการปกครองประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”

“มาตรา 112 ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพราะกำหนดโทษเกินสมควรกว่าเหตุ คุณเปิดโอกาสให้ใช้ตัวกฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง”

“ใคร ที่เสนอเรื่อง 112 เป็นพวกมีปัญหากับสถาบัน เป็นพวกไม่เอาเจ้า ล้มเจ้า ความคิดอย่างนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน มันถูกสร้างขึ้นจากฝ่ายอำนาจรัฐ รัฐพยายามประดิษฐ์ถ้อยคำ เป็น ‘ความผิดฐานล้มเจ้า’ ซึ่งมันไม่มีใน 112”


อย่างสั้นและให้เข้าใจง่ายที่สุด


กลุ่มนักวิชาการในนาม นิติราษฎร์ ที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า รัฐประหารอัปยศ ออกแถลงการณ์ข้อเสนอ ‘การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์’ หรือเรียกง่ายๆ ว่า มาตราหมิ่น 112


หนึ่งในเหตุผลของคณาจารย์กลุ่มนี้คือ ประมวลกฎหมายมาตรานี้ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ได้รับการบัญญัติขึ้นโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 วันที่ 21 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายของคณะรัฐประหาร จึงขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย 


กล่าวคือ เมื่ออยู่ในระบอบประชาธิปไตย เราควรเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันได้อย่างสุจริตใจ ไม่เว้นแม้แต่สถาบันสูงสุด อย่าง สถาบันกษัตริย์


อย่างที่เว็บไซต์นิติราษฎร์ระบุถึงที่มาที่ไปของกลุ่มว่า โลกปัจจุบัน กฎหมายเป็นแก่นกลางของสังคม เป็นทั้งที่มาอันชอบธรรมของการใช้อำนาจ และเป็นทั้งข้อจำกัดมิให้ใช้อำนาจไปตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม กฎหมายเพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจสถาปนานิติรัฐ-ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ได้ เพราะ กฎหมายอาจถูกผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายซึ่งมีอุดมการณ์แบบเก่า นำไปเล่นแร่แปรธาตุเพื่อรับใช้อุดมการณ์ของตน    


วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะผู้แถลงการณ์ พร้อมตอบคำถามที่คนส่วนใหญ่อยากรู้ แต่เพื่อความเข้าใจ เนื้อหาต่อจากนี้ไป จึงไม่อาจนำเสนอได้อย่างสั้นๆ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น