หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

5 ข้อต่อสู้ ของ "อภิสิทธิ์-สุเทพ" ให้พ้นผิดคดี 91 ศพ กับข้อโต้แย้งของ นปช. ต้องไปพิสูจน์ในชั้นศาล 



นับ จากเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนนำไปสู่การนองเลือดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่สี่แยกคอกวัว และวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบ มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บราว 2,000 คน

กาลเวลาผ่านมาเกือบ 2 ปี มีแต่คนเสื้อแดงเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดี

นาย อภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในขณะนั้นได้ถูกแจ้งความจากผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตว่า เป็นผู้สั่งให้มีการสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีคนเจ็บและตายจำนวนมากแต่ การดำเนินคดีไม่มีความคืบหน้า เพิ่งจะถูกเรียกไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนที่ บช.น. ในฐานะพยานคดี 16 ศพ เมื่อวันที่ 8 และ14 ธันวาคม (นายสุเทพ) และ 9 ธันวาคม (นายอภิสิทธิ์) ที่ผ่านมานี้เอง

จากคำพูด คำแถลง คำปราศรัยต่อสาธารณะของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพต่อกรณี 91 ศพตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นแนวทางการต่อสู้ของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเพื่อ ให้รอดพ้นจากความผิด ขณะเดียวกัน ฝ่ายตรงข้ามอย่างแกนนำ นปช. ก็ได้โต้แย้งพร้อมกล่าวหาว่านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ต้องรับผิดชอบกับการตาย 91 ศพ และบาดเจ็บอีกจำนวนมากโดยต้องขึ้นศาลให้ได้

ซึ่งพอประมวลข้อต่อสู้และข้อโต้แย้งของ 2 ฝ่าย ดังนี้

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324796517&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น