"ปู"ตัดเกม"การเมือง" แบ่งงาน"บริหาร-นิติบัญญัติ" ป้องรัฐบาลพ้นแก้ รธน.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ยืนยันหลายครั้งเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
"ขอให้เป็นเรื่องของสภา ส่วนรัฐบาลจะทำหน้าที่ฟื้นฟูประเทศอย่างเต็มที่"
คำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ฝ่าย "บริหาร" กับฝ่าย "นิติบัญญัติ" ไว้อย่างชัดเจน
การแยกแยะหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติเท่ากับการ "กัน" รัฐบาลออกมาพ้นจากกระแสการเมืองเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทำ ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถอยออกมาจากแนวหน้าคืนสู่แนวหลัง แล้วผลักเอาพรรคเพื่อไทยซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด และสมาชิกพรรคที่พร้อมเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงกันข้าม
การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจเป็นครรลองปกติที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเปิดช่องไว้ให้
แต่สำหรับการเมืองระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ คือ ขั้วอำนาจฟากฝั่งพรรคเพื่อไทยกับขั้วอำนาจฟากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์แล้ว
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเปรียบเหมือนการแก้ไขกติกาของประเทศ
รวมทั้งกติกาการเมือง !
ดังนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่คิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
"ขอให้เป็นเรื่องของสภา ส่วนรัฐบาลจะทำหน้าที่ฟื้นฟูประเทศอย่างเต็มที่"
คำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ฝ่าย "บริหาร" กับฝ่าย "นิติบัญญัติ" ไว้อย่างชัดเจน
การแยกแยะหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติเท่ากับการ "กัน" รัฐบาลออกมาพ้นจากกระแสการเมืองเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทำ ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถอยออกมาจากแนวหน้าคืนสู่แนวหลัง แล้วผลักเอาพรรคเพื่อไทยซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด และสมาชิกพรรคที่พร้อมเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงกันข้าม
การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจเป็นครรลองปกติที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเปิดช่องไว้ให้
แต่สำหรับการเมืองระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ คือ ขั้วอำนาจฟากฝั่งพรรคเพื่อไทยกับขั้วอำนาจฟากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์แล้ว
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเปรียบเหมือนการแก้ไขกติกาของประเทศ
รวมทั้งกติกาการเมือง !
ดังนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่คิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324778126&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น