หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“ความยุติธรรม” ตามทัศนะของพุทธศาสนา

 

 

 

 

 

 

 

 

สุรพศ ทวีศักดิ์


ดูเหมือนพุทธเถรวาทไทยพยายามเสนอคำตอบของพุทธศาสนาแก่ปัญหาชีวิตและสังคม แทบทุกเรื่อง แต่เริ่มจะถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่า เป็นการเสนอมั่วๆ หรือสับสนหรือไม่? โดยเฉพาะข้อเสนอทางแก้ปัญหาสังคมการเมืองที่อยู่บนพื้นฐาน “ศีลธรรมเชิงปัจเจก” (individual morality) ที่ว่า “ถ้าแต่ละคนเป็นคนดีแล้วสังคมก็จะดีเอง”

หลักการ “ถ้าแต่ละคนเป็นคนดีแล้วสังคมก็จะดีเอง” ถูกขยายความว่า “คนดี” หมายถึง คนที่คิดดี พูดดี ทำดี หรือที่พูดภาษาพระว่า “คนที่ทำดีด้วยกาย วาจา ใจ” นั่นเอง ฉะนั้น ข้อเรียกร้องในทางสังคมการเมืองที่ออกมาจากพระสงฆ์ หรือฝ่ายที่อ้างธรรมะ อ้างพุทธศาสนาในการต่อสู้ทางการเมืองในช่วง 5 ปี มานี้ จึงไม่ใช่ข้อเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กติกาของสังคมให้เป็นประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคมากขึ้น แต่เป็นการเรียกร้องไปที่ “ตัวบุคคล” ว่า นักการเมืองต้องเป็นคนดีมีคุณธรรม ประชาชนต้องเลือกคนดี คนไทยต้องไม่โกรธ ไม่เกลียดกัน ต้องรักกัน สามัคคี สมานฉันท์ ปรองดองกัน กระทั่งให้ปล่อยวางอคติ ปล่อยวางความยึดมั่นในตัวกู ของกู ฯลฯ

ขอเรียกร้องทำนองนี้กลายเป็น “กระแส” ในสื่อหลักตลอดมา แต่ก็มีปัญหาที่น่าพิจารณา คือ 1) ข้อเรียกร้องทำนองนี้ จะบรรลุผลได้อย่างไรภายใต้โครงสร้างสังคมการเมืองที่ให้อำนาจนอกระบบอยู่ เหนือการตรวจสอบ และเครือข่ายของอำนาจนอกระบบนั้นยังแทรกแซงอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ (เป็นต้น) ได้ 2) ที่สำคัญข้อเรียกร้องทำนองนี้มันเหมือนจะมีสมมติฐานล่วงหน้าว่า นักการเมืองและประชาชนเป็น “คนไม่ดี” (มีกิเลส โกง โกรธ เกลียด ไม่สามัคคี ไม่รักกัน ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ฯลฯ) จึงทำให้ละเลยปัญหาเชิงระบบ หรือปัญหาเกี่ยวกับกติกา โครงสร้างของ “อำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38487 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น