หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อีกครั้งกับ ม.นอกระบบ? ประท้วงแน่ แต่มีข้อเสนอด้วย

โดย ปกรณ์ อารีกุล
กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา
  


นศ. ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ประท้วง ม.นอกระบบที่หน้ารัฐสภา  31 ส.ค.54
แฟ้มภาพ: ประชาไท



นศ. ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ประท้วง ม.นอกระบบที่หน้ารัฐสภา  31 ส.ค.54
แฟ้มภาพ: ประชาไท
ม.นอกระบบ หนังที่ถูกฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าเรียนใมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วนั้น ผู้เขียนจึงได้มีโอกาสศึกษาข้อดี-ข้อเสียที่เป็นรูปธรรม ของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยเฉพาะในส่วนของผลกระทบด้านค่าเล่าเรียนที่มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยใน การเก็บค่าเทอมแบบเหมาจ่ายในคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งปรากฏว่าเป็นอัตราค่าเทอมที่แพงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐอื่นๆ ถึงสองเท่า
การขึ้นค่าเทอมนับเป็นผลกระทบที่มักตามมาภายหลังจากการออกนอกระบบ

คำถามคือ ค่าเทอม 4 หมื่นบาทต่อเทอม ในคณะเภสัชศาสตร์ ม.บูรพา นั้นเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้ผู้เรียน (อันที่จริงเป็นพ่อแม่ของผู้เรียนมากกว่า) ใช่หรือไม่

สำหรับลูกหลานพี่น้องแรงงานที่มีค่าจ้างรายวันไม่ถึง 300 บาทและลูกหรือชนชั้นกลางอื่นๆ ที่มีความใฝ่ฝันอยากเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ ม.บูรพา พวกเขาจะมีปัญญาจ่ายค่าเทอมได้อย่างไร
ผู้เขียนเชื่อว่าเพื่อนนิสิตนักศึกษาทุกคนมีความคาดหวังที่จะเล่าเรียนใน มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพการศึกษาที่ดี มีความเป็นอิสะทางวิชาการ ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีของ ม.นอกระบบ (พอออกไปแล้วดีจริงหรือไม่ อันนี้ยังไม่มีการสรุป) แต่ถ้าสิ่งเหล่านั้นต้องแลกมากับค่าเทอมที่แพงบรรลัย มันก็คงไม่คุ้มค่ากันสักเท่าไร

และอันที่จริงมันไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนที่จ่ายเงินเพื่อให้มีการศึกษา ที่มีคุณภาพเหมือนใช้เงินซื้อสินค้าอื่นๆ ในระบบทุนนิยม (ยิ่งอยากได้ของดี ยิ่งต้องจ่ายแพง)

มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต่างหากที่ต้องจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพและประชาชนถึงได้อย่างเท่าเทียม ทำให้เมื่อมีความพยายามในการนำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกนอกระบบภายหลังนั้น ผู้เขียนจึงมีความยินดีที่จะเข้าร่วมการคัดค้านในแทบทุกครั้ง

(อ่าต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38190

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น