ม.112 ขัดต่อ 'อุดมการณ์ธรรมราชา'
โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ขอทำความเข้าใจก่อนว่า ผมตระหนักดีว่าการเขียนบทความเชิงตั้งคำถามต่อแนวคิด หรืออุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในบริบทสถานการณ์ปัจจุบันเป็นเรื่อง ที่ “เสี่ยง” พอสมควร แต่ในฐานะนักวิชาการด้านพุทธศาสนาที่ “กระจอก” คนหนึ่ง ผมถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อเป็นส่วนเล็กๆ ของการร่วมต่อสู้ทางความคิดเพื่อให้สังคมเรามีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบระบอบราชาธิปไตย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับระบอบประชาธิปไตยที่สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามอุดมการณ์ ประชาธิปไตย 2475 ต้องถือว่า ระบอบหลังมีส่วนเอื้อต่ออุดมการณ์ธรรมราชาแบบกษัตริย์เป็นสมมติราชมากกว่า เพราะสถานะของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือสถานะที่ได้มาจากฉันทานุมัติของประชาชน
อุดมการณ์ธรรมราชานั้น ถือว่าพระราชาต้องมีทศพิธราชธรรม จึงจะเป็นพระราชาที่ดี หรือพระราชาผู้ทำหน้าที่ให้ราษฎรมีความยินดี (“ราชา” แปลว่า “ผู้ยังราษฎรให้มีความยินดี”) จะเห็นว่า เงื่อนไขความสัมพันธ์ระหว่างพระราชากับราษฎรไม่ใช่ “สถานะศักดิ์สิทธิ์-ความรัก” แต่เป็น “หน้าที่-ความยินดี” หรือ ความพึงพอใจ
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น