หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

แด่เสียงของคนส่วนใหญ่ในโลก

แด่เสียงของคนส่วนใหญ่ในโลก


ภาพที่โพสต์ 
ปู ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 27-28 ม.ค.55

โดย พิภพ อุดมอิทธิพงศ์

ที่มา Pipob Udomittipong

ก่อนที่การประท้วงเปลือยที่ทรงค่าจะถูกล้อเลียนจน กลายเป็นเรื่องโจ๊กไป ผมอยากเล่าความรู้สึกให้ฟังถึงการเปลือยอกท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บในที่ ประชุมของบรรดานายทุนและผู้นำรัฐบาลโลก ซึ่งผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องที่จะเอามาล้อเลียนถากถางกัน แต่เป็นการเรียกร้องด้วยความเสียสละ มีความเป็นมา และมีเป้าหมายยิ่งใหญ่เพื่อคนส่วนใหญ่ในโลก (คนจน+ผู้หญิง)


ผมหมายถึงการประท้วงในระหว่างการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่กรุงดาวอสในขณะนี้



ดาวอสเป็นเมืองตากอากาศในภาคตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรแค่ประมาณหมื่นเศษ ส่วนที่ประชุม World Economic Forum (WEF) นั้นเป็นการจัดงานขององค์กรที่อ้างตัวเองว่าเป็นองค์กรสากล และทุกปีจะเชื้อเชิญผู้นำธุรกิจ+การเมือง+นักวิชาการ (ยกเว้นคนยากคนจน) จากทั่วโลกมาประชุมกัน เพื่อหาทางทำให้ “โลกดีขึ้น”

WEF นั้นก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1971 แต่ไม่โด่งดังจนกระทั่งการประชุม WEF ในปี 2000 (2543) ซึ่งมีผู้ประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์นับพันคนเข้ามารณรงค์ ที่คนจำได้แม่นคือการถล่มร้านแม็คโดนัลด์ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยม และยังเป็นแรงบันดาลใจให้มีการประท้วงต่อเนื่องไประหว่างการประชุมธนาคารโลก ที่วอชิงตัน และประชุมของ IMF ในเดือนเมษายนกับกันยายน ปีเดียวกัน

ก่อน หน้านั้นในปี 1999 ก็มีการประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์ครั้งใหญ่ในระหว่างการประชุมขององค์การการ ค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ที่ตอนนั้นมีบทบาทมากในการส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การประท้วงที่ดาวอสในสองปีต่อมาจึงถือเป็นความสืบเนื่องของความไม่พอใจต่อผล กระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่เฉพาะคนรวย แต่ไม่กระจายให้ทั่วถึงคนส่วนใหญ่ในโลก

ต่อให้ผมพระมาพูดผมก็ ไม่เชื่อว่าบรรดาผู้นำการเมือง+นักธุรกิจที่ร่ำรวย 200 กว่าคนที่มาประชุมกันทุกปีที่เมืองตากอากาศในประเทศร่ำรวยสุดในโลกเหล่านี้ จะพยายามหาทางกระจายโภคทรัพย์ให้ทั่วถึงคนทุกคนในสังคม

ผลจาก การประท้วงที่ดาวอสในปี 2000 เป็นเหตุให้ในปี 2001 (2544) ภาคประชาชนจัดการประชุมคู่ขนานขึ้นมาที่เราเรียกว่าเป็น World Social Forum หรือเวทีสังคมโลก (แทนที่จะพูดแต่เรื่องเศรษฐกิจเหมือนนายทุน เราต้องพูดเรื่องของสังคมด้วย) และจัดงานนี้ขึ้นที่เมือง Puerte Allegre ประเทศบราซิล

ภาคประชาชนจัดงานเขามีคนเข้าร่วม 50,000 กว่าคนเป็นบรรยากาศที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการประชุมของนายทุนที่ดาวอส ที่ WSF ไม่มีการปิดกั้นการประท้วง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะแสดงออก และทุกคนเสมอภาคกัน

แต่การประชุมของนายทุน+นักการ เมืองนั้น เขากีดกันคนที่เห็นต่างจากโลกาภิวัตน์ เลือกไปประชุมในเมืองแพงสุดในประเทศแพงสุดในโลก มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และสามารถทำได้ดีเพราะดาวอสเป็นเมืองขนาดเล็กในหุบเขา สามารถตั้งด่านสกัดบรรดาผู้ประท้วงได้เป็นอย่างดี พวกนายทุนเขามีบทเรียนมาแล้วจากการประท้วงที่ซีแอตเติล ต้องย้ายไปนิวยอร์ก ต่อมาก็ย้ายไปควีเบ็ค (ซึ่งถึงกับมีการกั้นด้วยแท่งปูนถาวรรอบที่ประชุม)

ใน การประชุมครั้งที่ 42 ของ WEF นอกจากผู้ประท้วงกลุ่ม Occupy ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกแล้ว ยังมีสตรีสามท่านที่ทำการประท้วงอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแหวกวงล้อมอันแน่นหนาเข้าไปถึงประตูที่ประชุม

ผู้ประท้วงเปลือยอกทั้งสามท่านมาจากกลุ่ม Femen ประเทศยูเครน นำโดยคุณ Inna Shevchenko หลาย คนอาจจำประเทศนี้ได้จากอดีตประธานาธิบดี Yulia Tymoshenko ที่สวยและสง่าที่นอกจากแพ้เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาลในข้อหาคอร์รัปชัน ข้อความประท้วงบนหน้าอกเปลือยของผู้ประท้วงท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บถึงขั้น เป็นน้ำแข็งมีอาท

“เราจนเพราะพวกคุณ” (Poor because of you!)“วิกฤตเกิดขึ้นจากดาวอส” ("Crisis! Made in Davos) “ปาร์ตี้ของพวกแก๊งนายทุนในดาวอส” (Gangsters party in Davos)

ที่ ประทับใจผมมากสุดคือที่คุณ Inna Shevchenko แกให้สัมภาษณ์ว่า “ในตึกที่ประชุมแห่งนี้ มีแต่ผู้ชาย มีผู้หญิงเพียงไม่กี่คน ในรัฐสภาทั่วโลกก็เป็นแบบนี้” เธอบอกต่อว่า “ในยูเครน รัฐมนตรีเป็นผู้ชายทั้งนั้น ไม่มีผู้หญิงเลย” ผู้หญิงเองก็ “ต้องการตัดสินชะตากรรมด้วยตนเอง”

“เรา มาที่นี่เพื่อตะโกนก้อง ใช้เสียงของผู้หญิง ใช้ร่างกายของผู้หญิงเพื่อจะบอกว่าผู้หญิงก็ต้องการตัดสินชะตากรรมของตนเอง ด้วย” คุณ Inna Shevchenko กล่าวในท้ายสุด

ข่าวจาก

http://www.telegraph.co.uk/news/newsvideo/weirdnewsvideo/9046442/Feminist-group-take-topless-protest-to-Davos.html 

http://www.huffingtonpost.com/2012/01/28/topless-protesters-at-davos_n_1238955.htm 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น